เช็ก ราคาประเมินที่ดิน ปี 2568 ได้อย่างไรบ้าง?
7
Dec 24

>>>เช็คราคาประเมินที่ดิน ปี 2568 ราคาประเมินที่ดิน นับเป็นข้อมูลที่สะท้อนถึงศักยภาพ และแนวโน้มการเติบโตของที่ดินในแต่ละทำเล รวมถึงเป็นข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับที่ดิน เช่น ซื้อ-ขายที่ดิน ขายฝากที่ดิน จำนองที่ดิน โอนที่ดิน การคำนวณภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งเจ้าของที่ดิน หรือนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์ ที่ต้องการประเมินราคาที่ดิน สามารถเช็กข้อมูลผ่านช่องทางไหนได้บ้าง และมีขั้นตอนอย่างไร? วันนี้ Property4Cash มีข่าวสารมาฝากกันค่ะ

ใครที่อยากรู้ราคาประเมินที่ดิน ก็สามารถเช็กเองได้ ผ่านวิธีเช็กราคาประเมินที่ดินออนไลน์ ทั้งแบบมีโฉนด และไม่มีโฉนด 

โดย ที่ดิน นับเป็นหนึ่งในทรัพย์สินที่หลายคนซื้อเก็บไว้ เพราะราคาสูงขึ้นทุกๆ ปี สำหรับคนที่อยากอัพเดทว่า… ตอนนี้ราคาประเมินที่ดินของตนเองมีมูลค่าประมาณเท่าไร? ก็สามารถเช็กราคาประเมินที่ดินออนไลน์ด้วยตัวเองง่ายๆ ไว้เป็นข้อมูลก่อนตัดสินใจทำการซื้อ-ขาย

โดย ราคาประเมินที่ดิน คือ ราคากลางของที่ดินที่ประเมินจากเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ อาทิ ราคากลางจากกรมธนารักษ์ ราคาตลาด และปัจจัยเสริมอื่นๆ เช่น ขนาด ทำเล สภาพ ซึ่งทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญที่เป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารและบริษัทเอกชน เอาไว้ใช้สำหรับพิจารณาวงเงินกู้ของสถาบันนการเงิน และเป็นแนวทางในการกำหนดราคาที่ดินแต่ละแห่ง ทั้งนี้ราคาประเมินที่ดินนั้นอาจมีความแตกต่างกับราคาตลาดและราคาซื้อ-ขายที่ดิน ที่เกิดจากการตกลงระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย

 

การเช็กราคาประเมินที่ดิน ในปี 2568 ทุกคนสามารถเช็กได้ที่ไหนบ้าง?… 

 

ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของที่ดิน หรือนักลงทุน ที่ต้องการประเมินราคาที่ดิน ปี 2568 สามารถเช็กข้อมูลออนไลน์ได้ด้วยตัวเองผ่านทางเว็บไซต์ของกรมธนารักษ์ และกรมที่ดิน ขั้นตอนก็ไม่ยุ่งยาก ใช้งานง่าย และไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ข้อมูลค่อนข้างน้อยและได้ทราบราคาประเมินที่ดินต่ำกว่าราคาตลาดที่ดิน 

 

ดังนั้นหากต้องการทราบมูลค่าของที่ดิน ที่ถูกต้องแม่นยำ ตรงกับราคาซื้อขายของตลาด ณ ปัจจุบัน แนะนำ ให้ประเมินราคาที่ดิน กับบริษัทประเมินเอกชนที่มีความน่าเชื่อถือ และเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ ถึงแม้จะมีค่าใช้จ่าย แต่ยังเป็นวิธีที่ได้รับความนิยม เพราะมีการจัดทำเอกสารเป็นรูปเล่ม มีข้อมูลครบถ้วน ชัดเจน สามารถใช้ประกอบการตัดสินใจธุรกรรมต่างๆ เกี่ยวกับที่ดินได้เป็นอย่างดี

เช็ก ราคาประเมินที่ดิน ปี 2568 ได้อย่างไรบ้าง?

นอกจากนี้ ก็สามารถเช็กราคาประเมินที่ดินออนไลน์ด้วยตัวเองได้หลายวิธี โดยแบ่งเป็นการหาราคาประเมินแบบมีโฉนด และไม่มีโฉนด ดังนี้

  1. วิธีเช็กราคาประเมินที่ดินออนไลน์แบบมีโฉนด
    • ราคาประเมินที่ดินที่จัดทำโดยกรมธนารักษ์ โดยส่วนใหญ่จะนำมาใช้เป็นหนึ่งในเกณฑ์อ้างอิงของราคาซื้อ-ขาย สามารถเช็กราคาประเมินที่ดินออนไลน์เองได้ ที่เว็บไซต์ https://assessprice.treasury.go.th/ กดเลือกเมนูที่ต้องการค้นหา โดยสามารถค้นได้จากเลขที่โฉนด เลขที่ดิน น.ส.3ก. ห้องชุด และสิ่งปลูกสร้าง โดยใส่ข้อมูลแล้วกดค้นหาได้เลย จะใส่เลขที่โฉนด หน้าสำรวจ จากนั้นเลือกจังหวัดและอำเภอ จะปรากฏราคาประเมินที่ดินต่อตารางวามาให้ทันที!
  2. วิธีเช็กราคาประเมินที่ดินออนไลน์แบบไม่มีโฉนด
    • สามารถค้นหาได้จากระบบค้นหารูปแปลงที่ดินของกรมที่ดิน ผ่านทางเว็บไซต์ https://landsmaps.dol.go.th/ เลือกจังหวัด และอำเภอที่ต้องการ หากไม่มีโฉนดสามารถกดซูมแล้วคลิกพื้นที่ที่ต้องการทราบราคาประเมิน จากนั้นก็จะปรากฏข้อมูลต่างๆ เช่น ที่ตั้ง เนื้อที่ และราคาประเมินที่ดิน

 

นอกจากนี้ ยังสามารถค้นหาสรุปราคาประเมินที่ดินของจังหวัดต่างๆ ได้อีกด้วย โดยเลือกค้นหาตามรายชื่อจังหวัดที่ต้องการ ก็จะมีข้อมูลภาพรวมการประเมินราคาเป็นรายถนน ซึ่งหากต้องการราคาประเมินที่ดินเฉพาะแปลงต้องตรวจสอบกับสำนักงานที่ดินหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง 

 

นับว่า… สะดวกและง่ายมากๆ สำหรับใครที่อยากรู้ว่าราคาที่ดินแต่ละแห่งเท่าไร? ก็สามารถ ราคาประเมินที่ดิน ออนไลน์ได้เองง่าย ไว้ประกอบการพิจารณาก่อนทำการซื้อ-ขายที่ดิน

 

นอกจากนี้ ยังมีการประเมินราคาที่ดิน กับบริษัทประเมิน โดยจะต้องเป็นบริษัทประเมินที่อยู่ในการกำกับของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) เป็นวิธีเช็กราคาประเมินที่ดิน ในปี 2568 ได้ถูกต้องแม่นยำมากที่สุด เหมาะสำหรับใช้เป็นเอกสารอ้างอิงหรือประกอบการตัดสินใจทำธุรกรรมซื้อขายที่ดิน ขายฝากที่ดิน จำนองที่ดิน เพราะมีเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญลงพื้นที่ สำรวจ ถ่ายรูป และจัดทำรูปเล่มประเมินที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับที่ดินนั่นเอง…

 

มีบ้าน คอนโด ที่ดิน ก็มีเงินทุนได้ หากเลือกขายฝาก จำนอง กับ Property4Cash ก็รับเงินก้อนไปเลย สูงสุดถึง 50% ของราคาประเมิน

 

เปลี่ยนอสังหาให้เป็นเงินทุนหมุนเวียน เพื่อต่อยอดธุรกิจ ใช้จ่ายยามฉุกเฉิน เมื่อทำสัญญาขายฝาก จำนอง กับ Property4Cash ไม่ใช้คนค้ำ ไม่เช็กเครดิตบูโร ไม่มีนโยบายยึดทรัพย์ ดูแลโดยทีมงานมืออาชีพ คอยให้คำปรึกษา ติดต่อประสานงาน พร้อมดูแลช่วยเหลืออย่างใกล้ชิดตลอดอายุสัญญาการันตี ความน่าเชื่อถือด้วยยอดลงทะเบียนผู้ขายฝาก จำนอง มากกว่า 40,000 คน 

 

ต้องการเงินด่วน นึกถึง Property4Cash เงินด่วนอสังหา รับขายฝาก จำนอง

 

 


Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ข้อควรรู้ เกี่ยวกับ กฎหมายจัดสรรที่ดิน
6
Feb 25
ข้อควรรู้ เกี่ยวกับ กฎหมายจัดสรรที่ดิน

ข้อควรรู้ เกี่ยกับ กฎหมายจัดสรรที่ดิน มีหลักเกณฑ์และขั้นตอนตาม พ.ร.บ.จัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 อะไรบ้าง?… กฎหมายจัดสรรที่ดิน เป็นหนึ่งในข้อควรรู้ของผู้ที่เตรียมตัวซื้อบ้าน เพราะการที่ผู้ประกอบการจะพัฒนาโครงการออกมาขายได้นั้น ตามกฎหมายแล้วจะต้องได้รับการจัดสรรที่ดิน ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 มาดูว่าการจัดสรรที่ดินคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร หลักเกณฑ์และรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวข้องอย่างไรต่อผู้ประกอบการ และผู้ซื้อ Property4Cash สรุปมาให้แล้ว… การจัดสรรที่ดิน คืออะไร? ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 การจัดสรรที่ดิน คือ การจำหน่ายที่ดินที่ได้ แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นการแบ่งจากที่ดินแปลงเดียว หรือแบ่งจากที่ดินหลายแปลงที่มีพื้นที่ติดต่อกัน โดยได้รับทรัพย์สินหรือประโยชน์เป็นค่าตอบแทน และให้หมายความรวมถึงการดำเนินการดังกล่าวที่ได้มีการแบ่งที่ดินเป็นแปลงย่อยไว้ไม่ถึง 10 แปลง และต่อมาได้แบ่งที่ดินแปลงเดิมเพิ่มเติมภายใน 3 ปี เมื่อรวมกันแล้วมีจำนวนตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไปด้วย ในการจำหน่ายที่ดินที่แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่ 10 แปลงขึ้นไป ไม่ […]

อ่านเพิ่มเติม
3 กลโกงขายฝาก ที่ควรระวัง (พร้อมวิธีป้องกัน)
5
Apr 23
3 กลโกงขายฝาก ที่ควรระวัง (พร้อมวิธีป้องกัน)

กลโกงขายฝาก ที่ควรระวัง ขึ้นชื่อว่า “การโกง” นั้น นับว่าเป็นอะไรที่อยู่คู่สังคมมนุษย์มาอย่างยาวนาน เป็นปัญหาที่ลุกลามไปทั่วทุกวงการ รวมไปถึงวงการ “ขายฝาก” เองนั้น ก็เป็นหนึ่งในการทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินที่มักจะมีปัญหาโดนโกงด้วยวิธีต่างๆ มากมาย จนทำให้เจ้าของบ้านน้ำตาตกในกันมานักต่อนัก พาลทำให้หลายๆ คน ไม่กล้าที่จะทำสัญญาขายฝาก เพราะกลัวว่าจะต้องเสียทรัพย์ เสียบ้าน เสียที่ดินสุดรักสุดหวงไป จะดีกว่าหรือไม่..? ถ้ารู้เท่าทัน กลโกงขายฝาก ต่างๆ พร้อมวิธีป้องกัน เพื่อที่เราจะได้ขายฝากอย่างสบายใจ นำเงินไปใช้ยามฉุกเฉิน ยามจำเป็น โดยไม่ต้องกังวลว่าเวลาผ่านไป จะมีวิกฤตใหม่เข้ามาทำให้ชีวิตต้องทุกข์ทรมาน นัดไถ่ถอน แต่ติดต่อนายทุนไม่ได้! สัญญาขายฝากนั้น เป็นสัญญาที่มีการกำหนดไว้ว่า “ผู้ขายฝาก” หรือเจ้าของทรัพย์ สามารถนำเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยมาไถ่ถอนตามเวลาที่กำหนดในระยะสัญญาได้ ซึ่งจะทำให้สิทธิในการครอบครองทรัพย์สินนั้นๆ กลับคืนสู่เจ้าของเดิมผู้ขายฝาก แต่หากไม่มาไถ่ถอนตามระยะเวลาที่กำหนดแล้วล่ะก็ อสังหาริมทรัพย์ที่เรานำมาขายฝากนั้น ก็จะตกเป็นของนายทุนทันทีโดยไม่ต้องขึ้นศาลฟ้องร้องกันแต่อย่างใด   […]

อ่านเพิ่มเติม
กู้ร่วม แต่ผู้กู้ร่วมอีกคนเสียชีวิต ทำจำนองขายฝากได้ไหม?
2
Jul 24
กู้ร่วมแต่ผู้กู้ร่วมอีกคนเสียชีวิต ทำจำนองขายฝากได้ไหม?

หลายคนคงเคยกังวลว่าหากเรา กู้ร่วม ซื้อบ้านหรือคอนโดกับใครสักคน แล้วเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ผู้กู้ร่วมเสียชีวิต เราจะทำอย่างไรต่อ? โดยเฉพาะเรื่อง มรดก การผ่อนชำระสินเชื่อ หรือ  การขายฝาก จำนอง บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้กระจ่าง พร้อมอธิบายแนวทางปฏิบัติอย่างละเอียด เมื่อเผชิญสถานการณ์สูญเสียผู้กู้ร่วม เมื่อผู้กู้ร่วมเสียชีวิต สัญญาจะยังคงอยู่หรือไม่? ตอบ: สัญญากู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยยังคงมีผลผูกพันแม้ว่าผู้กู้ร่วมจะเสียชีวิตก็ตาม ภาระหนี้สิน มรดก ต่างๆ จะตกไปอยู่กับผู้ กู้ร่วม ที่ยังมีชีวิตอยู่และทายาทของผู้เสียชีวิต แล้วทายาทมีสิทธิ์อะไรบ้าง? ตอบ: ทายาทของผู้เสียชีวิตมีสิทธิ์เลือกดังนี้ รับสืบทอดหนี้สิน: ทายาทสามารถรับสืบทอดหนี้สินต่อจากผู้เสียชีวิต โดยจะต้องผ่อนชำระสินเชื่อร่วมกับผู้กู้ร่วมที่ยังมีชีวิตอยู่ สละสิทธิ์: ทายาทสามารถสละสิทธิ์ไม่รับสืบทอดหนี้สิน กรณีนี้ธนาคารอาจพิจารณาให้ผู้กู้ร่วมที่ยังมีชีวิตอยู่กู้ต่อเพียงลำพัง หรือหาผู้กู้ร่วมใหม่ ขายทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้: ทายาทสามารถขายบ้านหรือคอนโดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้สิน กรณีต้องการขายฝากหรือจำนอง กรณีผู้กู้ร่วมเสียชีวิต การทำ […]

อ่านเพิ่มเติม