สรุปประเด็นข่าว ที่ดินเขากระโดง เท็จจริงคืออะไร?
15
Dec 24

>>>สำหรับใครที่ติดตามข่าวเกี่ยวกับที่ดินเขากระโดงอยู่ ว่า… สรุปแล้ว จะถูกเวียนคืนหรือไม่? วันนี้ Property4Cash มาสรุปให้แล้วค่ะ

ก่อนอื่น ขอเล่าย้อนความเกี่ยวกับประเด็นร้อนของที่ดินเขากระโดง กันนิดนึงนะคะ ที่ดินเขากระโดง ตั้งอยู่ที่จังหวัดบุรีรัมย์ ได้มีการถกเถียงเวียนคืนที่ดิน ให้กลับมาเป็นของกรมที่ดิน แต่เอกสารหลายอย่างก็ยืนยันว่าที่ดินแห่งนี้ จะไม่ถูกเวียนคืน และยังคงสามารถใช้ประโยชน์ต่อไปได้!

โดย Property4Cash ได้สรุปออกมาเป็น 4 ประเด็นหลักๆ ดังนี้

  • ประเด็นที่ 1 คือ คำอ้างที่ว่า… คำพิพากษาศาลฎีกาเกี่ยวกับที่ดินเขากระโดง ผูกพันเฉพาะคู่ความ หรือคู่พิพาทในคดี ระหว่างการรถไฟฯ กับเอกชนรายที่ยื่นฟ้องเพียงเท่านั้น! ซึ่งคำอ้างนี้… ไม่เป็นความจริง เพราะคำพิพากษาจากศาลปกครองกลาง ก็รับรองเอาไว้แล้วว่า “คำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าว ได้วินิจฉัยอย่างชัดแจ้งถึงความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ของผู้ฟ้องคดี (การรถไฟฯ) ผู้ฟ้องคดีจึงสามารถใช้ยันกับบุคคลภายนอกได้ หาใช่มีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดี ตามมาตรา 145 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ตามที่ผู้ถูกฟ้องคดี (กรมที่ดิน) กล่าวอ้างแต่อย่างใดไม่”
    • คำพิพากษานี้ เป็นของศาลปกครองกลาง เป็นคำพิพากษาที่ 582/2566 หน้าที่ 27 ในคดีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย ฟ้องกรมที่ดิน กรณีไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณเขากระโดง
    • นอกจากนั้น หากเปิดดูประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตราา 145 ยังมีข้อความในวรรค 2 อนุมาตรา 2 บัญญัติว่า… “คำพิพากษาที่วินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินใดๆ เป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง อาจใช้ยันแก่บุคคลภายนอกได้ เว้นแต่บุคคลภายนอกนั้นจะพิสูจน์ได้ว่าตนมีสิทธิดีกว่า”

 

  • ประเด็นที่ 2 คือ นายอนุทิน ยกตัวอย่างคดีที่มีการฟ้องร้องกัน 35 ราย และทั้ง 35 รายแพ้คดีการรถไฟ แต่นายอนุทินยังอ้างว่า… บังคับเฉพาะคู่ความเท่านั้น! ซึ่งผู้รู้ทางกฎหมายแย้งแล้วว่าไม่จริง แต่นายอนุทินยังบอกต่อด้วยว่า ที่ดินในเขากระโดงมี 900 กว่าแปลง ถ้าเอาให้ชัด ก็ให้ฟ้องทีละแปลงไปเลยก็ได้
    • เรื่องนี้มีข้อน่าสังเกต คือ ในรัฐบาลชุดที่แล้ว พรรคภูมิใจไทย โดย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย ฝ่ายค้านในยุคนั้นอภิปรายไม่ไว้วางใจกรณีเขากระโดง และเรียกร้องให้การรถไฟ ฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองที่ดินแปลงอื่นๆ หลังศาลมีคำพิพากษายืนยันว่า… ที่ดินเขากระโดง เป็นที่ดินของการรถไฟ แต่การรถไฟในยุคนั้น กลับไม่ยอมฟ้องขับไล่ อ้างว่า… การรถไฟไม่ฟ้องร้องประชาชน
    • แต่ในรัฐบาลปัจจุบัน พรรคภูมิใจไทยไม่ได้เป็นรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมแล้ว มาเป็นรัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทยแทน กลับไปเรียกร้องให้มีการฟ้องรายแปลง ทั้งที่ในอดีตไม่ยอมฟ้อง 
    • สิ่งที่น่าสนใจก็ คือ เป็นการเรียกร้องให้ฟ้อง เมื่อกรมที่ดินมีมติไม่เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ที่ดินในเขากระโดง ซึ่งเท่ากับเป็น “คำสั่งทางปกครองใหม่” ของกรมที่ดิน ซึ่งมีสถานะ “เป็นที่สุด” เช่นกันหากจะโต้แย้ง การรถไฟ ต้องไปยื่นฟ้องศาลใหม่ ส่วนจะเป็นศาลไหนยังไม่มีความขัดเจน และก่อนจะไปฟ้อง ก็ต้องอุทธรณ์มติของกรมที่ดินภายใน 60 วันอีก ทำให้เสียเวลาไปอีกหลายเดือน เพราะน่าจะสามารถขอขยายเวลาอุทธรณ์ และเวลาวินิจฉัยอุทธรณ์ได้ด้วย

 

  • ประเด็นที่ 3 คือ การดำเนินการของการรถไฟ ที่ดำเนินการกับที่ดินรถไฟ ซึ่งมีคำพิพากษาศาลยืนยันแล้ว ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ การรถไฟ ใช้วิธีฟ้องขับไล่ ไม่เคยมีกรณีไหนที่ไปร้องให้กรมที่ดินเพิกถอนเอกสารสิทธิ์ หรือฟ้องศาลปกครองให้สั่งให้กรมที่ดินเพิกถอนโฉนด โดยกรณีเขากระโดง เป็นกรณีแรกในประวัติศาสตร์ ทำให้เกิดคำถามว่าต้องการเอื้อใครหรือไม่ เพราะเป็นการดำเนินการในยุคที่พรรคภูมิใจไทยคุมกระทรวงคมนาคม ต้นสังกัดของการรถไฟ

สรุปประเด็นข่าว ที่ดินเขากระโดง เท็จจริงคืออะไร?

  • ทั้งนี้ เราได้สรุปรายงานคำพิพากษาการฟ้องร้องขับไล่ที่ดิน ของการรถไฟ ดังนี้
    • 1. คำพิพากษาศาลแพ่ง คดีการรถไฟฟ้องขับไล่ประชาชน ที่รุกที่รถไฟ ย่านมักกะสัน กรุงเทพ
    • 2. คำพิพากษาศาลแพ่ง คดีการรถไฟฟ้องขับไล่ประชาชนรุกที่รถไฟ ย่านพระราม 6 กรุงเทพ
    • 3. คดีที่จังหวัดอุบลราชธานี ฟ้องขับไล่นายทหารยศพลโท ก็ยังเคยฟ้องชนะมาแล้ว แถมทุกคดีต้องจ่ายค่าขนย้ายทรัพย์สินให้การรถไฟ

 

อย่างไรก็ตาม นักกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญในคดีแพ่ง ให้ข้อมูลว่า…  คดีเขากระโดง การรถไฟ สามารถใช้คำพิพากษาศาลฎีกา และศาลปกครอง ฟ้องขับไล่ผู้ครอบครองที่ดินทุกแปลง กว่า 900 แปลงในบริเวณเขากระโดงได้เลย โดยสามารถฟ้องแบบกลุ่ม เพื่อป้องกันข้อครหาการเลือกปฏิบัติ ฟ้องแปลงไหนก่อน แปลงไหนทีหลัง

 

  • ประเด็นที่ 4 คือ แหล่งข่าวจากหน่วยงานรัฐในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ให้ข้อมูลว่า… ข้ออ้างของนายอนุทิน และบุคคลที่เกี่ยวข้องที่ว่า… ที่ดินเขากระโดง 5,083 ไร่ มีที่ดินของตระกูลการเมืองเพียง 200 กว่าไร่ ส่วนบริเวณอื่นๆ ส่วนใหญ่เป็นของประชาชนทั่วไปจำนวนมากนั้น ข้อมูลนี้ไม่เป็นความจริง เพราะที่ดินเขากระโดงทั้งผืน 5,083 ไร่ กรมทางหลวงและหน่วยราชการต่างๆ ได้ขออนุญาตใช้ประโยชน์สาธารณะจากการถไฟ ทั้งสร้างถนน สร้างโรงพยาบาล จำนวนหลายร้อยไร่

 

  • ส่วนที่ดินในความครอบครองของเอกชน เป็นของตระกูลใหญ่ 2 ตระกูล เกือบ 1,000 ไร่ หากรวมกับที่ดินที่หน่วยราชการขอใช้ อาจกินพื้นที่ถึง 1 ใน 3 หรือเกือบครึ่งหนึ่งของเขากระโดง

 

ดังนั้น การที่อ้างว่า… ตระกูลบางตระกูลครอบครองที่ดินไม่มาก ไม่เป็นความจริง ส่วนกรณีที่อ้างว่าประชาชนทั่วไปจะเดือดร้อนมาก ถ้าฟ้องขับไล่ เพราะมีประชาชนทั่วไปครอบครองอยู่มาก ก็ไม่เป็นความจริงเช่นกัน! 

 

สรุป จากคำพิพากษาทั้งหมด เกี่ยวกับ ที่ดินเขากระโดง กรมที่ดินยืนยันว่า… ได้ดำเนินการตามคำพิพากษา ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และการดำเนินการรับฟังพยานหลักฐานของคณะกรรมการสอบสวน ทุกอย่างเป็นไปด้วยความรอบคอบ และเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยรับฟังทั้งพยานหลักฐานที่ปรากฏในการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม พยานหลักฐานของการรถไฟ และพยานหลักฐานที่คณะกรรมการสอบสวน แสวงหามาประกอบเพื่อการพิจารณา อธิบดีกรมที่ดิน จึงได้เห็นชอบตามที่คณะกรรมการ เสนอยุติเรื่อง ตามความความเห็นของคณะกรรมการ ที่ได้เสนอมา ว่ายังไม่มีพยานหลักฐานปรากฏชัดแจ้งเพียงพอให้รับฟังได้ว่า… ได้มีการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์โปโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายจะพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขตามนัยข้อ 12 ของกฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการสอบสวนและการพิจารณาเพิกถอนหรือแก้ไขการออกโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์การจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม หรือการจดแจ้งเอกสารรายการจดทะเบียนโดยคลาดเคลื่อนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย พ.ศ. 2553 พร้อมทั้งแจ้งให้การรถไฟทราบว่า หากการรถไฟฯ เห็นว่าตนมีสิทธิในที่ดินดีกว่าก็เป็นเรื่องที่ผู้มีสิทธิในที่ดินจะต้องไปดำเนินการ เพื่อพิสูจน์สิทธิในกระบวนการยุติธรรมทางศาลต่อไป… 

 

และบทความครั้งหน้า Property4Cash จะเอาข่าวสารเกี่ยวกับประเด็นร้อนไหนมาเล่าให้ฟัง ก็อย่าลืมติดตามกันนะคะ 

 

หากต้องการเงินด่วน แล้วมีอสังหาอยู่ในมือ ไม่ว่าจะเป็นบ้าน คอนโด ที่ดิน อาคารพาณิชณ์ โรงแรม โรงงาน โกดัง เราก็พร้อมบริการปล่อยสินเชื่อ อสังหาแลกเงิน เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงเงินทุนอย่างเป็นธรรม ดอกเบี้ยเริ่มต้นเพียง 0.75% ไม่ใช้คนค้ำ ไม่เช็คเครดิตบูโร ไม่มีนโยบายยึดทรัพย์ อาชีพไหนก็กู้ได้!!

 


Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์ ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม
25
Oct 24
การทำนิติกรรม ใครเป็นคนจ่าย ค่าธรรมเนียมการขายฝาก

เมื่อคุณตัดสินใจขายฝากทรัพย์ หรือ ทำนิติกรรมขายฝาก คำถามที่หลายคนยังคงสงสัย คือ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม? เดี๋ยววันนี้จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ ก่อนอื่นเลยมาทำความรู้จักกับคำว่า ขายฝาก กันก่อนค่ะ การขายฝาก คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย มีกฎหมายคุ้มครองทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก(นักลงทุน) โดยการขายฝาก คือ การซื้อขายทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีที่มีการทำสัญญา แต่มีเงื่อนไขตกลงว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดและวงเงินที่ตกลงกัน โดยจะมีค่าธรรมเนียมในการขายฝากทรัพย์ และค่านิติกรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกรรมนั้นๆ    ทำไมต้องจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม:  การจ่ายค่าภาษี และ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ในการทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์มีความสำคัญ ดังนี้ ปฏิบัติตามกฎหมาย การจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นข้อบังคับตามกฎหมายที่ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปตามข้อกำหนดและถูกต้องตามหลักกฎหมาย บันทึกข้อมูลทางการ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนช่วยให้การขายฝากทรัพย์สินถูกบันทึกในระบบทะเบียนอย่างเป็นทางก […]

อ่านเพิ่มเติม
การ จำนอง บ้านระหว่าง ธนาคาร กับ บุคคล ต่างกันอย่างไร
1
Mar 23
การจำนองบ้านระหว่าง ธนาคาร กับ บุคคล ต่างกันอย่างไร

คนส่วนใหญ่คนคิดว่า ถ้าจะขอสินเชื่ออสังหา มักจะนึกถึงธนาคารเป็นที่แรก แต่จริงๆ ยังมีแหล่งขอสินเชื่ออีกหลากหลายช่องทาง อาทิเช่น บุคคลธรรมดา และบริษัท ที่สามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วยเหมือนกัน วันนี้เราจะพาไปดูข้อแตกต่างระหว่าง การ จำนอง บ้านกับธนาคาร และ กับบุคคล ว่าต่างกันอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ การจำนองบ้านกับธนาคาร ข้อดีของการ จำนองบ้านกับธนาคาร ธนาคารจะให้วงเงินในของอนุมัติขอสินเชื่ออยู่ที่ 80%- 100% ของราคาประเมิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละสถาบัน ระยะเวลาการกู้สามารถกู้ได้นานกว่า 10 ปี ดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับนโยบายดอกเบี้ยแต่ละช่วงเวลานั้น โดยจะอยู่ที่ 5% แต่จะไม่เกิน 10% ต่อปี ข้อเสียของการ จำนองบ้านกับธนาคาร การจำนองบ้านกับธนาคารมักใช้เวลานานในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ ใช้เอกสารประกอบการพิจารณาอนุมัติเยอะ และมีการตรวจสอบเอกสารทางการเงิน อายุของผู้กู้ต้องอายุไม่เกิน 55 – 60 ปี ต้องตรวจสอบเครดิตบูโร ธนาคารอาจต้องมีผู้ค้ำประกัน ที่ดินเปล่าส่วนใหญ่ธนาคารจะไม่อนุมัติ การจำนองบ้านกับบริษัทเอกชน หรือ บุคคล ข้อดีของการจำนองบ้าน กับบริษัทเอกชน หรือ บุคคล ใช้เวลาในกา […]

อ่านเพิ่มเติม
รีไฟแนนซ์ Retention ต่างกันอย่างไร?
26
May 23
Retention กับ Refinance ต่างกันอย่างไร?

เมื่อผ่อนบ้านมาได้สักระยะหนึ่งแล้วหลายคนก็เริ่มที่จะหาทางทำให้ดอกเบี้ยนั้นลดลง ซึ่งวิธีการที่เราคุ้นเคยกันนั้นคือการ รีไฟแนนซ์ แต่ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่ง่ายและสะดวกกว่ามาก คือการ Retention แล้วทั้ง 2 วิธีนี้แตกต่างกันอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ Retention เป็นการติดต่อขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ในขณะที่ รีไฟแนนซ์ เป็นการนำที่อยู่อาศัยที่ผู้กู้ผ่อนชำระอยู่ มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อขอสินเชื่อใหม่มาปิดหนี้ยอดเงินกู้เดิมที่ยังเหลืออยู่ ทำให้หนี้ของเรากับเจ้าหนี้ ซึ่งก็คือ ธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิมนั้นสิ้นสุดลง พร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของหนี้ใหม่กับธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ ซึ่งข้อแตกต่างสามารถแบ่งได้ตามนี้ #สถาบันการเงิน Retention จะใช้ธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิม ไม่ต้องหาสถาบันการเงินใหม่ Refinance จะต้องหาธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ #การเตรียมเอกสาร Retention ไม่ต้องยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร เนื่องจากธนาคารสามารถใช้เอกสารเดิมหลายฉบับที่ผู้กู้ใช้ยื่นขอสินเชื่อ Refinance เนื่องจากเป็นธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ จึงต้องมีการเตรียมเอกสารใหม่ทั้งหมด #ระยะเวลาอนุมัติ Retention เนื่องจากมีข้อ […]

อ่านเพิ่มเติม