ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม ซื้อ-ขายได้ไหม
17
Dec 24

>>> ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม สามารถซื้อ – ขายได้หรือไม่? 

ที่ดินติดภาระจำยอม เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อ – ขายที่ดิน ให้ความสำคัญ และนำมาพิจารณาในการตัดสินใจซื้อ – ขาย เป็นอันต้นๆ แล้วทำไมที่ดินติดภาระจำยอมถึงมีผลต่อการตัดสินใจขนาดนี้ วันนี้ Property4Cash สรุปมาให้แล้ว…

ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจ คำว่า ภาระจำยอม คืออะไร?

ภาระจำยอม คือ สิทธิทางกฎหมายที่ให้บุคคลหนึ่งมีสิทธิใช้ทรัพย์สินของอีกบุคคลหนึ่ง โดยทรัพย์สินที่ถูกใช้ในลักษณะนี้เรียกว่า “ทรัพย์สินที่ติดภาระจำยอม” เช่น ทางผ่าน, ทางเข้า-ออก, การใช้แหล่งน้ำ หรือการเดินสายไฟฟ้าผ่านที่ดิน เป็นต้น 

 

ภาระจำยอม จะต้องถูกบันทึกไว้ในโฉนดที่ดิน และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน

และคำถามที่ว่า… ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม สามารถซื้อ – ขายได้หรือไม่? คำตอบคือ สามารถทำได้ แต่มีเงื่อนไขที่คุณต้องคำนึงถึง การซื้อ-ขายที่ดิน ที่ติดภาระจำยอมนั้นจะต้องมีการแจ้งให้ผู้ซื้อทราบถึงภาระจำยอมที่มีอยู่บนที่ดิน การแจ้งนี้ถือว่าเป็นการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจได้ว่าต้องการซื้อที่ดินดังกล่าวหรือไม่!

เพราะที่ดินติดภาระจำยอม มีผลกระทบต่อมูลค่าที่ดิน อาจจะทำให้ที่ดินนั้นมีการจำกัดการใช้งานในบางประการ เช่น หากเป็นภาระจำยอมในการใช้ทางผ่าน เจ้าของที่ดินจะไม่สามารถใช้พื้นที่นั้นได้เต็มที่ตามต้องการ ดังนั้น มูลค่าที่ดินอาจลดลงตามข้อจำกัดที่เกิดขึ้น

 

ขั้นตอนการซื้อ – ขายที่ดินที่ติดภาระจำยอม

  1. ตรวจสอบโฉนดที่ดิน ตรวจสอบข้อมูลในโฉนดที่ดินว่ามีภาระจำยอม ที่บันทึกไว้หรือไม่? และเงื่อนไขของภาระจำยอมเป็นอย่างไร?
  2. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ควรปรึกษาทนายความหรือผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณเข้าใจข้อกำหนดและเงื่อนไขของภาระจำยอม
  3. เจรจากับผู้ขาย หากคุณสนใจที่ดินดังกล่าว ควรเจรจากับผู้ขาย เพื่อตกลงเรื่องราคาที่สะท้อนถึงข้อจำกัดของภาระจำยอม
  4. ทำสัญญาซื้อ – ขาย ในสัญญาซื้อ – ขายควรมีการระบุถึงภาระจำยอมและเงื่อนไขต่างๆ อย่างชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม ซื้อ-ขายได้ไหม

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการซื้อ – ขายที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม

  • ผู้ซื้อสามารถยกเลิกภาระจำยอมได้หรือไม่? คำตอบคือ ไม่สามารถทำได้ง่ายๆ การยกเลิกภาระจำยอมต้องเป็นไปตามกฎหมายและต้องได้รับความยินยอมจากผู้มีสิทธิในภาระจำยอมนั้น
  • ภาระจำยอมมีผลต่อการขอสินเชื่อหรือไม่? คำตอบก็คือ อาจมีผลต่อการขอสินเชื่อจากธนาคาร เนื่องจากเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อมูลค่าของที่ดินโดยตรงนั้นเอง

 

สรุปส่งท้าย ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม สามารถซื้อ – ขายที่ดินได้!! แต่ผู้ซื้อควรทำการตรวจสอบและเข้าใจภาระจำยอมที่มีอยู่บนที่ดินก่อนการตัดสินใจ การปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่า… การซื้อ – ขายเป็นไปตามกฎหมาย และไม่มีปัญหาตามมาในภายหลัง

 

หากต้องการเงินด่วน เงินทุน หรือเงินก้อน ไปใช้จ่าย ในเรื่องส่วนตัว ส่วนครอบครัว หรือส่วนต่อเติมธุรกิจ Propperty4Cash เงินด่วนอสังหา ยินดีให้บริการ ให้วงเงินจำนองสูงสุดถึง 40% ให้วงเงินขายฝากสูงสุดที่ 60% ไม่ใช้คนค้ำ ไม่เช็คเครดิตบูโร ไม่มีนโยบายยึดทรัพย์ ดูแลทุกขั้นตอนโดยทีมงานมืออาชีพ

 


Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

20
Sep 24
ทำสัญญาขายฝากไปแล้ว เจ้าของทรัพย์อยากจะเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลได้ไหม

กรณีที่ทรัพย์ ทำสัญญาขายฝาก ไปแล้ว เจ้าของทรัพย์ต้องการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล (เจ้าของคนเดิม แต่ต้องการเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล) ที่สำนักงานเขต สามารถทำได้อย่างแน่นอน ไม่ได้ปิดกฎหมาย และในวันที่ไถ่ถอน เจ้าของทรัพย์จะต้องนำใบเปลี่ยนชื่อของตนเองมาด้วย  แต่ถ้าหากทรัพย์ไม่นำใบเปลี่ยนชื่อของตนเองมา ก็จะไม่สามารถทำธุรกรรมใดๆ ได้ การเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล สามารถทำได้ทั้งผู้ขายฝาก และผู้รับซื้อฝาก แต่ก็อย่างที่ได้บอกไปข้างต้น เมื่อวันที่ต้องทำธุรกรรมที่กรมที่ดิน เอกสารการเปลี่ยนชื่อนั้นต้องเตรียมมาทั้ง2ฝ่าย ในกรณีที่ต้องการเปลี่ยนชื่อนามสกุลในระหว่างที่สัญญาขายฝาก (เปลี่ยนชื่อเป็นผู้ขายฝากคนใหม่) สัญญายังมีผลบังคับใช้อยู่นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย และไม่สามารถทำได้โดยพลการ เนื่องจากสัญญาขายฝากเป็นสัญญาที่มีผลทางกฎหมาย และการเปลี่ยนแปลงชื่อนามสกุลของบุคคลใดบุคคลหนึ่งในสัญญา จะส่งผลกระทบต่อสิทธิและหน้าที่ของทั้งผู้ซื้อฝากและผู้รับซื้อฝาก การที่ผู้ขายฝากเดิมจะเปลี่ยนชื่อเป็นผู้ขายฝากคนใหม่ ผู้ขายฝากคนเดิมจะต้องมาไถ่ถอนสัญญาขายฝากเดิมก่อน แล้วจึงจะ ทำสัญญาขายฝาก ใหม่และเปลี่ยนเป็นชื่อผู้ขายฝากคนใหม่ได้ เห […]

อ่านเพิ่มเติม
คอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ ทำได้หรือไม่?
20
Jul 23
อยากซื้อคอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ ทำได้หรือไม่?

การซื้อ คอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ เป็นหนึ่งในทางออกสำหรับ เจ้าของคอนโดที่อยากจะขาย และมีคนที่อยากซื้อ แต่กู้ไม่ผ่าน แต่หลายคนก็ยังสงสัยว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่? และอะไรที่จะรับประกันการซื้อขายครั้งนี้ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้หายสงสัยกันค่ะ การซื้อคอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ จะเกิดขึ้นโดยตรงระหว่างเจ้าของกับผู้ซื้อ ซึ่งจะไม่ผ่านตัวกลางที่เป็นสถาบันการเงินใดๆ อย่างเช่นธนาคาร ดังนั้นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ หากใครเป็นเจ้าของคอนโดที่ขายด้วยวิธีนี้ จะต้องทำใจว่าตนเองจะไม่ได้รับเงินก้อนเต็มจำนวนทันทีที่การตกลงซื้อขายสำเร็จ อันนี้คือความต่างข้อแรกที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ขายหรือเจ้าของคอนโดนั่นเอง แต่หากมองในฝั่งของผู้ซื้อก็คงไม่มีความแตกต่างใด ๆ เพราะไม่ว่าจะด้วยวิธีใดผู้ซื้อก็ต้องมานั่งผ่อนจ่ายเป็นงวด ๆ อยู่ดี แต่ก็ต้องแบกรับความเสี่ยงที่เมื่อผ่อนชำระครบแล้ว เจ้าของจะไม่ยินยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้ ดังนั้นสิ่งสำคัญของการซื้อคอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของก็คือ “สัญญาเช่าซื้อ” ซึ่งจะเป็นเอกสารที่มีลายลักษณ์อักษรที่สามารถยืนยันและเป็นหลักฐานทางกฎหมายได้ โดยในการซื้อขายจะต้องทำสัญญาเช่าซื้อขึ้นมา เพื่อใช้เป็ […]

อ่านเพิ่มเติม
ทรัพย์สินหลุดจำนอง จาก กรมบังคับคดี คืออะไร?
23
Jan 25
ทรัพย์สินหลุดจำนอง จาก กรมบังคับคดี คืออะไร?

ทรัพย์สินหลุดจำนอง จาก กรมบังคับคดี คืออะไร? ทรัพย์สินหลุดจำนอง จาก กรมบังคับคดี คือ ทรัพย์สินที่เจ้าของเดิมได้นำไปจำนองกับสถาบันการเงินหรือผู้ให้กู้เงิน แต่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไขในสัญญา เมื่อผู้กู้ผิดนัดชำระ เจ้าหนี้จึงดำเนินการทางกฎหมายเพื่อบังคับคดีและนำทรัพย์สินที่จำนองไว้เข้าสู่กระบวนการขายทอดตลาด โดยกรมบังคับคดีเป็นหน่วยงานหลักที่จัดการในกระบวนการดังกล่าว   กระบวนการทรัพย์สินหลุดจำนอง การแจ้งเตือนและฟ้องร้อง เมื่อผู้กู้ผิดนัดชำระ เจ้าหนี้จะส่งหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระหนี้ หากยังไม่ดำเนินการ เจ้าหนี้สามารถฟ้องร้องต่อศาลเพื่อเรียกคืนทรัพย์สิน การบังคับคดี หากศาลมีคำพิพากษาให้เจ้าหนี้สามารถบังคับคดีได้ กรมบังคับคดีจะเริ่มกระบวนการตรวจสอบและยึดทรัพย์สินที่จำนองไว้ การขายทอดตลาด ทรัพย์สินที่ถูกยึดจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการขายทอดตลาด เพื่อชำระหนี้ที่ค้างอยู่ โดยรายได้จากการขายจะถูกนำไปชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ก่อน หากมีเงินเหลือจะคืนให้เจ้าของเดิม   ข้อดีของการซื้อทรัพย์สินหลุดจำนอง ราคาถูกกว่าในตลาด: ทรัพย์สินหลุดจำนองมักมีราคาต่ำกว่าราคาประเมินหรือราคาตลาด เนื่องจากเป็นการ […]

อ่านเพิ่มเติม