22
May 25

          ติดบูโร รหัส 30 ทำขายฝากได้ไหม? เป็นคำถามที่ทางบ้านสอบถามเข้ามาวันนี้ Property4Cash เงินด่วนอสังหา มาสรุปให้นะคะ 

          ใครที่กำลังเตรียมกู้สินเชื่อต้องรู้ เพราะบทความนี้จะพาคุณมาทำความเข้าใจกับอีกหนึ่งกุญแจสำคัญอย่าง “เครดิตบูโร (Credit Bureau)” สถาบันที่จัดเก็บข้อมูลบัญชีสินเชื่อ และประวัติการชำระสินเชื่อทุกประเภท ไม่ว่าคุณทำอะไร ด้วยสินเชื่อไหน เครดิตบูโรก็จะบอกสถานะของคุณไว้อย่างชัดเจน ยิ่งคุณมีสถานะบูโรดีมากเท่าไร โอกาสที่จะได้รับการอนุมัติสินเชื่อก็จะมีมากขึ้นเท่านั้น

          เพราะฉะนั้น มาทำความรู้จักกับ “สถานะบูโร” กุญแจสู่ผลการอนุมัติสินเชื่อในฉบับรวบรัด เครดิตบูโรคืออะไร? ถ้าติดแบล็คลิสแก้ยังไง? หรือตัวเลขสถานะบูโรนั้นมีกี่แบบ กรุงไทยได้รวมคำตอบเหล่านี้ให้คุณได้หายข้องใจกัน

 

เครดิตบูโรคืออะไร?

          เครดิตบูโร (Credit Bureau) หรือ บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด คือ สถาบันที่รวบรวมข้อมูลบัญชีสินเชื่อ รวมทั้งประวัติการชำระหนี้และสินเชื่อทุกประเภท อีกทั้งยังสามารถระบุสถานะบูโรของแต่ละบุคคลว่าเป็นอย่างไร มีประวัติการชำระที่ดีหรือไม่ รวมไปถึงการระบุว่าบุคคลนั้นมีภาระด้านสินเชื่อมากน้อยเพียงใด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นกุญแจสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อต่าง ๆ ของทางธนาคาร หรือสถาบันการเงินที่ได้ทำเรื่องไป หากเรามีเครดิตบูโรที่ดีโอกาสที่จะได้รับการอนุมัติก็จะสูงตามมา

ตัวเลขสถานะบูโรมีกี่แบบ? ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง

วันนี้ Property4Cash เงินด่วนอสังหา พาเจาะลึกถึงสถานะบูโรให้รู้จักกันมากยิ่งขึ้น 

  • ข้อมูลที่แสดงให้ทราบว่าใคร คือ เจ้าของรายงาน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่ได้รับมาจากสถาบันการเงินที่เราใช้สินเชื่อ เช่น
    • ข้อมูลส่วนบุคคล : เลขที่บัตรประจำตัวประชาชน, ชื่อ-นามสกุล, วันเดือนปีเกิด เป็นต้น โดยสถาบันการเงินจะไม่นำส่งในข้อมูลเครดิตบูโร 
    • ข้อมูลที่อยู่ของลูกค้าที่แจ้งไว้กับสถาบันการเงิน และบริษัทที่เป็นสมาชิกเครดิตบูโร
  • ข้อมูลเกี่ยวกับสินเชื่อที่ได้รับอนุมัติ ประวัติการชำระสินเชื่อ รวมถึงประวัติการชำระสินค้าหรือการใช้บริการผ่านบัตรเครดิต ข้อมูลส่วนนี้จะแสดงสถานะบูโรในแต่ละบัญชีของรายงานข้อมูลเครดิต ด้วยการรวมรหัสสถานะบัญชี เช่น สินเชื่อปกติ, สินเชื่อที่ปิดบัญชีแล้ว, สินเชื่อที่ค้างชำระเกิน 90 วัน เป็นต้น 

ซึ่งสถานะบัญชีจะถูกเปลี่ยนไปตามประวัติการผ่อนชำระของเจ้าของสินเชื่อ โดยจะรหัสสถานะบูโรที่สำคัญมีดังนี้

  • 01 หรือ 010 คือ ปกติ ไม่มีหนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน
  • 11 หรือ 011 คือ ปิดบัญชี ลูกหนี้ชำระหนี้หมดหรือชำระครบตามยอดที่ได้ทำสัญญาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้
  • 12 หรือ 012 คือ พักชำระหนี้ตามนโยบายของสมาชิก
  • 20 หรือ 020 คือ หนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน
  • 21 หรือ 021 คือ หนี้ค้างชำระเกินกว่า 90 วันเนื่องจากลูกหนี้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ไม่ปกติ
  • 30 หรือ 030 คือ อยู่ระหว่างกระบวนการทางกฎหมาย
  • 31 หรือ 031 คือ อยู่ระหว่างชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอม
  • 32 หรือ 032 คือ ศาลยกฟ้องเนื่องจากคดีขาดอายุความหรือ เหตุอื่นเว้นแต่การยกฟ้องเนื่องจากการเป็นหนี้มิได้มีอยู่จริง
  • 33 หรือ 033 คือ ปิดบัญชีเนื่องจากตัดหนี้สูญ ปิดบัญชีเนื่องจากลูกหนี้ไม่นำเงินมาชำระ และสมาชิกตัดหนี้สูญทั้งหมดโดยไม่ติดใจทวงถามอีกต่อไป
  • 40 หรือ 040 คือ อยู่ระหว่างสินเชื่อเพื่อปิดบัญชี ลูกหนี้ไม่สามารถใช้บัญชีได้อีกหรืออยู่ระหว่างชำระหนี้ เมื่อลูกหนี้ชำระหนี้เสร็จสิ้นจะต้องปรับเป็น ปกติ หรือ ปิดบัญชี
  • 41 หรือ 041 คือ อยู่ระหว่างตรวจสอบรายการ เจ้าของข้อมูลขอตรวจสอบรายการหรือ สมาชิกอยู่ระหว่างตรวจสอบรายการ เนื่องจากการทุจริต หรือฉ้อฉลโดยอยู่ระหว่างพิสูจน์ข้อเท็จจริง และยังไม่ได้ข้อยุติ
  • 42 หรือ 042 คือ โอนขายหนี้ที่ค้างชำระเกินกว่า 90 วัน สมาชิกโอนหรือขายหนี้ที่ค้างชำระให้กับบุคคลอื่น
  • 43 หรือ 043 คือ โอนหรือขายหนี้และชำระหนี้เสร็จสิ้น ไปยังนิติบุคคลอื่นและลูกหนี้ได้มีการชำระหนี้เสร็จสิ้นให้แก่ผู้รับโอน
  • 44 หรือ 044 คือ โอนหรือขายหนี้ที่สถานะบัญชีปกติ ซึ่งสมาชิกโอนหรือขายหนี้ที่ไม่ค้างชำระ หรือ ค้างชำระไม่เกิน 90 วันไปบุคคลอื่น

5 วิธีปลดล็อกสถานะบูโรไม่ปกติ ก่อนกู้สินเชื่อฉบับเข้าใจง่าย

          เมื่อรู้แล้วว่าการติดเครดิตบูโรคืออะไร? รวมถึงเข้าใจในกลไกของสถานะบูโรชัดเจนยิ่งขึ้น ทางเราขอชี้แนะเพิ่มเติม กับ 5 วิธีปลดล็อกสถานะบูโรก่อนกู้สินเชื่อฉบับเข้าใจง่าย ให้คุณได้เก็บไว้เป็นคู่มือในการรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่อาจคาดเดาได้ในอนาคต

1.อยากปลดล็อกต้องเช็กเครดิตบูโรให้รู้และพร้อมแก้ไข

          เพราะสถานะบูโรเป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาสินเชื่อ ดังนั้น เราต้องรู้สถานการณ์ของตัวเองในตอนนี้ให้ดีก่อนว่าสถานะบูโรของเราเป็นอย่างไร ประวัติการชำระตรงตามที่เราเคยชำระไหม และมีข้อมูลทางการเงินส่วนไหนแปลกปลอมหรือไม่ หากเจอข้อมูลที่ผิดพลาดต้องรีบดำเนินการแก้ไขทันที เมื่อเราตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มวางแผนการแก้ไขไปทีละจุด ทยอยปิดบัญชีสินเชื่อทีละนิด ยิ่งเรามีวินัยมากพอในการบริหารการจัดการหนี้ ส่วนนี้ก็จะทำให้คุณปลดล็อกจากสถานะบูโรไม่ปกติได้เร็ว

2.ชำระหนี้ให้ตรงเวลา

          อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้ปลดล็อกจากเครดิตบูโรได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือการชำระหนี้สินเชื่อให้ตรงเวลา หากคุณสร้างวินัยทางการเงินไปพร้อมกับการสร้างประวัติเครดิตให้ดียิ่ง ก็จะส่งผลให้การขอสินเชื่อใหม่ในอนาคตมีโอกาสเป็นไปได้มากยิ่งขึ้น

3.ปลดล็อกเครดิตบูโรง่ายๆ เพียงแค่ “รวมหนี้ไว้เป็นหนึ่งเดียว”

          หากคุณมีภาระหนี้สินเชื่อจากหลายสถาบันทางการเงิน เราขอแนะนำวิธี “การรวมหนี้” อีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณปลดล็อกจากสถานะบูโรไม่ปกติ ปัจจุบันนี้ธนาคารและสถาบันทางการเงินหลายแห่งเปิดทางเลือกให้แก่ลูกค้าที่ประวัติการค้างชำระ ยื่นขอสินเชื่อสำหรับการรวมหนี้ และนำเงินก้อนมาปิดบัญชีหนี้ค้างชำระทั้งหมด เพื่อปรับโครงสร้างหนี้และปลดล็อกสถานะบูโรไม่ปกติได้

4.วางแผนการชำระหนี้เสีย ช่วยปลดล็อกเครดิตบูโร

ต่อด้วยอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้คุณหลุดพ้นจากสถานะบูโรไม่ปกติได้ คือ การวางแผนการชำระหนี้เสียเพื่อสร้างเครดิตทางการเงินที่ดี

  • หากตอนนี้คุณมีสภาพคล่องทางการเงิน เริ่มจากการสรุปรายการหนี้ที่ยังคงค้าง จากนั้นนำมาวางแผนในการตั้งงบประมาณ (รายรับ-รายจ่าย) ให้เหมาะสม และสิ่งที่สำคัญที่สุดของแผนนี้คือการสร้างวินัยการผ่อนชำระหนี้ให้ตรงเวลาในทุกงวด
  • หากคุณขาดสภาพคล่องทางการเงิน หรือมีรายจ่ายมากกว่ารายรับ เราขอแนะนำให้เริ่มต้นด้วยการปรึกษากับสถาบันการเงิน ในการขอปรับเงื่อนไขไม่ว่าจะเป็นการปรับโครงสร้าง หรือเพิ่มระยะเวลาในการชำระหนี้ เพื่อให้ประวัติการชำระหนี้คงค้างของคุณดีขึ้น

5.สร้างสถานะเครดิตบูโรใหม่ เพิ่มโอกาสการอนุมัติสินเชื่อ

          ยิ่งสถานะบูโรของเราน่าเชื่อถือมากขึ้นเท่าไร โอกาสที่สินเชื่อจะได้รับการอนุมัติก็ยิ่งมีมากขึ้นเท่านั้น เพราะฉะนั้น เมื่อคุณปิดบัญชีสินเชื่อจนครบแล้วก็อย่าลืมสร้างสถานะเครดิตบูโรใหม่ให้ดี เริ่มจากการสร้างวินัย ชำระหนี้ให้ตรงเวลา วางแผนทางการเงินให้รอบคอบ เพียงเท่านี้สถานะบูโรของคุณก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น พร้อมเพิ่มโอกาสการขอสินเชื่ออื่นๆ ในอนาคตได้อย่างราบรื่น

สถานะบูโร เป็นอีกสิ่งสำคัญที่ทุกคนควรให้ความใส่ใจ เพราะข้อมูลเหล่านี้จะสะท้อนพฤติกรรมรวมถึงวินัยทางการเงินของเราได้อย่างชัดเจนว่าการเงินของเรายังอยู่ในสภาพคล่องหรือไม่ และที่สำคัญข้อมูลเหล่านี้คือตัวช่วยในการเพิ่มโอกาสของการขอสินเชื่อได้อย่างราบรื่นเช่นกัน

 

สรุปส่งท้าย ติดบูโร รหัส 30 ทำขายฝากได้ไหม? ต้องอธิบายว่าติดบูโร Property4Csah เงินด่วนอสังหารับจำนอง ขายฝากปกตินะคะ แต่ในกรณี ติดบูโร รหัส 30 ต้องพิจารณาว่า ติดในสินเชื่อประเภทไหน บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด หรือติดเกี่ยวกับโฉนดที่จะนำมาค้ำประกัน หากติดเกี่ยวกับโฉนดที่นำมาค้ำประกัน ขายฝาก จำนอง ทางบริษัท อาจจะต้องพิจารณา หรืออาจจะไม่รับหากคดีความนั้นโดนศาลออกคำสั่งยึดนะคะ

 


Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึง ขายฝากจำนอง นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

บ้านหลุดจำนอง ดีจริงหรือ?
14
Nov 23
บ้านหลุดจำนอง ดีจริงหรือ?

หลายๆ คนมักจะอคติกับ “บ้านหลุดจำนอง” จริงๆ แล้วรูปแบบอสังหาฯ ประเภทนี้ไม่ได้เลวร้ายอย่างที่คิด ถ้าได้มาจากแหล่งขายอันน่าเชื่อถือ รับรองว่าได้ราคาดี แถมยังสามารถเรียกกำไรงามได้อีกด้วย บ้านหลุดจำนอง เป็นรูปแบบอสังหาริมทรัพย์ที่ด้อยคุณภาพหรือรอการขาย โดยมักเรียกกันหมู่นักลงทุนว่า NPA ย่อมาจาก Non-Performing Asset เกิดจากทางสถาบันการเงินได้กรรมสิทธิ์เมื่อผู้กู้เกิดพฤติกรรมขาดผ่อนหรือผ่อนต่อไม่ไหว จึงยอมให้ธนาคารยึดบ้านเพื่อนำมาชำระหนี้ รวมไปถึงบ้านที่กรมบังคับคดีได้นำออกมาประมูล ในราคาที่ต่ำกว่าตลาดถึง 40-50% อีกด้วย สำหรับบ้านหลุดจำนอง อาจจะต้องเช็คประวัติย้อนหลังของบ้านให้มากขึ้น เพราะเราไม่รู้ว่าบ้านหลุดจำนองมีประวัติด้านลบมามากหรือน้อยแค่ไหน ถ้าหากไม่ตรวจสอบอย่างละเอียด อาจนำความเดือดร้อนมาภายหลังได้ แล้วบ้านหลุดจำนอง จะทำกำไรให้กับนักลงทุนได้ยังไง วันนี้เรามาเรียนรู้เทคนิคการเลือกซื้อบ้านหลุดจำนองกัน มี 5 ข้อดังต่อไป ต้องรู้ความต้องการของตัวเองก่อน เราต้องรู้ว่าซื้อบ้านหลุดจำนองนี้ไปเพื่ออะไร จะเป็นการลงทุนหรือเพื่ออยู่อาศัยเอง ถ้าเป็นการลงทุน ควรพิจารณาเรื่องแหล่งซื้อเป็นอันดับแรกก่อ […]

อ่านเพิ่มเติม
คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่
30
Sep 23
คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่

หลายๆ คนอาจจะมีข้อสงสัยว่า ถ้าทำธุรกรรมขายฝาก จำนอง แล้วเกิดกรณีที่ คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน จะสามารถทำขายฝาก จำนองได้หรือไม่ อย่างแรกเลย ถ้าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการสมรสแล้วนั้น ไม่ว่าจะใส่ชื่อใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้เรียกว่าเป็นสินสมรสก่อนได้เลย กรณีคู่สมรสไม่มากรมที่ดินจะไม่สามารถทำธุรกรรมจำนอง ขายฝากได้เลย เพราะเราต้องได้รับการยินยอมจากคู่สมรสด้วย ไม่ว่าจะทำจำนอง ขายฝาก หรือว่าซื้อขายเองก็ตาม ถ้าหากทั้งคู่เลิกกันแล้ว ก็ต้องทำเรื่องหย่าให้เรียบร้อยก่อน เพราะถ้าไม่หย่าตามกฎหมายแล้ว ยังถือว่ายังเป็นคู่สมรสกันอยู่นะคะ ในกรณีถ้าคู่สมรสไม่สะดวกมา จะต้องมีหนังสือลงลายเซ็นยินยอมของคู่สมรส ยืนยันว่ายินยอมให้ทำธุรกรรมขายฝากหรือจำนอง พร้อมสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และทะเบียนสมรสให้เรียบร้อย และอาจจะถ่ายวิดีโอไว้ด้วย เพื่อเป็นการยืนยันในการทำขายฝาก จำนอง ซึ่งหนังสือยินยอมคู่สมรสทางกรมที่ดินจะมีให้บริการทุกสาขาทั่วประเทศ เห็นไหมคะเพื่อนๆ เมื่อเราจดทะเบียนสมรสแล้ว เวลาที่เราอยากทำธุรกรรมต่างๆ จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งจะต้องผ่านการยินยอมจากคู่สมรสเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การจดจำนอง ขายฝ […]

อ่านเพิ่มเติม
5 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจจำนองบ้าน
7
Sep 24
5 ข้อควรรู้ก่อนตัดสินใจจำนองบ้าน

การตัดสินใจจำนองบ้านเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องวางแผนอย่างรอบคอบ เพราะเกี่ยวข้องกับภาระทางการเงินระยะยาว ดังนั้นก่อนตัดสินใจ ควรทำความเข้าใจใน 5 ข้อสำคัญต่อไปนี้ ความสามารถในการผ่อนชำระ รายได้: ประเมินรายได้ประจำและรายได้อื่นๆ ที่มั่นคง ค่าใช้จ่าย: รวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าสาธารณูปโภค ค่าเล่าเรียนบุตร หนี้สินอื่น: หนี้บัตรเครดิต หนี้สินส่วนบุคคลอื่นๆ อัตราส่วนหนี้สินต่อรายได้ (Debt Service Ratio หรือ DSR): ควรคำนวณ DSR เพื่อประเมินว่าภาระหนี้ใหม่จะส่งผลกระทบต่อการเงินส่วนตัวมากน้อยแค่ไหน อัตราดอกเบี้ยและระยะเวลาผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย: เปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยของแต่ละธนาคารหรือสถาบันการเงิน ระยะเวลาผ่อนชำระ: เลือกระยะเวลาผ่อนชำระที่เหมาะสมกับกำลังทรัพย์ อัตราดอกเบี้ยลอยตัวหรืออัตราดอกเบี้ยคงที่: เลือกประเภทอัตราดอกเบี้ยให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ค่าใช้จ่ายอื่นๆ นอกเหนือจากเงินต้นและดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม: ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน ค่าจดทะเบียนจำนอง ค่าประกันภัย ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์: ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการโอน ค่าใช้จ่ายในการตกแต่ง: หากบ้านต้องการการ […]

อ่านเพิ่มเติม