คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่
30
Sep 23

หลายๆ คนอาจจะมีข้อสงสัยว่า ถ้าทำธุรกรรมขายฝาก จำนอง แล้วเกิดกรณีที่ คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน จะสามารถทำขายฝาก จำนองได้หรือไม่
อย่างแรกเลย ถ้าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการสมรสแล้วนั้น ไม่ว่าจะใส่ชื่อใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้เรียกว่าเป็นสินสมรสก่อนได้เลย
กรณีคู่สมรสไม่มากรมที่ดินจะไม่สามารถทำธุรกรรมจำนอง ขายฝากได้เลย เพราะเราต้องได้รับการยินยอมจากคู่สมรสด้วย
ไม่ว่าจะทำจำนอง ขายฝาก หรือว่าซื้อขายเองก็ตาม

ถ้าหากทั้งคู่เลิกกันแล้ว ก็ต้องทำเรื่องหย่าให้เรียบร้อยก่อน เพราะถ้าไม่หย่าตามกฎหมายแล้ว ยังถือว่ายังเป็นคู่สมรสกันอยู่นะคะ

ในกรณีถ้าคู่สมรสไม่สะดวกมา จะต้องมีหนังสือลงลายเซ็นยินยอมของคู่สมรส ยืนยันว่ายินยอมให้ทำธุรกรรมขายฝากหรือจำนอง
พร้อมสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และทะเบียนสมรสให้เรียบร้อย และอาจจะถ่ายวิดีโอไว้ด้วย เพื่อเป็นการยืนยันในการทำขายฝาก จำนอง
ซึ่งหนังสือยินยอมคู่สมรสทางกรมที่ดินจะมีให้บริการทุกสาขาทั่วประเทศ

เห็นไหมคะเพื่อนๆ เมื่อเราจดทะเบียนสมรสแล้ว เวลาที่เราอยากทำธุรกรรมต่างๆ จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งจะต้องผ่านการยินยอมจากคู่สมรสเสมอ
ไม่ว่าจะเป็น การจดจำนอง ขายฝาก การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ หรือโอนสิทธิจำนองต่างๆ
และในการขายทรัพย์ที่เป็นสินสมรสแล้วนั้น เมื่อยึดหลักตามกฎหมายแล้ว คู่สมรสจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่งด้วยนะคะ
ถ้าคู่สมรสฝ่าฝืน อีกฝ่ายหนึ่งสามารถฟ้องต่อศาลให้ศาลเพิกถอนการโอนหรือขายทรัพย์สินสมรสได้เลยค่ะ

ฝากไว้เป็นข้อเตือนใจทุกๆ คน ถ้าหากเลิกกันแล้ว ไม่ได้อยู่อาศัยหรืออยู่กินร่วมกันแล้ว
ก็ควรไปจดทะเบียนหย่ากันให้เรียบร้อยนะคะ เวลาที่เราอยากจะไปทำธุรกรรมต่างๆ จะได้ไม่มีปัญหาในภายหลังจ้า

คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

โฉนดที่ดิน แต่ละประเภทให้สิทธิ์ในที่ดินต่างกัน
7
Feb 24
รู้หรือไม่? โฉนดที่ดินแต่ละประเภทให้สิทธิ์ในที่ดินต่างกัน

ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อบ้านหรือที่ดิน เราต้องศึกษาข้อมูลให้ดีก่อนว่า โฉนดที่ดิน มีกี่ประเภท ซึ่งในปัจจุบันที่ดินถูกแบ่งออกเป็นหลายประเภทมากๆ มีทั้งแบบเป็นกรรมสิทธิ์ที่ดินและเอกสารสิทธิที่ดิน หรือแบบที่คนทั่วไปอย่างเราๆ สามารถซื้อขายกันได้ตามกฎหมาย และแบบที่รัฐออกสิทธิ์ให้ใช้ประโยชน์ในที่ดินตรงนั้น แต่ไม่อนุญาตให้ครอบครองซื้อขายกันได้ ซึ่งความแตกต่างของสิทธิ์นี้จะระบุในโฉนดที่ดินทั้งหมด บางคนอาจไม่ได้สังเกตุจึงทำให้เข้าใจผิดเกิดเป็นข้อพิพาทฟ้องร้องกันได้ เพื่อความชัดเจนว่าโฉนดที่ดินแบบไหนสามารถซื้อขายกันได้ เราจะรวบรวมข้อมูลโฉนดที่ดินและเอกสารสิทธิ์ที่ดินต่างๆ กัน ทำความรู้จักโฉนดที่ดิน โฉนดที่ดินที่เราเรียกกันบ่อยๆ คือ หนังสือสำคัญที่มีไว้แสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินออกให้โดยกรมที่ดิน ผู้ที่มีโฉนดที่ดินจะถือว่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ระบุไว้ในเอกสาร และมีอำนาจในการใช้ประโยชน์จากที่ดินตามพื้นที่ ที่ระบุในโฉนดที่ดินนั้น ซึ่งโฉนดที่ดินมีหลายประเภทและมีกรรมสิทธิ์ที่แตกต่างกันไป เช่น บางชนิดสามารถซื้อขายได้ บางชนิดไม่สามารถซื้อขายได้ โดยสังเกตได้จากสีของตราครุฑ และรหัสเอกสารด้านบนขวา โฉนดท […]

อ่านเพิ่มเติม
รีไฟแนนซ์ Retention ต่างกันอย่างไร?
26
May 23
Retention กับ Refinance ต่างกันอย่างไร?

เมื่อผ่อนบ้านมาได้สักระยะหนึ่งแล้วหลายคนก็เริ่มที่จะหาทางทำให้ดอกเบี้ยนั้นลดลง ซึ่งวิธีการที่เราคุ้นเคยกันนั้นคือการ รีไฟแนนซ์ แต่ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่ง่ายและสะดวกกว่ามาก คือการ Retention แล้วทั้ง 2 วิธีนี้แตกต่างกันอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ Retention เป็นการติดต่อขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ในขณะที่ รีไฟแนนซ์ เป็นการนำที่อยู่อาศัยที่ผู้กู้ผ่อนชำระอยู่ มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อขอสินเชื่อใหม่มาปิดหนี้ยอดเงินกู้เดิมที่ยังเหลืออยู่ ทำให้หนี้ของเรากับเจ้าหนี้ ซึ่งก็คือ ธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิมนั้นสิ้นสุดลง พร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของหนี้ใหม่กับธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ ซึ่งข้อแตกต่างสามารถแบ่งได้ตามนี้ #สถาบันการเงิน Retention จะใช้ธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิม ไม่ต้องหาสถาบันการเงินใหม่ Refinance จะต้องหาธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ #การเตรียมเอกสาร Retention ไม่ต้องยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร เนื่องจากธนาคารสามารถใช้เอกสารเดิมหลายฉบับที่ผู้กู้ใช้ยื่นขอสินเชื่อ Refinance เนื่องจากเป็นธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ จึงต้องมีการเตรียมเอกสารใหม่ทั้งหมด #ระยะเวลาอนุมัติ Retention เนื่องจากมีข้อ […]

อ่านเพิ่มเติม
กู้ร่วม แต่ผู้กู้ร่วมอีกคนเสียชีวิต ทำจำนองขายฝากได้ไหม?
2
Jul 24
กู้ร่วมแต่ผู้กู้ร่วมอีกคนเสียชีวิต ทำจำนองขายฝากได้ไหม?

หลายคนคงเคยกังวลว่าหากเรา กู้ร่วม ซื้อบ้านหรือคอนโดกับใครสักคน แล้วเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ผู้กู้ร่วมเสียชีวิต เราจะทำอย่างไรต่อ? โดยเฉพาะเรื่อง มรดก การผ่อนชำระสินเชื่อ หรือ  การขายฝาก จำนอง บทความนี้จะมาไขข้อสงสัยเหล่านี้ให้กระจ่าง พร้อมอธิบายแนวทางปฏิบัติอย่างละเอียด เมื่อเผชิญสถานการณ์สูญเสียผู้กู้ร่วม เมื่อผู้กู้ร่วมเสียชีวิต สัญญาจะยังคงอยู่หรือไม่? ตอบ: สัญญากู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยยังคงมีผลผูกพันแม้ว่าผู้กู้ร่วมจะเสียชีวิตก็ตาม ภาระหนี้สิน มรดก ต่างๆ จะตกไปอยู่กับผู้ กู้ร่วม ที่ยังมีชีวิตอยู่และทายาทของผู้เสียชีวิต แล้วทายาทมีสิทธิ์อะไรบ้าง? ตอบ: ทายาทของผู้เสียชีวิตมีสิทธิ์เลือกดังนี้ รับสืบทอดหนี้สิน: ทายาทสามารถรับสืบทอดหนี้สินต่อจากผู้เสียชีวิต โดยจะต้องผ่อนชำระสินเชื่อร่วมกับผู้กู้ร่วมที่ยังมีชีวิตอยู่ สละสิทธิ์: ทายาทสามารถสละสิทธิ์ไม่รับสืบทอดหนี้สิน กรณีนี้ธนาคารอาจพิจารณาให้ผู้กู้ร่วมที่ยังมีชีวิตอยู่กู้ต่อเพียงลำพัง หรือหาผู้กู้ร่วมใหม่ ขายทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้: ทายาทสามารถขายบ้านหรือคอนโดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้สิน กรณีต้องการขายฝากหรือจำนอง กรณีผู้กู้ร่วมเสียชีวิต การทำ […]

อ่านเพิ่มเติม