12
Jul 23

อีกหนึ่งช่องทางที่น่าสนใจ และกำลังเป็นที่นิยม

ในตลาดอสังหาริมทรัพย์เลยก็คือการ “ขายฝาก”

บางคนอาจจะคุ้นชินกับคำนี้มาก่อนหน้านี้แล้ว

แต่บางคนอาจจะไม่รู้จัก เคยได้ยินเพียงแต่

คำว่า “จำนอง” เท่านั้น

.

แล้วถ้าเราอยากเปลี่ยนทรัพย์ให้เป็นเงินด่วนแบบนี้ การจำนองหรือขายฝาก

จะตอบโจทย์เรามากกว่ากันล่ะ เรามาดูกันก่อนว่าสองอย่างนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร

#จำนอง นั้นหมายถึง การทำนิติกรรมที่เรานำเอาทรัพย์ที่ครอบครองอยู่ ไปค้ำประกันกับผู้รับจำนอง

เพื่อแลกกับเงินก้อนหนึ่งออกมา โดยที่ผู้รับจำนอง จะได้ดอกเบี้ยเป็นค่าตอบแทน ตามระยะเวลาที่กำหนด

ซึ่งหากเราไม่สามารถชำระหนี้ได้ ผู้รับจำนองมีสิทธิ์ยื่นฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้

ให้ศาลออกหมายบังคับคดี นำทรัพย์ออกขายทอดตลาดเพื่อนำเงินมาใช้หนี้

.

ส่วน #ขายฝาก เป็นการทำนิติกรรมที่เรานำเอาอสังหาฯ ไปให้ผู้รับซื้อฝาก

เพื่อแลกกับเงินก้อนหนึ่ง โดยที่ผู้รับฝากก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเช่นกัน

แต่ความแตกต่างระหว่างการขายฝาก กับการจำนอง ก็คือ

กรรมสิทธิ์ของอสังหาฯ จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีตั้งแต่วันแรกที่ทำสัญญาเสร็จสิ้น

แต่ผู้ขายฝาก จะยังมีโอกาสไถ่ถอนคืนได้ ภายในระยะเวลาที่ตกลงกัน แต่สูงสุดไม่เกิน 10 ปี

หากเวลาผ่านไปจนครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญาแล้ว ไม่นำเงินมาไถ่ถอน หรือซื้อคืน

ก็จะถูกยึดทรัพย์ได้เลยทันที โดยไม่จำเป็นต้องมีการฟ้องร้องขึ้นศาลใดๆ

.

ทั้งนี้ความแตกต่างของนิติกรรมทั้งสองแบบนั้นเราขอสรุปให้เข้าใจง่ายๆดังนี้

#กรรมสิทธิ์

📌 การขายฝากกรรมสิทธิ์จะเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีตั้งแต่วันทำสัญญา

และสามารถไถ่ถอนคืนได้ในระยะเวลาที่กำหนดในสัญญา สูงสุดไม่เกิน 10 ปี

📌การจำนองเจ้าของกรรมสิทธิ์ยังเป็นเจ้าของเดิม ไม่สามารถยึดทรัพย์ได้

หากผู้มาจำนองผิดสัญญาจะต้องยื่นฟ้องร้อง

#วงเงิน

📌การขายฝากวงเงินจะขึ้นอยู่ 50-60% ของราคาซื้อขายในท้องตลาด

📌การจำนองจะอยู่ที่ไม่เกิน 30-40% ของราคาซื้อขายในท้องตลาด

#อัตราดอกเบี้ย

📌การขายฝากและการจำนองอัตราดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 15% ต่อปี

#ระยะเวลาไถ่ถอน

📌การขายฝาก มีระยะเวลาตามที่ตกลงกันในสัญญาแต่ต้องไม่เกิน 10 ปี

📌การจำนอง ไม่มีอายุความ แต่มีระบุระยะเวลาการชำระหนี้ตามที่ตกลง

.

สรุปแล้ว หากลูกค้าต้องการเปลี่ยนทรัพย์ให้เป็นเงินขายฝากหรือจำนองจะดีกว่ากัน

ก็ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขต่างๆดังที่ได้กล่าวไปข้างต้น

#อยากได้วงเงินสูง การขายฝากจะตอบโจทย์ที่สุดเพราะสามารถตกลงวงเงินได้

#เลี่ยงความเสี่ยงในการโดนยึดทรัพย์ การจำนองกรรมสิทธิ์ของทรัพย์จะยังเป็นของคุณ

แม้ว่าทำสัญญาไปแล้วก็ตาม หรือแม้ว่าคุณจะผิดสัญญาก็ยังไม่สามารถยึดทรัพย์

ได้ทันทีจะต้องผ่านกระบวนการฟ้องร้องก่อน

.

อย่างไรก็ตามหากคุณต้องการเปลี่ยนทรัพย์เป็นเงินไม่ว่าในรูปแบบไหน ก็ต้องทำความเข้าใจ

ศึกษารายละเอียด และประเมินความเสี่ยงที่จะขึ้นได้ให้รอบคอบที่สุด เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของตัวเราเอง

——————————————————

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

13
Sep 24
10 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการขายฝาก

ขายฝากคืออะไร? คำตอบ: ขายฝากคือข้อตกลงทางการเงินที่เจ้าของทรัพย์สิน (ผู้ขายฝาก) นำทรัพย์สินของตนไปขายให้กับอีกฝ่าย (ผู้ซื้อฝาก) แต่ยังคงสิทธิบางประการในการใช้หรือครอบครองทรัพย์สินนั้น โดยผู้ขายฝากจะมีสิทธิเก็บคืนทรัพย์สินหลังจากชำระเงินตามที่ตกลงกันไว้ในระยะเวลาที่กำหนด   ข้อแตกต่างระหว่างขายฝากและการจำนองคืออะไร? คำตอบ: การขายฝากและการจำนำทั้งสองเป็นวิธีการที่ใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกัน แต่มีความแตกต่างที่สำคัญ: ขายฝาก: ผู้ขายฝากโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อฝาก แต่สามารถซื้อคืนได้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ การจำนอง: ผู้จำนองส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้รับจำนองเพื่อเป็นหลักประกัน แต่ยังคงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น และสามารถนำทรัพย์สินนั้นคืนได้เมื่อชำระหนี้ครบถ้วน   การขายฝากมีข้อดีข้อเสียอย่างไร? คำตอบ: ข้อดี: สามารถใช้ทรัพย์สินที่มีค่าเพื่อรับเงินทุนโดยไม่ต้องขายทรัพย์สินออกไป มีโอกาสซื้อคืนทรัพย์สินในอนาคตตามเงื่อนไขที่ตกลง ข้อเสีย: ผู้ขายฝากอาจสูญเสียทรัพย์สินหากไม่สามารถซื้อคืนได้ตามกำหนด มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการจัดการเอกสารและค่าธรรมเนียม ขั้นตอนในการขายฝากเป็นอย่างไ […]

อ่านเพิ่มเติม
บังคับจำนอง
3
Jan 23
การบังคับจำนอง คืออะไร ?

บังคับจำนอง ไม่ได้หมายความว่าเรามีทรัพย์สินอยู่แล้วถูกบังคับให้เอาไปจำนองแต่อย่างใด แต่หมายถึงการที่เราได้ทำสัญญาจำนองไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ผิดสัญญา ไม่จ่ายดอกเบี้ย ไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ทำให้ถูกฟ้องร้องต่อศาล โดยการบังคับจำนอง นั้นทำได้ 2 วิธีคือ ประเภทของ บังคับจำนอง ขายทอดตลาด คือการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่ง “ยึด” ทรัพย์สินที่จำนองไว้ขายทอดตลาด และนำเงินมาใช้หนี้แก่ผู้รับจำนอง โดยจำเป็นต้องส่งหนังสือแจ้งลูกหนี้ก่อนล่วงหน้า 1 เดือน ถึงจะสามารถฟ้องร้องได้ การบังคับจำนองขายทอดตลาดนั้น หากตัวทรัพย์สินที่จำนองไว้มูลค่าต่ำกว่าหนี้ที่มีอยู่ ลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องเสียค่าส่วนต่างแต่อย่างใด (แต่เสียที่ดิน เสียบ้านนะจ๊ะ!) และหากสามารถขายทรัพย์สินในราคาที่สูงกว่าหนี้ที่คงค้างได้ เจ้าหนี้จำเป็นต้องนำเงินส่วนที่เกินมาคืนให้แก่ลูกหนี้ไป จะเห็นได้ว่าการจำนองนั้น “เจ้าหนี้” ค่อนข้างเสียเปรียบในการทำสัญญาไม่น้อย เพราะฉะนั้น จะรับจำนองทรัพย์สินอะไร ให้ประเมินราคา ประเมินมูลค่าที่แท้จริงให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะเสียทั้งเงินและเวลาไปโดยใช่เหตุ ยึดทรัพย์สินให้เป็นของเจ้าหนี้ กรณีนี้สา […]

อ่านเพิ่มเติม
16
Feb 23
ถนนหน้าบ้านเรามีเจ้าของรึเปล่านะ

ถนน ทางสัญจร ที่เราใช้สัญจร อย่างเป็นปกติตลอดการอยู่อาศัยของเรานั้น บางที่บางแห่ง แท้จริงแล้ว อาจจะไม่ใช่ถนนสาธารณะ ที่ทุกคนมีสิทธิ์ในการใช้ หรือเป็นเจ้าของร่วมกัน อย่างที่เราเข้าใจก็ได้นะ ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไร ทีม Landthaimart เราจะพาไปรู้จักวิธีตามหาความจริงกันค่ะ ก่อนอื่น ในบทความนี้ จะขออนุญาตแบ่งกรรมสิทธิของถนนเป็น 2 ประเภทก่อน เพื่อความเข้าใจง่ายๆ 1.ถนนสาธารณะ ชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้ว ว่าสาธารณะ ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ มีงบประมาณของแผ่นดิน จากภาษีของประชาชนเข้ามาบำรุงดูแลรักษา ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ ดูแล ปกป้อง ถนนสาธารณะร่วมกัน การเช็คว่าเป็นสาธารณะหรือไม่ จะกล่าวถึงละเอียดต่อไป บางครั้งเราจะเห็นป้ายหน้าปากซอย ที่เป็นงบประมาณของเขต ติดตั้งอยู่ ก็ไม่ได้แสดงว่า ถนน ซอย นี้ เป็นสาธารณะเสมอไป บางครั้ง มีไว้เพื่อเป็น landmark เพื่ออำนวยความสะดวก ต่อการเดินทาง การบอกจุดหมาย การขนส่ง เท่านั้น หากในอนาคตถนนนี้ (ส่วนบุคคล) ที่มีป้ายถนนติดชื่อยู่ มีการซื้อไปเพื่อพัฒนาเป็นโครงการอื่นๆ มีการพิสูจน์สิทธิ์แล้วว่า เป็นที่ดินส่วนบุคคลจริง ป้ายซอย หรือป้ายชื่อถนนแบบนี้ ก็สามารถที่จะถูกรื้อถอนโดยหน่วยงานท […]

อ่านเพิ่มเติม