ทรัพย์หลุดขาย ฝากผู้รับซื้อฝากจะทำยังไง?
31
Aug 24

ทรัพย์หลุดขายฝาก ผู้รับซื้อฝากจะทำยังไง? การทำธุรกรรมขายฝาก เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่เจ้าของทรัพย์สิน (ผู้ขายฝาก) นำทรัพย์สิน เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโด อสังหาริมทรัพย์ต่างๆ
มาให้กับอีกบุคคลหนึ่งซึ่งเรียกว่า (ผู้รับซื้อฝาก) ถือกรรมสิทธิ์ชั่วคราว เพื่อขอเงินกู้หรือพูดกันให้เข้าใจง่ายๆว่า เอาโฉนดมาวางค้ำเป็นหลักประกัน
เพื่อกู้เงินนำเงินไปใช้ก่อนเมื่อครบกำหนดสัญญาตามที่ตกลงกันก็นำเงินต้นมาไถ่ถอนคืน แต่ในระหว่างสัญญาก็จะมีค่าดอกเบี้ยที่ผู้ขายฝากจะต้องจ่ายให้แก้ผู้รับซื้อฝาก

ในปัจจุบันนี้คนต้องการใช้เงินก้อน เงินด่วนเป็นจำนวนมากเจ้าของทรัพย์ก็นำโฉนดมาทำขายฝากกับทางนายทุนเป็นตัวเลขที่ตกลงกันทั้ง 2 ฝ่าย
แต่เมื่อครบกำหนดสัญญาผู้ขายฝากไม่มาไถ่ถอนทรัพย์คืน จึงทำให้ทรัพย์หลุดไปเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยทางกฎหมาย

กรณีที่ ทรัพย์หลุดขายฝาก ผู้รับซื้อฝากจะต้องทำยังไงบ้าง และจะเสียค่าใช้จ่ายอะไรไหม?

– กรณีที่ผู้รับซื้อฝากไม่ได้ส่งหนังสือแจ้งให้ทรัพย์ได้ทราบ ตามกฎหมายใหม่ต้องรอ 6เดือน ทรัพย์จะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยสมบูรณ์

– ถ้าผู้รับซื้อฝากส่งหนังสือแจ้งทรัพย์แล้ว (ส่งหนังสือแจ้งทรัพย์ไม่น้อยกว่า 3เดือน แต่ไม่เกิน6เดือน) ทรัพย์ก็จะหลุดเป็นของผู้รับซื้อฝากโดยสมบูรณ์ภายในระยะเวลาที่กำหนดและได้ตกลงกัน

ส่วนของค่าใช้จ่ายกรณีทรัพย์หลุดขายฝากผู้รับซื้อฝากจะเสียค่าใช้จ่ายอะไรไหม?

– ถ้าหากผู้รับซื้อฝากไม่ได้นำทรัพย์สินที่หลุดขายฝากไปทำธุรกรรมอื่นต่อ เช่น ประกาศขาย ขายฝาก หรือจำนอง ก็จะต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างทุกปีตามที่กฎหมายกำหนด

** (ต้องเช็คกับเขตก่อนว่า ก่อนหน้านี้เจ้าของเดิมได้มีการเสียภาษีหรือเขตเรียกเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในแปลงนี้ไหม ถ้าไม่ได้เรียกเก็บผู้รับซื้อฝากก็ไม่ต้องเสียภาษี แต่ถ้ามีการจ่ายภาษีมาตั้งแต่เจ้าของเดิม ผู้รับซื้อฝากก็ต้องจ่ายภาษีแปลงนี้ทุกๆปี)

– ถ้าหากผู้รับซื้อฝากนำทรัพย์สินไปทำธุรกรรมอื่นต่อ เช่น ประกาศขาย นำไปขายฝาก/จำนองต่อ ก็ต้องเสียภาษีตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีท้องถิ่น อากรแสตมป์ เป็นต้น

ทุกคนเห็นไหมคะว่าการนำเอาทรัพย์มาขายฝากเพื่อนำเงินไปหมุนก่อนนั้น มีข้อดีที่เราอาจจะได้เงินมาอย่างรวดเร็ว และสะดวกมากๆ แทบจะไม่ต้องยื่นเอกสารอะไรให้วุ่นวายเลย แต่อาจจะต้องคำนวนการใช้เงินและรอบคอบในเรื่องการบริหารเงินก้อนให้ดีๆไม่เช่นนั้นทรัพย์ของคุณอาจจะหลุดไปเป็นของผู้รับซื้อฝากได้เลยนะ ทรัพย์หลุดขายฝาก

หมุนเงินไม่ทัน ต้องการเงินด่วน Property4Cash ช่วยคุณได้ นึกถึงจำนอง-ขายฝาก นึกถึง Property4Cash นะคะ

"</a

 

Property4Cash ยินดีให้คำปรึกษาและช่วยเพิ่มทุนให้กับทุกคนที่ต้องการเงินด่วน และต้องการเงินเพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจ ไม่เช็คแบล็คลิส ไม่เช็คเครดิตบูโร

อนุมัติรวดเร็วทันใจ นึกถึงจำนอง-ขายฝาก นึกถึง Property4Cash

Line: @Property4Cash

โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash

ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

29
Apr 24
3 แอปฯ ช่วยให้การออมเงินเป็นเรื่องง่าย ตัวช่วยบริหารค่าใช้จ่าย แบบฉบับมือโปร 2024

“ความมั่นคงทางการเงิน” เป็นเรื่องสำคัญในชีวิตมนุษย์ทุกคน ถึงจะพูดอย่างงั้น แต่ใช่ว่าทุกจะสามารถทำได้ ด้วยภาระทางเกินเงินที่แตกต่างกัน ปัญหาที่พบเจอจึงไม่เหมือนกัน แต่สิ่งที่ทุกคนสามารถทำได้ง่ายและใกล้ตัวที่สุดนั่นก็คือ “การออมเงิน” เพื่อให้การออมเงินเป็นเรื่องง่ายสำหรับทุกคน วันนี้ Propert4cash ขอแนะนำ 3 แอปออมเงิน ตัวช่วยการออมเงิน เพื่อการทำรายรับ-รายจ่าย ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น เหมาะสำหรับทุกคนมาฝากกันค่ะ  Save Money แอปออมเงิน แอปแรกที่เราแนะนำ แอปฯ บริการรายรับ-รายจ่าย ช่วยควบคุมการเงิน ทำให้มองเห็นภาพรวมการใช้จ่าย ลดการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย สามารถเรียกดูประวัติย้อนหลังได้ วัน/สัปดาห์/เดือน ที่สำคัญ ฟรี! ส่งออกข้อมูลไปยังไฟล์ CSV ฟรี! ระบบสำรองข้อมูล (backup) ได้ด้วยตนเอง ผ่านระบบ ICloud , Google Drive , Dropbox  ดาวโหลด : Andriod / iOS Money+ ตัวช่วยการบันทึกค่าใช้จ่ายอย่างง่ายดาย ออกแบบด้วยสีสันสดใส ใช้งานง่าย สามารถแยกบัญชีหลายประเภทค่าใช้จ่ายหลายรูปแบบ มาพร้อมกับฟีเจอร์แปลงสกุลเงินต่างๆ สามารถใช้แบบออฟไลน์และป้องกันข้อมูลรั่วไหล ดาวโหลด : Andriod / iOS 3.  Piggipo GO ทางเลือกที่เหมาะส […]

อ่านเพิ่มเติม
26
Jun 24
จะจำนอง หรือ ขายฝาก ดี? แบบไหนเหมาะกับเรา

สินเชื่อ จำนอง ขายฝาก เปรียบเสมือนมีดสองคมที่พร้อมตอบโจทย์ความต้องการทางการเงินที่แตกต่างกัน  การเลือกใช้เครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสม เปรียบเสมือนการเลือกอาวุธให้เข้ากับสถานการณ์  เพื่อบรรลุเป้าหมายและลดความเสี่ยง ในบทความนี้ เราจะมาวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ อย่างเจาะลึก ว่า สินเชื่อ จำนอง ขายฝาก เหมาะกับสถานการณ์แบบไหน   ความต้องการเงินทุน ต้องการเงินทุนก้อนใหญ่:  ขายฝากเหมาะกับกรณีนี้มากกว่า เพราะขายฝากจะได้วงเงินสูงกว่า จำนองเหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการนำเงินไปใช้จ่ายก้อนใหญ่ เช่น โปะหนี้ ลงทุน หรือขยายธุรกิจ ต้องการเงินทุนก้อนใหญ่ แต่ต้องการผ่อนชำระระยะยาว: จำนองเหมาะกับกรณีนี้มากกว่า เพราะสินเชื่อจำนองจะผ่อนชำระเป็นรายงวด ระยะเวลาผ่อนชำระยาวนาน เหมาะสำหรับผู้ที่มีรายได้สม่ำเสมอ สามารถวางแผนการเงินระยะยาวได้ เป้าหมายการรักษาความเป็นเจ้าของ ต้องการรักษาความเป็นเจ้าของบ้าน: จำนองเหมาะกับกรณีนี้มากกว่า เพราะผู้กู้ยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในบ้าน แม้จะนำบ้านไปจำนองไว้กับธนาคาร ต้องการขายบ้านในอนาคต: ขายฝากเหมาะกับกรณีนี้มากกว่า เพราะผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่ […]

อ่านเพิ่มเติม
โฉนดติดกรมบังคับคดี ทำจำนอง ขายฝากได้ไหม?
9
Oct 24
โฉนดติดกรมบังคับคดี ทำจำนอง ขายฝากได้ไหม?

การที่ โฉนดติดกรมบังคับคดี นั้นหมายความว่า โฉนดนั้นถูกนำไปใช้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้หรือมีการฟ้องร้อง ซึ่งอาจทำให้มีข้อจำกัดในการทำธุรกรรม เช่น การจำนองหรือการขายฝาก โดยทั่วไปแล้ว หากโฉนดติดกรมบังคับคดี คุณอาจจะไม่สามารถจำนองหรือขายฝากได้โดยตรง เนื่องจากมีการจำกัดสิทธิในทรัพย์สินนั้นๆ การมีโฉนดที่ติดกรมบังคับคดีเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ ก่อนที่จะดำเนินการทำจำนองหรือขายฝาก โดยทั่วไปแล้ว โฉนดที่ติดกรมบังคับคดีหมายถึงว่าทรัพย์สินนั้นถูกใช้เป็นหลักประกันในการชำระหนี้หรือมีการฟ้องร้อง ซึ่งทำให้สิทธิในการทำธุรกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นมีข้อจำกัด การจำนอง: การจำนองคือการทำสัญญาเพื่อให้ผู้กู้สามารถนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันในการกู้เงิน ในกรณีที่โฉนดติดกรมบังคับคดี มักจะไม่สามารถจำนองได้ เนื่องจากธนาคารหรือสถาบันการเงินส่วนใหญ่จะไม่อนุมัติการจำนองในกรณีที่ทรัพย์สินมีปัญหาทางกฎหมายหรือถูกฟ้องร้อง เพราะอาจมีผลกระทบต่อสิทธิในการเรียกร้องหนี้ในอนาคต นอกจากนี้ การจำนองทรัพย์สินที่ติดคดีอาจทำให้เจ้าหนี้เดิมไม่พอใจและอาจดำเนินการทางกฎหมายต่อไปได้ เมื่อโฉนดติดกรมบังคับคดี เจ้าข […]

อ่านเพิ่มเติม