3 วิธี กู้ร่วม ซื้ออสังหาฯ แบบง่ายๆ ของชาว LGBTQ
15
Jun 23

ถึงแม้ว่าทางเลือกในการมีบ้านสักหลังของคู่รัก LGBTQ จะยังมีไม่มากนัก
โดยเฉพาะการกู้ร่วมซื้อบ้าน แต่ใช่ว่าจะไม่มีทางเลือกเลยเพราะปัจจุบัน
มีหลายธนาคารที่เปิดโอกาสให้กลุ่ม LGBTQ กู้ร่วม ซื้อบ้านได้
ลองมาดูรายละเอียดว่าคู่รัก LGBTQ จะต้องทำอย่างไรถึงกู้ร่วมซื้อบ้านได้

#เช็คธนาคารอนุมัติสินเชื่อบ้าน กรณีกู้ร่วมเพศเดียวกัน
ปัจจุบันกลุ่ม LGTBQ ถือเป็นผู้บริโภคที่มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง
จึงมีหลายธนาคารที่สามารถอนุมัติการ กู้ร่วม ของคนกลุ่มนี้ได้ นั่นคือ
– ธนาคารกสิกร
– ธนาคารออมสิน
– ธนาคารธนชาติ
– ธนาคารยูโอบี
– ธนาคารกรุงเทพ
– ธนาคารทหารไทย
– ธนาคารไทยพาณิชย์
– ธนาคารกรุงศรีฯ
– ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด

โดยแต่ละธนาคารจะมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป
แต่คุณสมบัติพื้นฐานของที่ผู้ยื่นกู้ร่วมที่เหมือนกันมีดังนี้
– ผู้กู้เป็นบุคคลธรรมดา สัญชาติไทย
– ผู้กู้อายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปี
– ไม่เคยเป็นลูกหนี้ปรับโครงสร้างหนี้ของสถาบันการเงิน
– หลักฐานว่าคู่ของเราอยู่ร่วมกันจริง เช่น บัญชีเงินฝากที่เปิดร่วมกัน

#ตรวจเอกสารที่ใช้ขอสินเชื่อบ้านสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน
สำหรับเอกสารที่ใช้ในการขออนุมัติสินเชื่อบ้านของกลุ่ม LGBTQ นั้น
เรียกได้ว่าไม่ต่างจากเอกสารกู้บ้านพื้นฐานเลย โดยจะแบ่งเป็น
เอกสารส่วนตัว
– บัตรประชาชน
– ทะเบียนบ้าน
– ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล *ถ้ามี

เอกสารด้านการเงิน
– หนังสือรับรองเงินเดือน
– สลิปเงินเดือนย้อนหลัง 6 เดือน
– บัญชีเงินฝากย้อนหลัง 6 เดือน

เอกสารหลักประกัน
– สำเนาโฉนดที่ดิน หรือสำเนาหนังสือแสดงกรรมสิทธิห้องชุด
– สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย หรือสัญญามัดจำ
– แผนที่แสดงทำเลที่ตั้งของที่ดินหลักประกัน

#เลือกรูปแบบสินเชื่อ ทางลัดที่จะช่วยให้กลุ่ม LGBTQ สามารถกู้ร่วมซื้อบ้านกันง่ายขึ้น
ถึงแม้บางธนาคารจะเอื้อต่อการกู้ร่วมของกลุ่มเพศทางเลือกให้สามารถกู้ร่วมกันได้
แต่ก็ยังมีจำกัดตามเงื่อนไขที่กำหนด ด้วยเหตุนี้ที่ปรึกษาทางด้านการเงินหลายแห่ง
จึงแนะนำทางลัดให้เหล่า LGBTQ ให้กู้ร่วมกันได้ง่ายขึ้น นั่นก็คือการขอสินเชื่อเพื่อธุรกิจหรือ SME
ซึ่งกลุ่มคู่รักเพศเดียวกันสามารถขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านเป็นสถานประกอบการได้
แต่มีช่วงระยะเวลาการกู้นานสุดเพียงแค่ 10 ปีเท่านั้นและมีดอกเบี้ยสูงกว่าสินเชื่อบ้านอีกด้วย

รู้วิธีเตรียมตัวกู้ร่วมผ่านฉลุยฉบับคู่รัก LGBTQ+ กันแล้ว คู่รัก LGBTQ+ คู่ไหนที่ต้องการซื้อบ้านหรือคอนโด
และเตรียมเอกสารพร้อมแล้ว ก็เดินเลิศๆ ไปที่ธนาคารที่ว่ามานี้ได้เลยค่ะ

3 วิธี กู้ร่วม ซื้ออสังหาฯ แบบง่ายๆ ของชาว LGBTQ

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

5 พฤติกรรมต้องห้ามใน การลงทุนอสังหา ไม่อยากขาดทุนห้ามทำ!!
4
Nov 23
5 พฤติกรรมต้องห้ามใน การลงทุนอสังหา ไม่อยากขาดทุนห้ามทำ!!

การลงทุนอสังหา ที่หลายคนเห็นว่าได้กำไรดี บางคนรีบลงทุนก่อนได้ศึกษาข้อมูลให้ละเอียด เพราะหวังว่า จะสามารถกอบโกยกำไรได้อย่างงาม อย่างไรก็ตามเราก็ไม่ควรชะล่าใจเห็นแก่ของถูกเพียงอย่างเดียว เรามาดูกันว่าเราเราจะต้องระวังในเรื่องไหนบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดหรือขาดทุน ก่อนการ การลงทุนอสังหา #จองตามกระแส คอนโดไหนฮอต คนเยอะเราต้องไม่พลาด ปกติแล้วในวัน Presale ของโครงการวันแรกจะมีเหล่าผู้ซื้อและนักลงทุนมาต่อคิวกันมากมาย บางโครงการที่ฮอตจริงๆ มีคนมาต่อคิวกันตั้งแต่เช้าตรู่ หากเราทำตัวตามกระแสรีบจับจองโดยยังไม่ได้ศึกษาข้อมูลมาก่อน อาจทำให้วันนึงเราจะต้องยอมขายขาดทุน  เมื่อโครงการไม่ได้เป็นที่ต้องการหรือ ตรงกับไลฟ์สไตล์ของกลุ่มเป้าหมายมากนัก #ไม่ศึกษาทำเลให้ดี บางคอนโดมีทำเลใกล้รถไฟฟ้าก็จริง แต่รอบข้างกลับไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวกเลย ไม่ว่าจะเป็นโรงพยาบาล โรงเรียน ร้านอาหาร ร้านค้า ฯลฯ ยิ่งไปกว่านั้นบางโครงการกลับแวดล้อมไปด้วยสิ่งแวดล้อมที่เป็นมลพิษ ทั้งมลพิษทางอากาศ เสียง หรือแม้กระทั่งกลิ่น #ไม่ประมาณตนเอง รีบตัดสินใจไม่ดูเครดิต ความสามารถในการกู้ของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันตามฐานะทางการเงิน และเ […]

อ่านเพิ่มเติม
มรดกที่ดิน คืออะไร ใครมีสิทธิรับ และ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?
28
Jun 23
การรับมรดกที่ดิน คืออะไร ใครมีสิทธิรับ และ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?

ที่ดินเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี คนรุ่นเก่าๆ จึงมักชอบซื้อที่ดินเก็บไว้หลายๆ แปลง ไม่ว่าจะซื้อไว้ลงทุนหรือซื้อไว้เป็นที่อยู่อาศัย ที่ดินจึงเป็นมรดกอีกอย่างหนึ่งที่หลายๆ ครอบครัวส่งต่อสืบทอดกันมาแบบรุ่นสู่รุ่น บางคนอาจจะยินดีและดีใจที่ได้รับ แต่ๆๆๆ อย่ามัวแต่ดีใจกันไปนะคะ เพราะเมื่อได้รับมรดกมาแล้ว นั่นหมายถึงการตามมาด้วยการจัดการต่าง ๆ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย  การแบ่งมรดกที่ดินจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรพลาด ลองมาดูกันว่า การรับ มรดกที่ดิน คืออะไร ใครมีสิทธิรับ และ ต้องเตรียมอะไรบ้าง?  การรับ มรดกที่ดิน คือ เมื่อผู้ที่มีชื่อในเอกสารสิทธิเกี่ยวกับที่ดิน (เช่น โฉนดที่ดิน หรือ น.ส. หรือ น.ส.3 ก. หรือ น.ส.3 ข.) ได้ถึงแก่กรรมไป ในทางกฎหมายแล้วที่ดินเหล่านั้นก็จะถือเป็นมรดก ซึ่งจะตกทอดแก่ทายาทของผู้ตายโดยสิทธิตามกฎหมายหรือโดยพินัยกรรมที่เจ้ามรดกทำไว้ สิทธิได้รับมรดกที่ดินจะตกเป็นของใครบ้าง ทางกฎหมายผู้ที่มีสิทธิรับมรดกที่ดินออกเป็น 2 รูปแบบ กฎหมายมรดกที่ดินกำหนดว่า ผู้ได้รับมรดกที่ดินต้องมีสิทธิตามพินัยกรรม ผู้ได้รับมรดกที่ดินโดยสิทธิตามพินัยกรรม หรือผู้รับพินัยกรรม คือผู้ที่เจ้าข […]

อ่านเพิ่มเติม
17
Aug 24
รายละเอียดสัญญาขายฝากที่ดินที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สำหรับผู้รับขายฝาก และผู้ขายฝาก

รายละเอียด สัญญาขายฝากที่ดิน ที่ควรรู้ก่อนทำธุรกรรม สัญญาขายฝากที่ดิน เป็นสัญญาที่มีความสำคัญทางกฎหมายและเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินที่มีมูลค่า การทำความเข้าใจรายละเอียดต่างๆ ก่อนลงนามจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ทั้งผู้รับซื้อฝากและผู้ขายฝากควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ละเอียดก่อนตัดสินใจ สิ่งที่ผู้รับซื้อฝากควรทราบ กรรมสิทธิ์ในที่ดิน: แม้ว่ากรรมสิทธิ์ในที่ดินจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันทีที่ทำสัญญา แต่ผู้ขายฝากยังมีสิทธิไถ่ถอนที่ดินคืนได้ตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ระยะเวลาไถ่ถอน: กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนให้ชัดเจน โดยทั่วไปจะไม่น้อยกว่า 1 ปี และไม่เกิน 10 ปี จำนวนสินไถ่: คือจำนวนเงินที่ผู้ขายฝากต้องชำระเพื่อไถ่ถอนที่ดินคืน โดยจำนวนสินไถ่จะต้องไม่น้อยกว่าราคาที่ซื้อฝาก และดอกเบี้ยที่คิดจากราคาซื้อฝากตามอัตราที่กฎหมายกำหนด (ปัจจุบันไม่เกิน 15% ต่อปี) ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียน: ผู้รับซื้อฝากเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนสัญญาขายฝากที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน ภาษีที่เกี่ยวข้อง: ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ชำระภาษีที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมนี้ครบถ้วนแล้ว การตรวจสอบเอกสาร: ต […]

อ่านเพิ่มเติม