ที่ดินตาบอด จำนอง - ขายฝาก ได้ไหม ?
11
Apr 23

หลายๆ ครั้ง มักจะมีเพื่อนๆ ถามเข้ามาว่า ที่ดินตาบอด สามารถนำมา จำนอง หรือ ขายฝาก ได้หรือเปล่า
บางคนก็ไม่แน่ใจว่าที่ดินที่ตัวเองถือครองอยู่นั้น เป็นที่ดินตาบอดหรือไม่
ก่อนอื่นเลยอยากจะชวนเพื่อนๆ มารู้จักที่ดินตาบอดกันเสียก่อน ว่าหมายถึงที่ดินแบบไหนกัน

ที่ดินตาบอด หมายถึง ที่ดินที่ถูกแปลงอื่นล้อมรอบ ทำให้ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะประโยชน์
ที่เป็นทางที่ใช้สำหรับสัญจรทั้งทางบกและทางน้ำ จำเป็นต้องขอใช้ทางจากที่ดินคนอื่น
โดยการขอแบ่งใช้ทางบนที่ดินคนอื่นนั้น เรามีอยู่ 2 วิธีหลักๆ คือ “ทางจำเป็น” และ “ภาระจำยอม”

  1. ทางจำเป็น

ตามกฎหมายนั้น ให้สิทธิเจ้าของที่ดินในการขอ “ทางจำเป็น” จากที่ดินที่ล้อมรอบอยู่แปลงใดแปลงหนึ่ง
เพื่อใช้เป็นทางออกสู่ทางสาธารณะได้ โดยจะเลือกได้เพียงทางเดียวเท่านั้น
โดยผู้ที่มีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น ต้องเป็น “เจ้าของที่ดิน” ซึ่งถูกปิดล้อมเท่านั้น ผู้เช่าหรือบุคคลอื่นไม่มีสิทธิ

  1. ทางภาระจำยอม

หากมองด้วยตาเปล่า ก็ดูเหมือนจะคล้ายๆ กับทางจำเป็น เพราะว่าเป็นการขอใช้ทางชาวบ้านเขาเหมือนกัน
แต่ ทางภาระจำยอม ก็มีข้อแตกต่างจาก ทางจำเป็น อยู่พอสมควร โดยการได้มาซึ่ง “สิทธิ”
ในการใช้ทางผ่านที่ดินแปลงอื่นนั้น มีอยู่หลักๆ 3 วิธี

  1. การได้มาโดยอายุความ
    หากเรามีการใช้ทางเข้าออกนั้นๆ อย่างเปิดเผยเป็นเวลา 10 ปี โดยไม่มีใครคัดค้าน ใช้มานานจนจะขึ้นคานแล้ว
    ก็ไม่มีใครมาบอกว่า “หยุดนะ! ห้ามใช้ทางเข้าออกนี้” เมื่อครบ 10 ปี โดยอายุความแล้ว
    หมายความว่าเราจะได้สิทธิ ทางภาระจำยอม จากที่ดินแปลงนั้นๆ โดยชอบธรรมนั่นเอง
  2. การได้มาโดยทางนิติกรรม
    คือการที่เราทำข้อตกลงกับเจ้าของที่ดินเพื่อใช้ทาง โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่มีก็ได้แล้วแต่ความเอ็นดู
    ความใจดีของเจ้าของที่นั้นๆ ซึ่งเมื่อได้พูดคุยขอกันเรียบร้อยแล้ว เราและเจ้าของที่ต้องจูงมือกันไปจดทะเบียน
    ต่อหน้าเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดินด้วยนะ หากสัญญากันปากเปล่า จะถือว่า ทางภาระจำยอม นี้ไม่สมบูรณ์
    เพราะฉะนั้นเขาอนุญาตให้ใช้แล้วต้องรีบจด ทางภาระจำยอมจะได้ไม่เป็นภาระในอนาคต
  3. ผลตามกฎหมาย
    หากกรณีที่เราได้รับผลประโยชน์จากภาระจำยอมของผู้อื่น อาทิเช่น ปลูกบ้านเกินพื้นที่เราจนเข้าไปในที่ดินแปลงข้างเคียง
    เราไม่จำเป็นต้องรื้อถอนแต่อย่างใด เราจะได้สิทธิในการใช้ประโยชน์ตรงนั้น
    โดยมีข้อแม้ว่าต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย ในส่วนของที่ตนเองลุกล้ำเข้าไป

แล้วตกลงว่า ที่ดินตาบอด มันจำนองหรือขายฝากได้ไหม..?

คำตอบคือ “ได้” แต่ว่า.. โดยส่วนใหญ่แล้ว นายทุน  ทั้งหลายจะไม่อยากได้ และไม่ค่อยมีนายทุนท่านไหนรับ
หรือหากจะมีก็ตีราคาวงเงินให้ต่ำมาก ต่ำกว่าที่ดินทั่วไปที่มีทางเข้าออกสาธารณะ
เพราะมีความเสี่ยงหากที่ดินนี้ “หลุด” จำนองและขายฝาก ทำให้ยากต่อการขายเพื่อนำเงินมาชดเชยส่วนที่ลงทุนไป
เพราะในการซื้อ-ขาย ปกติเองแล้ว ก็มักจะไม่นิยมซื้อขาย ที่ดินตาบอด เช่นกัน

แต่ก็ใช่ว่านายทุน จะปฏิเสธเสียงแข็งไม่รับเสมอไปนะ มันมีข้อแม้อยู่ว่า
หากเรามีที่ดินตาบอดในครอบครองแล้วต้องการจำนอง หรือขายฝาก

เราก็เพียงแค่ขอ “ทางจำเป็น” หรือ “ทางภาระจำยอม” ให้ถูกต้อง มีลายลักษณ์อักษรมายืนยันกับนายทุน
เพื่อให้เขาสบายใจว่า หากเกิดเหตุสุดวิสัยขึ้นมาแล้ว เขาจะต้องทำอย่างไร จะหาทางออกยังไงกับที่ดินที่ไม่มีทางออกนี้กัน

หากเพื่อนๆสนใจ จำนอง ขายฝาก ติดต่อเราได้เลย

ที่ดินตาบอด จำนอง - ขายฝาก ได้ไหม ?

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

 

 

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

6
Jul 24
อย่าลืม!! ชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ใกล้หมดเวลาเต็มทีแล้วสำหรับการชำระ ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง สำหรับใครที่มีอสังหาริมทรัพย์และยังไม่ได้ชำระ ต้องรีบแล้วนะคะ เพราะกำหนดการ ชำระภาษี จะสิ้นสุดภายใน 31 กรกฎาคม นี้แล้วนะคะ รีบชำระก่อนจะโดนค่าปรับนะคะ หรือหากใครที่เพิ่งซื้อคอนโดหรืออสังหาริมทรัพย์ และไม่รู้ว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างคืออะไร ต้องชำระที่ไหน อย่างไร และไม่รู้ว่ามีเกณฑ์ชำระอย่างไร ไม่ต้องกังวลไปนะคะ วันนี้เรามีคำตอบมาให้แล้วค่ะ ภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างคืออะไร ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้ที่มีกรรมสิทธิ์หรือครอบครองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ เช่น บ้าน ที่พักอาศัย อาคารพาณิชย์ และอาคารอื่น ๆ โดยมีจุดประสงค์เพื่อสร้างรายได้ให้กับรัฐและท้องถิ่นในการนำไปพัฒนาสาธารณูปโภคและบริการสาธารณะ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีการคำนวณตามมูลค่าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยมีอัตราภาษีที่แตกต่างกันตามประเภทของการใช้ประโยชน์จากที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เช่น ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพื่อการเกษตร ที่อยู่อาศัย พาณิชย์ และอื่น ๆ สามารถชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้ที่ไหน การชำระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างสามา […]

อ่านเพิ่มเติม
13
Sep 24
10 คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการขายฝาก

ขายฝากคืออะไร? คำตอบ: ขายฝากคือข้อตกลงทางการเงินที่เจ้าของทรัพย์สิน (ผู้ขายฝาก) นำทรัพย์สินของตนไปขายให้กับอีกฝ่าย (ผู้ซื้อฝาก) แต่ยังคงสิทธิบางประการในการใช้หรือครอบครองทรัพย์สินนั้น โดยผู้ขายฝากจะมีสิทธิเก็บคืนทรัพย์สินหลังจากชำระเงินตามที่ตกลงกันไว้ในระยะเวลาที่กำหนด   ข้อแตกต่างระหว่างขายฝากและการจำนองคืออะไร? คำตอบ: การขายฝากและการจำนำทั้งสองเป็นวิธีการที่ใช้ทรัพย์สินเป็นหลักประกัน แต่มีความแตกต่างที่สำคัญ: ขายฝาก: ผู้ขายฝากโอนกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินให้กับผู้ซื้อฝาก แต่สามารถซื้อคืนได้ตามเงื่อนไขที่ตกลงกันไว้ การจำนอง: ผู้จำนองส่งมอบทรัพย์สินให้กับผู้รับจำนองเพื่อเป็นหลักประกัน แต่ยังคงกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น และสามารถนำทรัพย์สินนั้นคืนได้เมื่อชำระหนี้ครบถ้วน   การขายฝากมีข้อดีข้อเสียอย่างไร? คำตอบ: ข้อดี: สามารถใช้ทรัพย์สินที่มีค่าเพื่อรับเงินทุนโดยไม่ต้องขายทรัพย์สินออกไป มีโอกาสซื้อคืนทรัพย์สินในอนาคตตามเงื่อนไขที่ตกลง ข้อเสีย: ผู้ขายฝากอาจสูญเสียทรัพย์สินหากไม่สามารถซื้อคืนได้ตามกำหนด มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการจัดการเอกสารและค่าธรรมเนียม ขั้นตอนในการขายฝากเป็นอย่างไ […]

อ่านเพิ่มเติม
รีไฟแนนซ์ Retention ต่างกันอย่างไร?
26
May 23
Retention กับ Refinance ต่างกันอย่างไร?

เมื่อผ่อนบ้านมาได้สักระยะหนึ่งแล้วหลายคนก็เริ่มที่จะหาทางทำให้ดอกเบี้ยนั้นลดลง ซึ่งวิธีการที่เราคุ้นเคยกันนั้นคือการ รีไฟแนนซ์ แต่ยังมีอีกหนึ่งวิธีที่ง่ายและสะดวกกว่ามาก คือการ Retention แล้วทั้ง 2 วิธีนี้แตกต่างกันอย่างไร มาดูกันเลยค่ะ Retention เป็นการติดต่อขอลดอัตราดอกเบี้ยกับธนาคารเดิม ในขณะที่ รีไฟแนนซ์ เป็นการนำที่อยู่อาศัยที่ผู้กู้ผ่อนชำระอยู่ มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน เพื่อขอสินเชื่อใหม่มาปิดหนี้ยอดเงินกู้เดิมที่ยังเหลืออยู่ ทำให้หนี้ของเรากับเจ้าหนี้ ซึ่งก็คือ ธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิมนั้นสิ้นสุดลง พร้อม ๆ กับการเกิดขึ้นของหนี้ใหม่กับธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ ซึ่งข้อแตกต่างสามารถแบ่งได้ตามนี้ #สถาบันการเงิน Retention จะใช้ธนาคารหรือสถาบันการเงินเดิม ไม่ต้องหาสถาบันการเงินใหม่ Refinance จะต้องหาธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ #การเตรียมเอกสาร Retention ไม่ต้องยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร เนื่องจากธนาคารสามารถใช้เอกสารเดิมหลายฉบับที่ผู้กู้ใช้ยื่นขอสินเชื่อ Refinance เนื่องจากเป็นธนาคารหรือสถาบันการเงินใหม่ จึงต้องมีการเตรียมเอกสารใหม่ทั้งหมด #ระยะเวลาอนุมัติ Retention เนื่องจากมีข้อ […]

อ่านเพิ่มเติม