EIA คืออะไร อนุมัติแล้วยกเลิกได้ไหม?
21
Jun 23

หลายๆ คนอาจจะสงสัยว่าสัญลักษณ์หรือคำว่า “EIA Approved” บนป้ายโฆษณาคอนโดคืออะไร
สำคัญยังไงเวลาเราจะเลือกซื้อคอนโด ซึ่งหากคุณเตรียมจะหาซื้อบ้านสักหลัง คอนโดมิเนียมสักห้อง
ก็ควรจะให้ความสำคัญกับ EIA ไว้สักหน่อย
วันนี้เราลองมาทำความเข้าใจเรื่องของEIA กับโครงการที่อยู่อาศัยว่าจะมีบทบาทและความสำคัญยังไงกันค่ะ

EIA ย่อมาจาก Environmental Impact Assessment Report หรือการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
ที่จะเกิดขึ้นเวลาที่มี Developer ตั้งใจจะสร้างโครงการขึ้นมาสักโครงการหนึ่ง
ว่าโครงการนั้นจะกระทบกับชีวิตและความเป็นอยู่ของผู้คนที่อยู่รอบ ๆ โครงการไหม
จะทำให้วิถีชีวิตของคนในชุมชน รวมถึงผู้คนที่ต้องใช้อาคารข้างเคียง ดีขึ้นหรือแย่ลงยังไง
ทั้งในระหว่างทำการก่อสร้างและหลังจากการก่อสร้างเสร็จสิ้น
ซึ่งรายงานวิเคราะห์ผลกระทบ หรือEIA จะดูทั้งหมด 4 ด้าน คือ
– ทรัพยากรกายภาพ เป็นการศึกษาถึงผลกระทบ
เช่น ดิน น้ำ อากาศ เสียง ว่าจะมี การเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
– ทรัพยากรชีวภาพ การศึกษาถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ที่มีต่อระบบนิเวศน์
เช่น ป่าไม้ สัตว์ป่า สัตว์น้ำ ปะการัง เป็นต้น
– คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์ เป็นการศึกษาถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทั้งทางกายภาพ
และชีวภาพของมนุษย์ เช่น การใช้ประโยชน์ที่ดิน
– คุณค่าต่อคุณภาพชีวิต จะเป็นการศึกษาถึงผลกระทบที่จะเกิดต่อมนุษย์ ชุมชน ระบบเศรษฐกิจ
การประกอบอาชีพ วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ ค่านิยม รวมถึงทัศนียภาพ คุณค่า ความสวยงาม

แล้วโครงการแบบไหนบ้างที่ต้องยื่นขอEIA ?
ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 46
ได้กล่าวไว้ว่าโครงการที่จะต้องยื่นขอEIA ก่อนดำเนินการก่อสร้างจะต้องมีลักษณะดังนี้
– โครงการคอนโดมิเนียมตั้งแต่ 80 ยูนิตขึ้นไป หรือ มีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 4,000 ตร.ม. ขึ้นไป
– โครงการบ้านจัดสรรที่มีจำนวนที่ดินแปลงย่อยตั้งแต่ 500 แปลง หรือเนื้อที่เกินกว่า 100 ไร่

ซึ่งถ้าโครงการไหนทำรายงานEIA ไม่ผ่าน ก็จะไม่ได้รับใบอนุมัติให้ก่อสร้าง
จะต้องทำรายงานอีกรอบจนกว่าจะผ่าน โดยอาจจะมีการปรับเปลี่ยนแปลนอาคาร
เปลี่ยนรูปแบบอาคาร เปลี่ยนจุดประสงค์ในการใช้งานด้วยเมื่อผ่านแล้วถึงจะดำเนินการสร้างได้

หากมีการอนุมัติEIA สามารถโดนยกเลิกได้หรือไม่?

นี่เป็นคำถามที่หลายๆ คนอาจจะสงสัยและกังวลใจเวลาจะซื้อคอนโดสักห้องหนึ่ง
วันนี้เราจะมาคำถามข้อนี้ให้ทุกคนได้ทราบกันค่ะ
EIAเมื่ออนุมัติแล้ว “สามารถ” ถูกเพิกถอนหรือยกเลิกได้ หากมีการฟ้องร้องและศาลตัดสินว่าผิดจริง
ยกตัวอย่างเช่น คอนโดแห่งหนึ่งใจกลางสาทร ที่ได้รับใบอนุมัตEIA เรียบร้อยแล้ว
“แต่” มีการร้องเรียนจากโครงการใกล้เคียงในเรื่องของการ “จัดทำรายงานเท็จ”
ซึ่งหากในภายหลังได้รับการพิสูจน์พบว่ารายงานดังกล่าวเป็นเท็จ
คชก.สามารถนำข้อเท็จจริงดังกล่าวมาใช้ในการยกเลิกมติให้ความเห็นชอบรายงานโครงการฯ ได้
ซึ่งหากโดนยกเลิกEIA แล้วทางโครงการจะไม่สามารถดำเนินการสร้างต่อไปได้

แต่ในกรณีที่โดนยกเลิกEIA อาจจะมีให้เห็นกันไม่มากนักเพราะโดยส่วนใหญ่แล้ว
ทางเจ้าของโครงการจะยอมปรับผังการสร้างเพื่อให้สอดคล้องกับEIA จะได้ดำเนินการสร้างต่อไปได้
เพราะการสร้างโครงการนั้นมีมูลค่าค่อนข้างสูง ยอมปรับนิดๆ หน่อย ดีกว่ายอมฝืนไปแล้วเจ็บหนักแน่นอนค่ะ

อ่านมาถึงตรงนี้หลายคนอาจจะเข้าใจเกี่ยวกับEIA มากขึ้นแล้ว หากจะซื้อคอนโดสักห้องก็อย่าลืมเช็คดูนะคะ
จะได้ไม่มีปัญหาให้ต้องหนักใจกันในภายหลัง สำหรับใครที่อยากจะเช็คดูว่ามีโครงการไหนบ้างที่ผ่านEIA แล้ว
สามารถเข้าไปเช็คได้ที่  http://eia.onep.go.th เช็คให้ชัวร์ก่อนตัดสินใจกันไปเลยค่ะ
หรือหากใครไม่อยากเช็คเองหรือกลัวเช็คแล้วไม่ชัวน์ สามารถสอบถามนายหน้าคอนโดได้เลยนะคะ
รับรองว่าต้องได้รับคำตอบอย่างแน่นอนค่ะ

EIA คืออะไร อนุมัติแล้วยกเลิกได้ไหม?

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม ซื้อ-ขายได้ไหม
17
Dec 24
ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม สามารถซื้อ-ขายได้หรือไม่?

>>> ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม สามารถซื้อ – ขายได้หรือไม่?  ที่ดินติดภาระจำยอม เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อ – ขายที่ดิน ให้ความสำคัญ และนำมาพิจารณาในการตัดสินใจซื้อ – ขาย เป็นอันต้นๆ แล้วทำไมที่ดินติดภาระจำยอมถึงมีผลต่อการตัดสินใจขนาดนี้ วันนี้ Property4Cash สรุปมาให้แล้ว… ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจ คำว่า ภาระจำยอม คืออะไร? ภาระจำยอม คือ สิทธิทางกฎหมายที่ให้บุคคลหนึ่งมีสิทธิใช้ทรัพย์สินของอีกบุคคลหนึ่ง โดยทรัพย์สินที่ถูกใช้ในลักษณะนี้เรียกว่า “ทรัพย์สินที่ติดภาระจำยอม” เช่น ทางผ่าน, ทางเข้า-ออก, การใช้แหล่งน้ำ หรือการเดินสายไฟฟ้าผ่านที่ดิน เป็นต้น    ภาระจำยอม จะต้องถูกบันทึกไว้ในโฉนดที่ดิน และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และคำถามที่ว่า… ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม สามารถซื้อ – ขายได้หรือไม่? คำตอบคือ สามารถทำได้ แต่มีเงื่อนไขที่คุณต้องคำนึงถึง การซื้อ-ขายที่ดิน ที่ติดภาระจำยอมนั้นจะต้องมีการแจ้งให้ผู้ซื้อทราบถึงภาระจำยอมที่มีอยู่บนที่ดิน การแจ้งนี้ถือว่าเป็นการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจได้ว่าต้องการซื้อที่ดินดังกล่าวหรือไม่ […]

อ่านเพิ่มเติม
ทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์ ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม
25
Oct 24
การทำนิติกรรม ใครเป็นคนจ่าย ค่าธรรมเนียมการขายฝาก

เมื่อคุณตัดสินใจขายฝากทรัพย์ หรือ ทำนิติกรรมขายฝาก คำถามที่หลายคนยังคงสงสัย คือ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ใครเป็นคนจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรม? เดี๋ยววันนี้จะมาไขข้อสงสัยให้ทุกคนกันค่ะ ก่อนอื่นเลยมาทำความรู้จักกับคำว่า ขายฝาก กันก่อนค่ะ การขายฝาก คือ การเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่ถูกกฎหมาย มีกฎหมายคุ้มครองทั้งผู้ขายฝากและผู้รับซื้อฝาก(นักลงทุน) โดยการขายฝาก คือ การซื้อขายทรัพย์สินอย่างหนึ่งที่กรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้ซื้อฝากทันทีที่มีการทำสัญญา แต่มีเงื่อนไขตกลงว่าผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ภายในระยะเวลาที่กำหนดและวงเงินที่ตกลงกัน โดยจะมีค่าธรรมเนียมในการขายฝากทรัพย์ และค่านิติกรรมอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทำธุรกรรมนั้นๆ    ทำไมต้องจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียม:  การจ่ายค่าภาษี และ ค่าธรรมเนียมการขายฝาก ในการทำนิติกรรมขายฝากทรัพย์มีความสำคัญ ดังนี้ ปฏิบัติตามกฎหมาย การจ่ายค่าภาษีและค่าธรรมเนียมเป็นข้อบังคับตามกฎหมายที่ช่วยให้การทำธุรกรรมเป็นไปตามข้อกำหนดและถูกต้องตามหลักกฎหมาย บันทึกข้อมูลทางการ ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนช่วยให้การขายฝากทรัพย์สินถูกบันทึกในระบบทะเบียนอย่างเป็นทางก […]

อ่านเพิ่มเติม
มาตรการ LTV
15
May 25
สรุป! มาตราการลดค่าโอน และ มาตราการ LTV

          ในปี 2568 ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยยังคงเผชิญกับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น และกำลังซื้อที่ลดลง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จึงมีการปรับมาตรการสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย หรือที่รู้จักกันในชื่อ มาตรการ LTV  (Loan-to-Value) เพื่อกระตุ้นการซื้อ-ขายในตลาดบ้านและคอนโด             ผู้สนใจลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ บ้านมือ 1 หรือบ้านมือ 2 ต้องรู้บ้าง? ว่าในปีนี้มีมาตรการที่เป็นประโยชน์ต่อคุณเยอะมาก เพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในการซื้อขายที่อยู่อาศัย โดยจะมี 2 มาตรการที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อทุกคน ได้แก่ “การผ่อนปรนมาตรการ LTV” และ “มาตรการลดค่าธรรมเนียมการโอนบ้านและจดจำนองที่ดิน” ที่คุณมีแต่ได้กับได้ทั้งนั้น   ทำความรู้จักกับ LTV           LTV (Loan-to-Value Ratio) คือ อัตราส่วนระหว่างวงเงินที่ธนาคารอนุมัติให้กู้ กับมูลค่าหลักทรัพย์ที่นำมาจำนอง (เช่น บ้านหรือคอนโด) โดยทั่วไป LTV ใช้ในการควบคุมความเสี่ยงของสถาบันการเงิน และเป็นเครื่องมือหนึ่งในการควบคุมความร้อนแรงของตลาดอสังหาริมทรัพย์ 🔍 ตัวอย่าง: ถ้าคุณต้องการซื้อคอนโดราคา 3 ล้านบาท แล้วธนาคารให้กู้ 2.7 […]

อ่านเพิ่มเติม