วิธีคำนวนค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ
25
Jan 23

วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ

ได้รู้จักกันไปแล้วว่าการจำนอง-ขายฝาก คือการทำนิติกรรมอะไร มีเงื่อนไข
มีขั้นตอน มีผลตอบแทนที่จะได้รับเท่าไหร่บ้าง แต่นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวไปในข้างต้นนั้น
ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรรู้นั่นก็คือ “ค่าใช้จ่าย” ทั้งหลาย โดยเฉพาะในส่วนของ
ค่าธรรมเนียมในการทำจำนอง และ ค่าธรรมเนียม ขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน

วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียมสำหรับการจำนอง

  1. ค่าธรรมเนียมคำขอจดจำนอง แปลงละ 5 บาท
  2. ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง (แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท)
  3. ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินจำนอง (แต่ต้องไม่เกิน 10,000 บาท)


ตัวอย่าง : วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียม จำนองที่ดิน ยอดจำนอง 3,000,000 บาท

ประเภทค่าธรรมเนียมวิธีคำนวณมูลค่า
ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท5 บาท
ค่าจดจำนอง3,000,000 x 1%30,000 บาท
ค่าอากรแสตมป์3,000,000 x 0.05%1,500 บาท
รวม31,500 บาท

หมายเหตุ: ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ

ค่าธรรมเนียมสำหรับการขายฝาก

1. ค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมินกรมที่ดิน

2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คำนวณจากราคาประเมินกรมที่ดิน

  • ต้องทราบจำนวนปีที่ถือครอง และราคาประเมินจากกรมที่ดินเสียก่อน จึงจะคำนวณภาษีได้
    ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานถือดินเป็นผู้คำนวณให้ได้ โดยเฉลี่ยจะตกอยู่ที่ประมาณ 1-3%

3. ภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมินกรมที่ดิน หรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า

  • ในข้อนี้จะเป็นค่าธรรมเนียมสำหรับผู้ที่ถือครองอสังหาริมทรัพย์นั้นๆ มาน้อยกว่า 5 ปี
    โดยดูจากวันที่รับโอนหลังโฉนด หรือ หากเจ้าของบ้านย้ายทะเบียนบ้านมาเข้าอยู่มากกว่า 1 ปี
    จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ)

4. ค่าอากรแสตมป์ 0.5% จากราคาประเมินกรมที่ดินหรือราคาขายฝาก ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า

  • โดยในข้อนี้ หากใครเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียค่าอากรแสตมป์

ตัวอย่าง : วิธีการคำนวณ ค่าธรรมเนียม ขายฝาก

กรณีที่ 1 – เจ้าของซื้อที่ดินนี้มาเป็นระยะเวลา 3 ปี ต้องการนำที่ดินมาขายฝาก
ในราคา 3,000,000 บาท โดยที่ราคาประเมินของกรมที่ดินอยู่ที่ 2,000,000 บาท

ประเภทค่าธรรมเนียมวิธีคำนวณมูลค่า
ค่าธรรมเนียม2,000,000 x 2%40,000 บาท
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ประมาณ)2,000,000 x 1%20,000 บาท
ภาษีธุรกิจเฉพาะ3,000,000 x 3.3%99,000 บาท
ค่าอากรแสตมป์ไม่เสีย0 บาท
รวม159,000 บาท

หมายเหตุ: ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ

กรณีที่ 2 – เจ้าของซื้อที่ดินนี้มาเป็นระยะเวลา 6 ปี ต้องการนำที่ดินมาขายฝาก
ในราคา 3,000,000 บาท โดยที่ราคาประเมินของกรมที่ดินอยู่ที่ 2,000,000 บาท

ประเภทค่าธรรมเนียมวิธีคำนวณมูลค่า
ค่าธรรมเนียม2,000,000 x 2%40,000 บาท
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ประมาณ)2,000,000 x 3%60,000 บาท
ภาษีธุรกิจเฉพาะไม่เสีย0 บาท
ค่าอากรแสตมป์3,000,000 x 0.515,000 บาท
รวม115,000 บาท

หมายเหตุ: ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ

นอกจากค่าใช้จ่ายวันทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินในครั้งแรกแล้ว
ยังมีจุดที่นายทุนหลายๆ เจ้ามักไม่ได้แจ้งให้เจ้าของทรัพย์ทราบคือ
การทำจำนอง-ขายฝากยังมีค่าใช้จ่ายในวัน “ไถ่ถอน” ด้วยเช่นกัน
ทำให้เจ้าของทรัพย์ไม่ได้เตรียมการ ไม่ได้ตั้งตัวในการบริหารเงินเพื่อรองรับค่าใช่จ่ายนี้มาก่อน

ค่าธรรมเนียมไถ่ถอนจำนอง

  1. ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท
  2. ค่าจดทะเบียนประเภทไม่มีทุนทรัพย์ แปลงละ 50 บาท

ตัวอย่าง : วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียมไถ่ถอนจำนองที่ดิน ยอดจำนอง 3,000,000 บาท

ประเภทค่าธรรมเนียมวิธีคำนวณมูลค่า
ค่าคำขอแปลงละ 5 บาท5 บาท
ค่าจดทะเบียนประเภทไม่มีทุนแปลงละ 50 บาท50 บาท
รวม55 บาท

หมายเหตุ: ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ

 

ค่าธรรมเนียมไถ่ถอนขายฝาก

  1. ค่าธรรมเนียมแปลงละ 50 บาท
  2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่่จ่าย- คำนวณตามระยะเวลาถือครองตั้งแต่วันที่ได้มีการทำขายฝากถึงวันที่จดทะเบียนไถ่ถอน
    โดยเฉลี่ยจะตกอยู่ที่ประมาณ 2-3% ซึ่งเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดินเป็นผู้คำนวณให้ได้
  3. อากรแสตมป์ 0.5% จากราคาประเมินกรมที่ดิน หรือค่าสินไถ่ ขึ้นอยู่ว่าราคาใดสูงกว่า

ตัวอย่าง : วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียม ขายฝากที่ดินราคา  3,000,000 บาท
มีราคาประเมินจากกรมที่ดินอยู๋ที่ 2,000,000 บาท โดยมีกำหนดค่าสินไถ่ในสัญญาไว้ที่ 3,450,000 บาท

ประเภทค่าธรรมเนียมวิธีคำนวณมูลค่า
ค่าธรรมเนียมแปลงละ 50 บาท50 บาท
ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย (ประมาณ)2,000,000 x 2%40,000 บาท
ภาษีธุรกิจเฉพาะไม่เสีย0 บาท
ค่าอากรแสตมป์3,450,000 x 0.5%17,250 บาท
รวม55,300 บาท

หมายเหตุ
: ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ
: ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย เป็นการคำนวณแบบประมาณการเท่านั้น

 

มาถึงบรรทัดนี้แล้ว หากคุณกำลังปวดหัวกับวิธีคำนวณ เห็นตัวเลขแล้วไมเกรนขึ้น ปกติถนัดแต่นับเงิน
เรามีอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะทำให้การคำนวณค่าธรรมเนียมของคุณเป็นเรื่องง่ายขึ้นมาแนะนำ
นั่นคือ ระบบให้บริการประชาชนในการคำนวณภาษีอากร” ทางเว็บไซต์กรมที่ดิน
คุณสามารถเข้าไปกรอกข้อมูล ทาง http://lecs.dol.go.th/rcal และให้ระบบช่วยคำนวณได้เช่นกัน

ทั้งหมดนี้เป็นค่าธรรมเนียมที่เกิดขึ้น ณ สำนักงานที่ดิน
แต่ยังไม่ใช่ค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่ผู้จำนอง-ขายฝากต้องจ่าย ยังมีในส่วนของ “ค่าดำเนินการ”
ที่แล้วแต่ทางนายทุน ผู้รับจำนอง ผู้รับซื้อฝากจะเรียกเก็บแตกต่างกันไป
อาทิเช่น ค่าปากถุง หรือค่าใช้จ่ายในการหักดอกเบี้ยล่วงหน้า 2-3 เดือน

หากคุณตัดสินใจแล้วว่าจะทำจำนอง-ขายฝาก มีความจำเป็นต้องใช้เงินด่วนจริงๆ
ก็ขอให้เลือกนายทุนที่คิดค่าใช้จ่ายอย่างเป็นธรรม ถูกต้องตามกฎหมาย
จะได้ไม่ต้องเสียดอกเบี้ยแบบขูดเลือดขูดเนื้อให้ช้ำอกช้ำใจ

วิธีคำนวนค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง 

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

21
Oct 24
ธุรกิจขายตรง และ กลโกงแชร์ลูกโซ่ ต่างกันอย่างไร? มีบทลงโทษความผิดตามกฎหมายอย่างไรบ้าง?

ทำไม “ขายตรง (แอบแฝง) แชร์ลูกโซ่” ไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย ก็ยังมีอยู่ในสังคมไทย จนถูกหลอกให้หลงเชื่อ วันนี้ Property4Cash ขอมาแชร์ความแตกต่างของ ธุรกิจขายตรง และแชร์ลูกโซ่ เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพกันค่ะ กลายเป็นกระแสสังคมอีกครั้ง เมื่อธุรกิจขายตรง (Direct Selling) อย่าง “ดิไอคอนกรุ๊ป” ถูกตั้งข้อสงสัยว่าเป็น “แชร์ลูกโซ่ (Pyramid Scheme หรือ Ponzi Scheme)” จากผู้ที่ต้องการเริ่มต้นชีวิตนักธุรกิจขายตรง สู่ เหยื่อขบวนการแชร์ลูกโซ่จริงหรือไม่? ระวังตกเป็นหยื่อ ถ้ายังไม่เข้าใจความต่าง? ธุรกิจขายตรง คือ เน้นขายสินค้าส่งถึงมือลูกค้าโดยไม่ผ่านร้านค้า ธุรกิจขายตรง คือ การขายสินค้า หรือ บริการในลักษณะขายตรงต่อผู้บริโภค ณ ที่อยู่อาศัย หรือ สถานที่ ที่ไม่ใช่ร้านค้า โดยขายผ่านตัวแทนขายตรง หรือ ผู้ขายอิสระ ถึงลูกค้าเลย แปลง่ายกว่านั้นคือ การขายสินค้าให้ลูกค้าตรงๆ โดยไม่ผ่านร้านค้าตัวกลาง หากจะประกอบธุรกิจขายตรง ต้องยื่นจดทะเบียนประกอบธุรกิจกับ สคบ. และจะมีการรับรองตามกฎหมาย และ เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับ TDSA หรือสมาคการขายตรงไทย ในกฏระบุชัดว่า… กิจการขายตรงที่เข้าร่วมเป็ […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม ซื้อ-ขายได้ไหม
17
Dec 24
ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม สามารถซื้อ-ขายได้หรือไม่?

>>> ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม สามารถซื้อ – ขายได้หรือไม่?  ที่ดินติดภาระจำยอม เป็นสิ่งที่ผู้ซื้อ – ขายที่ดิน ให้ความสำคัญ และนำมาพิจารณาในการตัดสินใจซื้อ – ขาย เป็นอันต้นๆ แล้วทำไมที่ดินติดภาระจำยอมถึงมีผลต่อการตัดสินใจขนาดนี้ วันนี้ Property4Cash สรุปมาให้แล้ว… ก่อนอื่นต้องมาทำความเข้าใจ คำว่า ภาระจำยอม คืออะไร? ภาระจำยอม คือ สิทธิทางกฎหมายที่ให้บุคคลหนึ่งมีสิทธิใช้ทรัพย์สินของอีกบุคคลหนึ่ง โดยทรัพย์สินที่ถูกใช้ในลักษณะนี้เรียกว่า “ทรัพย์สินที่ติดภาระจำยอม” เช่น ทางผ่าน, ทางเข้า-ออก, การใช้แหล่งน้ำ หรือการเดินสายไฟฟ้าผ่านที่ดิน เป็นต้น    ภาระจำยอม จะต้องถูกบันทึกไว้ในโฉนดที่ดิน และต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน และคำถามที่ว่า… ที่ดิน(ถนน)ติดภาระจำยอม สามารถซื้อ – ขายได้หรือไม่? คำตอบคือ สามารถทำได้ แต่มีเงื่อนไขที่คุณต้องคำนึงถึง การซื้อ-ขายที่ดิน ที่ติดภาระจำยอมนั้นจะต้องมีการแจ้งให้ผู้ซื้อทราบถึงภาระจำยอมที่มีอยู่บนที่ดิน การแจ้งนี้ถือว่าเป็นการเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญ เพื่อให้ผู้ซื้อสามารถตัดสินใจได้ว่าต้องการซื้อที่ดินดังกล่าวหรือไม่ […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดินมือเปล่า มีโอกาสได้โฉนดไหม?
4
Dec 24
อัพเดท! ที่ดินมือเปล่ามีโอกาสได้โฉนดไหม?

>>> ฮัลโหลทุกคน Property4Cash มาอัพเดท! ข้อมูลให้แล้ว สำหรับคำถามที่ว่า… ที่ดินมือเปล่า มีโอกาสได้โฉนดมั๊ย?  ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจคำว่า ที่ดินมือเปล่า คืออะไรกันก่อน โดยคำว่า “ที่ดินมือเปล่า” คือ ที่ดิน ที่ไม่มีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดิน เช่น ที่ดินไม่มีโฉนด เป็นต้น และเจ้าของที่ดินดังกล่าว มีเพียงสิทธิครอบครอง แต่หากจะซื้อที่ดินมือเปล่า จะต้องพิจารณาดูตามกฎหมาย  ในทางฎหมายที่ดินมือเปล่า ก็นับเป็นอสังหาริมทรัพย์ชนิดหนึ่ง การโอนที่ดินมือเปล่านั้นก็ต้องทำตามกฎหมายก็คือ ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อหน้าเจ้าหน้าที่ ไม่เช่นนั้นถือเป็นโมฆะ ฟ้องร้องบังคับคดีกันไม่ได้ แต่หาก ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้วว่า… การโอนที่ดินนี้ ไม่เป็นไปตามรูปแบบของกฎหมาย การโอนที่ดินจะตกเป็นโมฆะทันที  และในกรณีของการโอนที่ดินมือเปล่านั้น นับว่าเป็นการโอนที่สมบูรณ์ เพราะการโอนที่ดินมือเปล่า เป็นเพียงแค่ส่งมอบการครอบครองเท่านั้น  โดยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1378 “การโอนไปซึ่งการครอบครองนั้น ย่อมทำได้โดยส่งมอบทรัพย์สิน ที่ครอบครอง” เหตุเพราะที่พิพาทนั้นเป็นที่ดินมือเปล่า ผู้ขายมีเพียงสิทธิครอบครอง ใ […]

อ่านเพิ่มเติม