รีไฟแนนซ์คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?
7
Apr 23

มนุษย์เงินเดือนแบบเรามักได้ยินคำว่า “รีไฟแนนซ์” อยู่บ่อยๆ แต่เชื่อว่ามีเพื่อนๆ จำนวนไม่น้อยไม่เข้าใจว่าคืออะไร
หากเพื่อนๆยังสงสัย ไม่เข้าใจว่าการรีไฟแนนซ์บ้านคืออะไร? มีขั้นตอน ข้อดีและประโยชน์อย่างไรบ้าง
บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจเรื่องรีไฟแนนซ์บ้านให้มากขึ้น

รีไฟแนนซ์ คือ

การเปลี่ยนเจ้าหนี้ เป็นการที่เราไปขอกู้เงินใหม่อีกก้อนหนึ่งเพื่อนำมาชำระหนี้ก้อนเดิม
ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะทำกับการกู้ซื้อบ้าน คอนโดและรถยนต์เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่าย
ในการผ่อนชำระหนี้สินเชื่อก้อนเดิม และจ่ายส่วนของดอกเบี้ยลดลงเพราะได้รับการลดอัตราดอกเบี้ย

ที่สำคัญคือในการทำเรื่องขอรีไฟแนนซ์ครั้งใหม่นี้ จะได้รับข้อเสนอในการผ่อนชำระที่ดีกว่าสินเชื่อเดิม
และอาจจะได้ระยะเวลาในการผ่อนที่ยาวขึ้นโดยคนส่วนใหญ่มักจะไปขอรีไฟแนนซ์หลังจากได้ผ่อนชำระครบ 3 ปี

วิธีขอรีไฟแนนซ์บ้าน

  1. ตรวจสอบสัญญากู้เดิม
    ก่อนการยื่นเรื่องรีไฟแนนซ์บ้าน ต้องทำการติดต่อขอเอกสารสรุปยอดหนี้ทั้งหมดจากธนาคารเก่า
    เพื่อเป็นการสรุปรายละเอียด เช่น จำนวนเงินที่กู้ ระยะเวลาที่ชำระไปแล้ว เหลือเวลาที่ต้องผ่อนชำระอีกกี่ปี
    หลังจากนั้นให้นำเอกสารนี้ไปยื่นที่ธนาคารใหม่ที่เลือกไว้
  2. เลือกธนาคารใหม่ที่ตอบโจทย์
    การเลือกกู้สินเชื่อกับธนาคารใหม่จะทำให้ได้ดอกเบี้ยในอัตราที่น้อยลง โดยสามารถทำการหาข้อมูล
    และเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยได้จากหลายๆ ธนาคาร เพื่อนำมาประกอบการตัดสินใจ
    ซึ่งธนาคารหลายๆ แห่งก็จะมีโปรโมชั่นดอกเบี้ยให้ได้เลือกแบบจุใจ โดยอัตราต่ำสุดจะอยู่ที่ 2.39%-2.89%
    แต่ทั้งนี้ ในการเลือกกู้สินเชื่อกับธนาคารใหม่ ก็ต้องนำรายละเอียดอื่นๆ ในข้อกำหนดและเงื่อนไขมาพิจารณาด้วยก่อนการตัดสินใจ
  1. เตรียมเอกสาร
  • สำเนาทะเบียนบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้านทุกหน้า
  • ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล
  • ทะเบียนสมรส (กรณีกู้ร่วม)
  • สลิปเงินเดือนล่าสุด
  • หนังสือรับรองเงินเดือนไม่เกิน 3 เดือน
  • รายการเดินบัญชีย้อนหลัง 6 เดือน
  • สำเนาเอกสารแสดงกรรมสิทธิ์หลักประกัน (เช่น โฉนดที่ดิน หรือ หนังสือกรรมสิทธิ์ห้องชุด อช.2)
  • สำเนาหนังสือสัญญาการซื้อขายหรือให้ที่ดิน ทด.13 หรือ 14 หรือสัญญาซื้อขายห้องชุด
  • สำเนาสัญญากู้จากธนาคารเก่า
  • สำเนาสัญญาจำนองที่ดิน หรือ สำเนาสัญญาจำนองห้องชุด
  • สำเนาใบเสร็จแสดงธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับบ้านหรือสำเนาใบเสร็จผ่อนชำระค่างวดบ้าน
  • แผนที่ตั้งหลักประกันโดยสังเขป
  1. ยื่นเอกสารขอรีไฟแนนซ์กับธนาคาร

ถึงขั้นตอนที่จะนำเอกสารไปยื่นที่ธนาคารใหม่ การพิจารณาของทางธนาคารอาจจะใช้เวลาประมาณ 2-3 สัปดาห์
และเมื่อเอกสารของคุณผ่านการรีไฟแนนซ์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางธนาคารจะทำการส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาประเมินทรัพย์สิน
ซึ่งจะเป็นการประเมินว่ายอดเงินสินเชื่อที่กู้ได้จะเป็นวงเงินจำนวนเท่าไหร่ ทั้งนี้ ขั้นตอนในการยื่นเอกสารอาจจะแตกต่างกันไป
ตามนโยบายของแต่ละธนาคาร ถ้ายื่นผ่านได้รับการอนุมัติ ก็เริ่มทำสัญญากันใหม่ได้เลย

 ค่าใช้จ่ายสำหรับการรีไฟแนนซ์
  ค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระให้ทางธนาคาร

  • ค่าประเมินราคาบ้าน ประมาณ 2,000-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับธนาคาร พื้นที่ให้บริการ
  • ค่าประกันชีวิตคุ้มครองสินเชื่อบ้าน หรือ MRTA เป็นประกันชีวิตที่สามารถช่วยคุ้มครองความเสี่ยง
    ให้กับผู้ที่กำลังผ่อนบ้านเมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน
  • ค่าธรรมเนียมอื่นๆ

ค่าใช้จ่ายที่ต้องชำระตามกฎหมาย
ค่าจดจำนอง คิดจาก 1% ของวงเงินกู้ เป็นการชำระให้กับทางกรมที่ดิน

– ค่าอากรแสตมป์ คิดจาก 0.05% ของวงเงินกู้ เป็นการชำระให้กับทางกรมสรรมพากร

– ค่าประกันภัยอัคคีภัย ราคาประมาณหลักพันบาทต่อปี

 

ข้อดีของการรีไฟแนนซ์

  • อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ใหม่ที่ถูกกว่า ทำให้เราผ่อนชำระได้ดอกเบี้ยถูกลงกว่าเดิม ปิดยอดได้ไวขึ้น
  • บางกรณีอาจได้วงเงินกู้มากขึ้นกว่ายอดคงค้างเดิม
  • ลดภาระหนี้ ทำให้จำนวนเงินที่ต้องผ่อนต่อเดือนลดลง
  • ได้เงินส่วนต่างจากอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง ทำให้มีเงินเหลือใช้จ่ายส่วนอื่น ๆ ที่จำเป็นได้มากขึ้น
  • สามารถนำไปหมุนเวียนใช้จ่ายหรือหมุนเวียนในธุรกิจได้

ข้อเสียของการรีไฟแนนซ์

  • ทำให้ระยะเวลาผ่อนชำระนานขึ้น (หากเราเลือกที่จะเพิ่มระยะเวลา)
  • เสียค่าจัดรีไฟแนนซ์ใหม่ เสียค่าใช้จ่ายจิปาถะในการดำเนินการ เสียเวลา

และอาจต้องเสียค่าปรับหากมีการไถ่ถอนก่อนกำหนด

  • มีความยุ่งยากในการเตรียมเอกสาร เช่น เอกสารเกี่ยวกับรายได้ของผู้กู้

 

เป็นยังไงกันบ้างหวังว่าเพื่อนๆ จะเข้าใจเรื่องการรีไฟแนนซ์กันมากขึ้น สุดท้ายก็ต้องขึ้นอยู่กับการวางแผนการใช้เงินของแต่ละคน
และที่สำคัญการผ่อนชำระหนี้ที่ดีนั้นไม่ควรเกิน 1 ใน 3 ของรายได้ต่อเดือน เพื่อให้กระแสเงินสดในแต่ละเดือนของเราไม่ลำบาก
แถมยังสามารถมีเงินเก็บไว้ใช้ในยามที่เราจำเป็นได้อีกด้วย

แต่หากใครกำลังต้องใช้เงินด่ว แต่ติดปัญหาเรื่องยื่นเอกสาร แหล่งที่มารายได้ไม่เพียงพอ ทำให้ยื่นขอสินเชื่อกับธนาคารไม่ได้
เราข้อแนะนำอีกวิธีที่สามารถให้คุณสามารถมีเงินด่วนใช้ นั้นคือการจำนองและขายฝาก อสังหาริมทรัพย์ สามารถจำนองกับเราได้ มีทีมงานให้ปรึกษาฟรี

รีไฟแนนซ์ คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
24
Oct 23
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

หลายท่านคงสงสัย? ว่าเจ้าบ้านคือใคร!! หรือบางท่านอาจจะคิดไปถึงผีบ้านผีเรือน แต่ที่จริงแล้วตามหลักกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน บ้านทุกหลังต้องมี เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน เพื่อระบุว่าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน แล้วแตกต่างยังไงกับเจ้าของบ้านละ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะก่อนอื่นเรามาดูความหมายของทั้งสองคำนี้กันก่อนเลยค่ะ เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้ เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย มีสิทธิใช้สอย หวงกัน ติดตามเอาทรัพย์คืน. ใช้ยันต่อบุคคลทั่วไป มีกฎหมายรองรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โดยจากความหมายด้านบน เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน อาจจะเป็นคนเดียวกัน หรือ ไม่ใช่คนเดียวกันก็ได้ค่ะ หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร […]

อ่านเพิ่มเติม
โฉนดลอย ที่ดินคืออะไร สามารถขายฝากได้หรือไม่
19
Dec 23
โฉนดลอยที่ดินคืออะไร สามารถขายฝากได้หรือไม่

วันนี้ Property4Cash จะพาทุกคนไปรู้จักกับคำว่า “โฉนดลอย” ซึ่งหลายคนมักจะได้ยินบ่อยๆ แต่หลายคนก็ยังอาจจะไม่เข้าใจ วันนี้เราจะมาอธิบายขยายความ คำนี้ให้ทุกคนได้เข้าใจกันเองค่ะ โฉนดลอย คืออะไร? โฉนดลอยคือ ที่ดินปลอดภาระหนี้ ไม่ได้ติดอยู่ในธนาคารและ มีลายเซ็นต์แสดงความเป็นเจ้าของอยู่ด้านหลังโฉนด พร้อมกับออกเลขที่บ้านแล้ว แสดงให้เห็นถึงความพร้อมในฐานะของผู้ขาย ที่เตรียมไว้ให้ผู้ซื้อ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โฉนดลอยเป็นโฉนดที่แสดงถึงการไม่มีภาระผูกมัด เช่น การจำนองหรือการขายฝาก รวมถึงปลอดภาระหนี้สินจากธนาคารด้วย โฉลดลอย จะนำมาขายฝากหรือจำนองได้หรือไม่? เจ้าของที่ดิน ที่มีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดิน ที่ปลอดภาระหนี้สิน ไม่ติดจำนอง ขายฝาก หรือเรียกกันง่ายๆ ว่าเป็น โฉนดลอย สามารถนำโฉนดที่ดิน มาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันทำสัญญา ขายฝากที่ดิน ขายฝากบ้านพร้อมที่ดิน ณ สำนักงานที่ดิน เพื่อรับเงินก้อนและอัตราดอกเบี้ยขายฝาก ตามที่ตกลงกับผู้รับซื้อฝาก หรือ นักลงทุนรับซื้อฝาก ภายใต้กรอบที่กฎหมายกำหนดไว้ จุดไหนบนโฉนดที่ดินที่ต้องเช็คให้ชัวร์ ป้องกันกลโกงจากผู้ไม่ประสงค์ดี? การที่เราจะรับขายฝากหรือจำนองอส […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดิน น.ค.๓
3
Apr 25
ที่ดิน น.ค.๓ สามารถออกเป็นโฉนดที่ดินได้หรือไม่?

ที่ดิน น.ค.๓ สามารถออกเป็นโฉนดที่ดินได้หรือไม่? วันนี้ P4c สรุปมาให้แล้วค่ะ📕           น.ค.๓ เป็นเอกสารที่ออกสืบเนื่องจาก น.ค.๑ ซึ่งเป็นหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตนิคมสร้างตนเอง โดยกรมประชาสงเคราะห์ (ปัจจุบันกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ) จะเป็นผู้ออกให้กับบุคคลที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นสมาชิกนิคมตามมาตรา ๑๑ แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดิน เพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ ต่อมาเมื่อสมาชิกของนิคมได้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ได้รับอนุญาตเกินกว่า ๕ ปี ได้ชำระเงินช่วยทุนที่รัฐบาลได้ลงไปแล้ว และชำระหนี้สินเกี่ยวกับกิจการนิคมให้ทางราชการแล้ว ก็จะได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.๓) เป็นหลักฐาน สมาชิกนิคมสร้างตนเองที่ได้รับหนังสือแสดงการทำประโยชน์ (น.ค.๓)    มาตรา ๑๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ. ๒๕๑๑ บัญญัติให้สามารถนำหลักฐานดังกล่าว ขอโฉนดที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดินได้ ถ้าเป็นการขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะรายตามมาตรา ๕๙    แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน จะต้องยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สำนักงานที่ดินจังหวัด สำนักงานที่ดินจังหวัดสาขา หรือสำนักงานที่ดินส่วนแยก ที่ที่ดินนั้น […]

อ่านเพิ่มเติม