Reverse Mortgage สินเชื่อบ้านผู้สูงอายุ
2
Aug 23

ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเป็นทางการแล้ว โดยอายุเฉลี่ยของคนไทยจะอยู่ที่ 75 ปี
เท่ากับว่าในตอนที่เรายังอยู่ในวัยทำงานจะต้องวางแผน หลังเกษียณกันไว้ให้ดี
โดยเฉพาะใครที่คิดจะครองตัวเป็นโสด หรือ ไม่คิดที่จะมีลูกไว้ดูแลยามอายุมากขึ้น
ซึ่งในปัจจุบันคอนโดหลายๆ โครงการเองก็ได้ออกแบบมาสำหรับผู้สูงอายุโดยเฉพาะ
หากอยากทราบข้อมูลสามารถติดต่อนายหน้าคอนโด เพื่อขอคำปรึกษาได้เลยนะคะ
แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่กลุ่มวัยเกษียณอาจพบเจอได้ นั่นคือ “มีที่พักอาศัย แต่ไม่มีเงินสด”
และเป็นที่มาของ Reverse mortgage หรือสินเชื่อเพื่อผู้สูงอายุโดยมีที่อยู่อาศัยเป็นหลักประกัน

Reverse mortgage คืออะไร?

Reverse Mortgageหรือ #สินเชื่อบ้านผู้สูงอายุ คือ รูปแบบสินเชื่อที่อยู่อาศัยแบบย้อนกลับ
หรือธนาคารทำหน้าที่เป็นผู้ซื้อบ้าน พร้อมกับนำเงินเข้าบัญชีให้ผู้กู้ทุกเดือน และเมื่อครบกำหนดงวดสุดท้าย
บ้านที่ใช้ค้ำประกันจะตกเป็นของธนาคาร ต่างจากสินเชื่อปกติที่ผู้กู้ทั่วไปต้องการซื้อบ้าน
และมักจะใช้บ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันกับธนาคาร เมื่อชำระครบกำหนดบ้านหรือคอนโดก็จะตกเป็นของผู้กู้
ดังนั้นรูปแบบสินเชื่อ Reverse Mortgageจึงตอบโจทย์กับผู้สูงอายุที่ต้องการนำเงินมาใช้จ่ายชีวิตประจำวัน
หรือแบ่งเบาชำระหนี้สิน เป็นต้น

แล้วธนาคารใช้เกณฑ์อะไรในการอนุมัตให้สินเชื่อผู้สูงอายุ?
เนื่องจากสินเชื่อนี้ทำออกมาให้ตอบโจทย์ให้ผู้สูงอายุมีเงินใช้ พร้อมมีบ้านอยู่
ผู้ที่ธนาคารจะปล่อยกู้จึงเป็นผู้สูงอายุที่ถึง 60 ปีบริบูรณ์แล้วเท่านั้น โดยมีเงื่อนไขดังนี้
– บ้านหรือคอนโดเป็นของผู้กู้โดยสมบูรณ์แล้ว ไม่ได้ถูกจำนองไว้กับที่อื่น หรือนำไปค้ำประกันหนี้อื่นไว้
– ผู้กู้มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
– หากโฉนดบ้านหรือคอนโดที่นำมาจำนองมีชื่อร่วม ต้องนำเจ้าของโฉนดอีกคนมายื่นกู้ด้วยกัน

โดยปัจจุบันธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อผู้สูงอายุ มีอยู่ 2 ธนาคาร ได้แก่ ธนาคารออมสิน และ ธนาคารอาคารสงเคราะห์

ซึ่งสินเชื่อบ้านผู้สูงอายุจะมีขอบเขตของสัญญาอยู่ที่ 85 ปี เมื่อครบกำหนดสัญญาแล้วผู้กู้ยังมีชีวิต
ก็มีทางเลือกได้ 2 ทาง ดังนี้
1. ผู้กู้สามารถชำระหนี้เพื่อปิดบัญชีได้ ซึ่งต้องนำเงินมาไถ่บ้านเป็นยอดกู้+ดอกเบี้ยทั้งหมด
2. กู้เงินเพิ่มเติมได้ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายประจำวันต่อไป แต่จะได้วงเงินเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับธนาคารพิจารณานะคะ

เล่ามาจนถึงตรงนี้คงเข้าใจคอนเซ็ปต์ของสินเชื่อที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุกันแล้วใช่ไหมคะ
โดยสรุปแล้วสินเชื่อนี้อาจจะเหมาะกับ “ผู้สูงอายุที่มีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง” และ
ไม่จำเป็นต้องเก็บที่อยู่อาศัยนี้ให้กับทายาทคนไหน แต่ต้องการเงินมา
เป็นค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันทุกๆ เดือนเสียมากกว่า

แต่ที่สำคัญคือสัญญามีขอบเขตสิ้นสุดที่อายุ 85 ปีนะคะ
เราอาจจะต้องเตรียมแผน 2 เผื่อในกรณีที่เราอายุยืนยาวกว่านั้นไว้ด้วยว่าจะไปอยู่อาศัยที่ไหนต่อ ?
และจะต้องใช้เงินอีกเท่าไหร่ ?

Reverse Mortgage สินเชื่อบ้านผู้สูงอายุ

 

—————————————————–

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง

Line: @Property4Cash
โทร : 096-813-5989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

ไถ่ถอนขายฝาก
10
Jan 23
เฮ้ย! ไถ่ถอนขายฝาก ต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วยหรอ!!!

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การทำขายฝากนั้น ต้องเสียค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน เสมือนว่าเป็นการซื้อขายกันปกติ แต่ผู้ขายฝากหลายๆ คนนั้นไม่รู้ และนายทุนผู้รับขายฝากหรือนายหน้าก็ไม่ได้บอกเราไว้ ทำให้เจ้าของทรัพย์ที่มาทราบทีหลัง ตกใจกับค่าใช้จ่ายที่งอกขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว ไม่ทันได้เตรียมใจมาก่อน เรามาดูกันดีกว่าว่า ค่าใช้จ่ายในการ ไถ่ถอนขายฝาก นั้น มีอะไรบ้าง..? การไถ่ถอนขายฝาก เปรียบเสมือน “การซื้อกลับ” แต่เป็นการซื้อกลับภายในระยะเวลาสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนเหมือนกับการซื้อขายโดยทั่วไปตามปกติเช่นกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดินอีกครั้ง ทั้งในกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล  ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนขายฝาก ค่าธรรมเนียม – แปลงละ 50 บาท ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – คำนวณตามระยะเวลาถือครอง ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร นับตั้งแต่วันที่ได้ทำสัญญาขายฝากจนถึงวันที่จดทะเบียนไถ่ถอนขายฝาก อากรแสตมป์ – ร้อยละ 50 สตางค์ (0.50%) โดยคำนวณจากราคาที่จดทะเบียนขายฝาก หรือ ราคาประเมินจากกรมที่ดินในขณะนั้น แล้วแต่ว่าราคาใดมากกว่า  **หมายเหตุ การไถ่ถอนขายฝาก โดยหลักการแล้ว […]

อ่านเพิ่มเติม
ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจ ได้ไหม ? เตรียมเอกสารยังไง ไม่ให้โมฆะ
11
Apr 23
ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจ ได้ไหม ? เตรียมเอกสารยังไง ไม่ให้โมฆะ

การ มอบอำนาจ ให้ผู้อื่นไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินแทนเจ้าของ เป็นเรื่องปกติที่มักจะทำกัน โดยจะเห็นได้บ่อยเป็นพิเศษเวลาเราไปทำนิติกรรมซื้อ-ขาย ไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ดิน หรือคอนโดก็ตาม เพราะหลายๆ คนก็ไม่มีเวลา หรือไม่เชี่ยวชาญในการทำเรื่องเอกสาร การมอบอำนาจให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ไปทำเรื่องให้ นอกจากจะประหยัดเวลาแล้ว ยังหมดห่วงเรื่องโดนเจ้าหน้าที่ปฏิเสธเพราะเอกสารไม่ครบหรือไม่ถูกต้องด้วย แล้วการทำนิติกรรมอย่าง ขายฝาก และ จำนอง ล่ะ สามารถมอบอำนาจไปทำเรื่องแทนได้ไหมนะ ? ถ้าไม่อยากมีปัญหาเรื่องเอกสารต้องทำอย่างไร มาหาคำตอบกัน. ขายฝาก-จำนอง มอบอำนาจได้ไหม ? การทำขายฝาก หรือ จำนองนั้น ก็ไม่ต่างอะไรกับการซื้อ-ขาย อสังหาริมทรัพย์ในแง่ของการ มอบอำนาจ ให้ผู้อื่นทำแทน สามารถทำได้ไม่ว่าจะเป็น ผู้ขายฝาก (เจ้าของทรัพย์) หรือ ผู้รับซื้อฝาก (เจ้าของเงิน) เองก็ตาม หรือในกรณีที่ทั้งสองฝ่ายต้องการมอบอำนาจให้บุคคลเดียว เป็นผู้ไปทำสัญญาขายแทนก็ทำได้เช่นกัน เอกสารสำหรับการมอบอำนาจมีอะไรบ้าง ? สิ่งแรกที่จำเป็นต้องมี สำหรับการในการมอบอำนาจนั้นคือ “หนังสือมอบอำนาจ” โดยสามารถใช้แบบฟอร์มของสำนักงานที่ดินที่เรี […]

อ่านเพิ่มเติม
ขอรังวัดที่ดิน ต้องทำอย่างไรบ้าง?
8
Dec 23
ขอรังวัดที่ดิน ต้องทำอย่างไรบ้าง?

เมื่อเจ้าของที่ดินมีความจำเป็นต้องยื่นเรื่อง ขอรังวัดที่ดิน กับเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน ไม่ว่าจะเป็น ต้องการทราบขนาดแปลงที่ดิน เขตแดนอยู่ตรงบริเวณไหน? มีปัญหาที่ดินทับซ้อนกับที่ดินของใครหรือไม่ อย่างไร? ราคารังวัดที่ดินต้องจ่ายกี่บาท? รวมถึงมีหลักเกณฑ์คิดค่าบริการรังวัดอย่างไร? ยึดจากขนาดพื้นที่หรืออื่นๆ? วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วค่ะ ในการ ขอรังวัดที่ดิน กับทางรัฐ  สามารถเดินทางไปยังสำนักงานที่ดินแห่งนั้นกันได้เลยค่ะ เมื่อเดินทางไปถึงแล้วสามารถทำตามขั้นตอนดังนี้ได้เลยค่ะ ให้เจ้าของที่ดินรอรับบัตรคิวจากเจ้าหน้าที่กรมที่ดิน เตรียมชำระเงินค่าธรรมเนียม “การขอ” หลังจากแจ้งรับคำขอสอบสวน เจ้าหน้าที่จะดำเนินการส่งฝ่ายรังวัดเข้ามาดำเนินการ จากนั้นจะแจ้งนัดวันทำการรังวัดพร้อมกำหนดตัวช่างรังวัดและเงินมัด จำสำหรับรังวัดที่ดินซึ่งทางผู้ร้องขอต้องเตรียมความพร้อมเอาไว้เสมอ ทางกรมที่ดินจะเริ่มต้นค้นหารายชื่อผู้มีกรรมสิทธิ์ในการครอบครองที่ดินข้างเคียง จากนั้นพิมพ์หนังสือเพื่อแจ้งให้ผู้ร้องขอรังวัดขนาดที่ดินทราบ เจ้าของที่ดินที่เป็นผู้ดำเนินเรื่องร้องขอรังวัดที่ดินจะได้รับหนังสือแจ้งข้างเคียงจากกรมที่ด […]

อ่านเพิ่มเติม