ไถ่ถอนขายฝาก
10
Jan 23

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การทำขายฝากนั้น ต้องเสียค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน เสมือนว่าเป็นการซื้อขายกันปกติ แต่ผู้ขายฝากหลายๆ คนนั้นไม่รู้ และนายทุนผู้รับขายฝากหรือนายหน้าก็ไม่ได้บอกเราไว้ ทำให้เจ้าของทรัพย์ที่มาทราบทีหลัง ตกใจกับค่าใช้จ่ายที่งอกขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว ไม่ทันได้เตรียมใจมาก่อน เรามาดูกันดีกว่าว่า ค่าใช้จ่ายในการ ไถ่ถอนขายฝาก นั้น มีอะไรบ้าง..?

การไถ่ถอนขายฝาก เปรียบเสมือน “การซื้อกลับ” แต่เป็นการซื้อกลับภายในระยะเวลาสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนเหมือนกับการซื้อขายโดยทั่วไปตามปกติเช่นกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดินอีกครั้ง ทั้งในกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล 

ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนขายฝาก

  1. ค่าธรรมเนียม – แปลงละ 50 บาท
  2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – คำนวณตามระยะเวลาถือครอง ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร นับตั้งแต่วันที่ได้ทำสัญญาขายฝากจนถึงวันที่จดทะเบียนไถ่ถอนขายฝาก
  3. อากรแสตมป์ – ร้อยละ 50 สตางค์ (0.50%) โดยคำนวณจากราคาที่จดทะเบียนขายฝาก หรือ ราคาประเมินจากกรมที่ดินในขณะนั้น แล้วแต่ว่าราคาใดมากกว่า 

**หมายเหตุ การไถ่ถอนขายฝาก โดยหลักการแล้วการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากภายใน 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ทำขายฝากกัน จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะด้วย แต่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสีย ตามมาตรา 3(15)(ก) 

อ้างอิง : หนังสือจากทางส่วนมาตรฐานการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม สำนักมาตรฐานการทะเบียนที่ดิน การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม และภาษีอากร การจดทะเบียนไถ่ถอนจากการขายฝาก

 

พูดถึงการไถ่ถอนขายฝากแล้ว คงจะไม่พูดถึงการไถ่ถอนจำนองไม่ได้ เพราะก็มีค่าธรรมเนียมในการไถ่ถอนเช่นกัน แต่เป็นจำนวนเล็กน้อยเท่านั้น โดยมีค่าใช้จ่ายดังนี้

ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนจำนอง

  1. ค่าคำขอจดทะเบียน – แปลงละ 5 บาท
  2. ค่าจดทะเบียนประเภทไม่มีทุนทรัพย์ – แปลงละ 50 บาท

**หมายเหตุ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ

เท่ากับว่าโดยเบ็ดเสร็จเสร็จ การไถ่ถอนจำนองจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 55-100 บาทเพียงเท่านั้นเอง

 

สรุป.. ค่าธรรมเนียมการไถ่ถอนขายฝากจะมากหรือน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับมูลค่าของทรัพย์สินที่ทำขายฝากไว้ และขึ้นอยู่กับระยะเวลานับตั้งแต่วันแรกที่จดทะเบียนขายฝากกัน ถ้าถือครองระยะเวลาสั้นๆ ก็จะเสียภาษีน้อย ถ้าถือครองเป็นระยะเวลานาน ก็จะเสียภาษีแพงขึ้น แต่โดยรวมแล้วไม่ได้มีมูลค่าสูงมากเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับการจดทะเบียนซื้อขายทั่วไป เพราะได้รับการยกเว้นในส่วนของภาษีธุรกิจเฉพาะ และได้รับการลดหย่อนค่าธรรมเนียมเหลือเพียงแปลงละ 50 บาทเท่านั้น 

อย่างไรก็ตาม ย่อมเป็นเรื่องที่ดีกว่า หากเรารู้ก่อนล่วงหน้าว่าจะมีค่าใช้จ่ายในวันไถ่ถอนที่สำนักงานที่ดินเท่าไหร่ จะไม่ได้ไม่มาตกใจ และมาผิดใจกันทีหลังนั่นเอง

——————————————————-

สนใจจำนอง-ขายฝาก หรือปรึกษาปัญหา ติดต่อเราได้ทาง 

Line: @Property4Cash
โทร : 0968135989

หรือส่งรายละเอียดทรัพย์มาได้ที่ https://property4cash.co/post-property/

นึกถึงขายฝาก.. นึกถึง Property 4 Cash
ดอกเบี้ยต่ำ อนุมัติเร็ว ถูกกฎหมาย 100%

อ่านบทความอื่นๆเพิ่มเติมได้ที่ : https://property4cash.co/articles/

หรือ https://facebook.com/propertyforcashofficial

 

ไถ่ถอนขายฝาก

ลงทะเบียนเป็นนักลงทุน

กรุณากรอก ชื่อ
กรุณากรอก นามสกุล
กรุณากรอก เบอร์โทรศัพท์
กรุณากรอก LINE ID
กรุณากรอก อีเมล
บาท
please verify you are human

บทความเเละข่าวสารแนะนำ

20
May 24
ไขข้อข้องใจ จำนอง ขายฝาก ต่างกันอย่างไร สัญญาแบบไหนได้เงินเยอะกว่า ?

ช่วงหลายปีที่ผ่านมาการขายฝาก จำนอง กลายเป็นทางเลือกหลักสำหรับผู้ที่มีทรัพย์สิน ที่ต้องการเงินด่วนเพื่อใช้จ่ายในธุรกิจหรือใช้จ่ายในครอบครัว เมื่อกระแสความต้องการที่มากขึ้น คำถามที่ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรา ได้รับกันมาเยอะมากคือ ขายฝาก กับ จำนอง สัญญาแบบไหนได้เงินเยอะกว่ากัน ?    วันนี้ Property4Cash จะมาตอบคำถามนี้ให้กับทุกคน เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจทำสัญญาขายฝาก – จำนอง ถ้าพร้อมไปกันเลยค่ะ     ขายฝาก จำนอง ต่างกันอย่างไร ? ก่อนที่จะพูดถึงจำนวนเงินกัน ขออธิบายสั้นๆเกี่ยวกับความต้องของการขายฝากและจำนองกันก่อน  การขายฝากนั้น ผู้ขายฝากต้องโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินให้ผู้รับซื้อฝาก โดยผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินคืนได้ตามเงื่อนไขและเวลาที่กำหนด   ในส่วนของการจำนอง คือการนำทรัพย์สินมาเป็นหลักประกันเพื่อขอกู้และชำระหนี้  โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ผู้รับจำนอง โดยทรัพย์สินยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำนองอยู่        ขายฝาก กับ จำนอง สัญญาแบบไหนได้เงินเยอะกว่ากัน ? อ่านมาถึงตรงนี้คงจะเข้าความต่างกันมากขึ้นแล้ว สำหรับคำถามที่ว่าขายฝาก และ จำนอง แบบไหนที่ได้เงินมากกว่า คำตอบ […]

อ่านเพิ่มเติม
การครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินต้องดูแลก่อนโดนแย่งครอบครอง
17
Jan 23
การครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินต้องดูแลก่อนโดนแย่งครอบครอง

การครอบครองปรปักษ์ คือ การแย่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง มีได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ ในที่นี้ property4cash จะนำเสนอเกร็ดความรู้ในเรื่องของ การเฝ้าระวังการโดนแย่งครอบครองปรปักษ์ ในเรื่องของที่ดิน (อสังหาริมทรัพย์) เจตนารมณ์ของข้อกฎหมาย การครอบครองปรปักษ์ คือ ต้องการให้เจ้าของที่ดินใช้ประโยชน์ของที่ดินของตัวเองให้คุ้มค่า ไม่ปล่อยปละละเลยในเรื่องการทำประโยชน์ในที่ดิน และหน้าที่ของการเสียภาษี เพื่อเป็นหน่วยเล็กๆ ในการเสริมกำลังพัฒนาประเทศให้เจริญยิ่งขึ้นไป จึงต้องมีบทลงโทษเจ้าของที่ดินที่ไม่ใส่ใจที่ดินของตนเอง ปล่อยให้คนอื่นเข้ามาครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนอย่างเปิดเผย เป็นระยะเวลารวมตามที่กฎหมายกำหนด ตามหลักเกณฑ์ จนที่ดินตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของคนอื่น (ผู้ครอบครองตามหลักเกณฑ์ และตามระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ มีสิทธิ์ร้องขอต่อศาลได้) และเจ้าของที่ดินก็มีสิทธิ์ต่อสู้ในชั้นศาลเช่นกัน หลักเกณฑ์ในการได้การครอบครองปรปักษ์ มียิบย่อยมากมาย ในที่นี้จะพูดถึงประเด็นใหญ่ๆ เช่น –              ที่ดินที่จะครอบครองต้องเป็นทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์ ที่ดินก็ต้องเป็นที่ดินมีโฉนดเท่านั้น ต้ […]

อ่านเพิ่มเติม
9
Jan 23
รับจำนอง ต้องเสีย “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” หรือไม่

หากเราทำการรับจำนอง จะต้องเสียภาษีหรือไม่? และถ้าจะต้องเสีย จะต้องชำระภาษีอย่างไร? เป็นคำถามที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นมือใหม่ในวงการนี้ เรื่องภาษี เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวทุกคนมากๆ แต่บางทีก็เป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยากสำหรับหลายๆ คน แต่ไม่ต้องห่วงไปค่ะ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยให้กับทุกคนได้ทราบ และจะได้จัดการกับเงินได้ ที่เราได้มาจากการรับจำนองได้อย่างถูกต้องกันค่ะ จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลยค่ะ กรณีหากรับจำนอง รายได้ของท่านคือรายได้จาก ดอกเบี้ยรับ ซึ่งมีภาระภาษีดังนี้ กรณีผู้จ่ายเงิน หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้อัตรา 15 % สามารถเลือกไม่นำเงินได้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีประจำปีได้ กรณี ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย อัตรา 15% จะต้องนำมารวมเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีต้องเสียภาษีประจำปี ไม่สามารถหักรายจ่ายได้ เท่ากับว่าต้องนำรายได้ดอกเบี้ย มาหักค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีเงินได้เลย แต่ถ้าเป็นกรณีการขาย รายได้ของท่านคือ รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะมีภาระภาษีดังนี้ ต้องนำรายได้จากการขายทั้งหมดในปีมารวมเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษี ต้องหักรายจ่ายตามความจำเป็นและสมควร เช่น ต้นทุนในการซื้อที่ด […]

อ่านเพิ่มเติม