การ จำนอง บ้านระหว่าง ธนาคาร กับ บุคคล ต่างกันอย่างไร
1
Mar 23
การจำนองบ้านระหว่าง ธนาคาร กับ บุคคล ต่างกันอย่างไร

คนส่วนใหญ่คนคิดว่า ถ้าจะขอสินเชื่ออสังหา มักจะนึกถึงธนาคารเป็นที่แรก แต่จริงๆ ยังมีแหล่งขอสินเชื่ออีกหลากหลายช่องทาง อาทิเช่น บุคคลธรรมดา และบริษัท ที่สามารถปล่อยสินเชื่อได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วยเหมือนกัน วันนี้เราจะพาไปดูข้อแตกต่างระหว่าง การ จำนอง บ้านกับธนาคาร และ กับบุคคล ว่าต่างกันอย่างไร ไปดูกันเลยค่ะ การจำนองบ้านกับธนาคาร ข้อดีของการ จำนองบ้านกับธนาคาร ธนาคารจะให้วงเงินในของอนุมัติขอสินเชื่ออยู่ที่ 80%- 100% ของราคาประเมิน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแต่ละสถาบัน ระยะเวลาการกู้สามารถกู้ได้นานกว่า 10 ปี ดอกเบี้ยจะขึ้นอยู่กับนโยบายดอกเบี้ยแต่ละช่วงเวลานั้น โดยจะอยู่ที่ 5% แต่จะไม่เกิน 10% ต่อปี ข้อเสียของการ จำนองบ้านกับธนาคาร การจำนองบ้านกับธนาคารมักใช้เวลานานในการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ ใช้เอกสารประกอบการพิจารณาอนุมัติเยอะ และมีการตรวจสอบเอกสารทางการเงิน อายุของผู้กู้ต้องอายุไม่เกิน 55 – 60 ปี ต้องตรวจสอบเครดิตบูโร ธนาคารอาจต้องมีผู้ค้ำประกัน ที่ดินเปล่าส่วนใหญ่ธนาคารจะไม่อนุมัติ การจำนองบ้านกับบริษัทเอกชน หรือ บุคคล ข้อดีของการจำนองบ้าน กับบริษัทเอกชน หรือ บุคคล ใช้เวลาในกา […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดินติดธนาคาร จำนองได้ไหม ขายฝากได้หรือเปล่า
24
Feb 23
ที่ดินติดแบงค์จำนองได้ไหม ขายฝากได้หรือเปล่า

ที่ดินติดธนาคาร เป็นคำถามที่ทางเราพบเจอค่อนข้างบ่อย สำหรับเจ้าของทรัพย์ ไม่ว่าเป็นบ้าน คอนโด หรือว่าที่ดิน ที่ต้องการนำทรัพย์มา จำนอง หรือ ขายฝาก กับเรา แต่ว่าทรัพย์นั้นๆ ยังคงมีภาระหนี้อยู่กับธนาคาร หรือสถานบันการเงินอื่นๆ หรือเรียกสั้นๆ กันว่า “ติดแบงค์” ทำให้ไม่รู้ว่าสามารถนำมาจำนองกับขายฝากได้หรือไม่ Property4Cash จึงอยากมาแถลงไขให้ได้กระจ่างใจกันในวันนี้ ^-^ ที่ดินติดธนาคาร คอนโดผ่อนอยู่ จำนองได้ไหม ขายฝากได้รึเปล่า ? โดยปกติแล้วเราสามารถทำได้ ไม่ได้ผิดกฎหมายแต่อย่างใด สามารถทำได้ทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ เพียงแต่ว่ามีข้อแม้และข้อจำกัดอยู่หลายข้อด้วยกัน การนำทรัพย์ที่ติดภาระหนี้กับธนาคารอยู่มาทำการ จำนอง-ขายฝากนั้น คือการที่เราจูงมือ “นายทุน” ที่รับจำนอง-ขายฝาก ไปทำนิติกรรมที่สำนักงานที่ดินพร้อมกัน เพื่อนำเงินที่เราจะได้รับไปปิดยอดหนี้เดิมกับธนาคาร และทำการจำนองหรือขายฝาก กับนายทุนที่มารับช่วงต่อไปในคราวเดียวกัน พูดง่ายๆ คือนายทุนนำเงินไปปิดแบงค์ให้ แล้วนำส่วนที่เหลือหลังจากหักลบค่าใช้จ่ายต่างๆ มาให้เจ้าของทรัพย์ ผู้จำนอง-ขายฝาก นั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น เรามี บ้านติดธนาคาร ยอดหนี้คง […]

อ่านเพิ่มเติม
5 เรื่องไม่ลับ ที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับการเป็น นายหน้าอสังหา
22
Feb 23
5 เรื่องไม่ลับ ที่คุณไม่รู้เกี่ยวกับการเป็นนายหน้าอสังหาฯ

นายหน้าอสังหา เป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้ดีมาก และมีความอิสระในการทำงานค่อนข้างสูง หลายคนมองว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพที่หาเงินได้ง่าย และหาเงินได้ครั้งละเยอะๆ แค่ทำหน้าที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ไม่ได้ใช้พลังงานในการทำงานมากเท่าไหร่ เพราะผู้ซื้อและผู้ขายมีความต้องการในการซื้อและขายอยู่แล้ว แต่คุณรู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้ว นายหน้าอสังหา อย่างเราต้องเจอกับอะไรบ้างที่คนนอก “คาดไม่ถึง” #ต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ใช้ความรู้ในหลายๆ ศาสตร์ อาชีพนายหน้าอสังหาฯ เป็นงานขาย เราก็ต้องใช้ทักษะในการขายในการทำงานเหมือนเซลล์สินค้าประเภทอื่นๆ ซึ่งทักษะในการขายก็ต้องถูกพัฒนาไปตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดเช่นเดียวกัน นอกจากทักษะการขายที่ต้องพัฒนาตลอดเวลาแล้ว เรายังต้องมีทักษะทางด้านการตลาดอีกด้วย เพื่อเป็นส่วนช่วยในการขายและการเข้าถึงลูกค้าให้ได้มากขึ้น การแข่งขันที่สูงขึ้นทุกวัน อย่างที่ทุกคนรู้ว่าอาชีพนายหน้าอสังหาฯ เป็นอาชีพที่เริ่มต้นได้ง่าย ใครก็สามารถเข้ามาทำอาชีพนี้ได้ทั้งนั้น นายหน้าที่จะอยู่รอดและประสบความสำเร็จ จะต้องเป็นนายหน้าที่พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา อัพเดตและรอบรู้เรื่องราวในตลาดอสังหาฯ เป็นอย่า […]

อ่านเพิ่มเติม
16
Feb 23
ถนนหน้าบ้านเรามีเจ้าของรึเปล่านะ

ถนน ทางสัญจร ที่เราใช้สัญจร อย่างเป็นปกติตลอดการอยู่อาศัยของเรานั้น บางที่บางแห่ง แท้จริงแล้ว อาจจะไม่ใช่ถนนสาธารณะ ที่ทุกคนมีสิทธิ์ในการใช้ หรือเป็นเจ้าของร่วมกัน อย่างที่เราเข้าใจก็ได้นะ ทีนี้เราจะรู้ได้อย่างไร ทีม Landthaimart เราจะพาไปรู้จักวิธีตามหาความจริงกันค่ะ ก่อนอื่น ในบทความนี้ จะขออนุญาตแบ่งกรรมสิทธิของถนนเป็น 2 ประเภทก่อน เพื่อความเข้าใจง่ายๆ 1.ถนนสาธารณะ ชื่อก็บ่งบอกอยู่แล้ว ว่าสาธารณะ ใช้เพื่อสาธารณประโยชน์ มีงบประมาณของแผ่นดิน จากภาษีของประชาชนเข้ามาบำรุงดูแลรักษา ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ ดูแล ปกป้อง ถนนสาธารณะร่วมกัน การเช็คว่าเป็นสาธารณะหรือไม่ จะกล่าวถึงละเอียดต่อไป บางครั้งเราจะเห็นป้ายหน้าปากซอย ที่เป็นงบประมาณของเขต ติดตั้งอยู่ ก็ไม่ได้แสดงว่า ถนน ซอย นี้ เป็นสาธารณะเสมอไป บางครั้ง มีไว้เพื่อเป็น landmark เพื่ออำนวยความสะดวก ต่อการเดินทาง การบอกจุดหมาย การขนส่ง เท่านั้น หากในอนาคตถนนนี้ (ส่วนบุคคล) ที่มีป้ายถนนติดชื่อยู่ มีการซื้อไปเพื่อพัฒนาเป็นโครงการอื่นๆ มีการพิสูจน์สิทธิ์แล้วว่า เป็นที่ดินส่วนบุคคลจริง ป้ายซอย หรือป้ายชื่อถนนแบบนี้ ก็สามารถที่จะถูกรื้อถอนโดยหน่วยงานท […]

อ่านเพิ่มเติม
ที่ดิน ส.ป.ก.
7
Feb 23
ที่ดิน ส.ป.ก. ซื้อขาย จำนองได้หรือไม่

ที่ดิน สปก ซื้อขาย จำนองได้หรือไม่ เรื่องมีอยู่ว่าทีมงานได้รับการติดต่อจากคนที่สนใจ จะนำที่ดินมาจำนอง ขายฝาก โดยที่หลายท่านนั้น นำที่ดิน ส.ป.ก. มาให้ทางเราช่วยประเมินวงเงิน เพราะมีผู้คนจำนวนมากที่อาจจะยังไม่เข้าใจถึงสิทธิใน ที่ดิน ส.ป.ก. ว่าสามารถซื้อขาย จำนองได้หรือไม่ วันนี้เลยอยากจะพาเพื่อนๆ ไปรู้จักกับที่ดิน ส.ป.ก. ให้มากขึ้นกัน ที่ดิน ส.ป.ก. คืออะไร            ที่ดิน ส.ป.ก. หรือที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 คือ เป็นเอกสารสิทธิที่ภาครัฐให้ประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เอกสารแสดงการครอบครองที่ดินที่สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกให้กับประชาชนเข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน เกิดขึ้นเมื่อมีพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 โดยมีหลักว่า ที่ดินในเขตปฏิรูปนั้นใช้ทำเกษตรกรรมได้อย่างเดียวเท่านั้น ทำประโยชน์อย่างอื่นไม่ได้ และผู้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 จะต้องมีฐานะยากจน ใครบ้างที่มีสิทธิครอบครองที่ดิน ส.ป.ก. เกษตรกร เป็นผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักอยู่แล้ว โดยใช้เวลาส่วนใหญ่ในรอบปี เพื่อประกอบเกษตรกรรมแห่งท้องถิ่นนั้น […]

อ่านเพิ่มเติม
ขายฝาก - จำนอง ทางเลือกใหม่ของคนร้อนเงิน
2
Feb 23
ขายฝาก – จำนอง ทางเลือกใหม่ของคนร้อนเงิน

ช่วงนี้หลายคนอาจได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจเพราะโควิดไม่มากก็น้อย หนึ่งในทางออกยอดนิยมที่ใช้คือการนำทรัพย์สินที่มีออกมาขาย เช่น เสื้อผ้า ของใช้ รถยนต์ ไปจนถึง ขายคอนโด ซึ่งส่วนใหญ่แล้วก็มักจะเจอกับอีกหนึ่งปัญหาคือ ขายคอนโดไม่ออก ประกาศขายมาหลายเดือนแล้วก็ยังไม่มีใครมาซื้อ แถมยังมีเรื่องให้ปวดหัวต้องใช้เงินด่วน แต่จะให้ไปกู้ธนาคารก็ไม่ไหว เครดิตไม่ดี รายได้ไม่เพียงพอ ทำให้ธนาคารไม่อนุมัติ ซึ่งสำหรับคนที่มีคอนโด และต้องการเงินด่วน ก็มีอีกหนึ่งทางเลือกที่คุณสามารถกู้เงินด่วน และ ได้วงเงินที่ค่อนข้างสูงกว่าการจำนอง นั่นก็คือการขายฝาก โดยปกติแล้ว เวลาเรานึกถึงการนำเอาทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ไปเป็นหลักประกันกู้เงิน ส่วนมากจะนึกถึงการจำนองเป็นส่วนใหญ่ แต่จริงยังมีนิติกรรมที่คล้าย ๆ กับการจำนอง และได้วงเงินที่สูงกว่าอย่างการ ขายฝาก  ซึ่งมีความคล้ายกับจำนอง แต่ก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน เรามีวิธีแก้ไขปัญหามาแนะนำให้เพื่อน ๆ พิจารณาดูนั่นคือ การขายฝากคอนโดเพื่อนำเงินมาชำระหนี้หรือหมุนต่อ ว่าแต่การขายฝากคอนโดคืออะไร มีความสำคัญอย่างไร เราไปดูกันเลยค่ะ ขายฝากคอนโดคืออะไร ? การขายฝากคอนโดคือ […]

อ่านเพิ่มเติม
2
Feb 23
ค้ำประกัน อันตรายขนาดไหน ทำไมใครๆ ก็บอกว่า หนีไปปป!!

ค้ำประกัน คำที่มักจะได้ยินบ่อยๆ ในตอนที่ต้องกู้สินเชื่อกับทางธนาคาร เนื่องจากในการจะกู้ซื้อบ้านหรือคอนโดต้องใช้เงินก้อนใหญ่ หากจะให้การกู้ง่ายยิ่งขึ้น อาจจะต้องมีการกู้ร่วม เพื่อให้ได้วงเงินที่มากขึ้น หรืออาศัยคนค้ำประกัน เพราะผู้กู้อาจมีคุณสมบัติบางอย่างไม่ถึงเกณฑ์ เพื่อมาช่วยเพิ่มเปอร์เซ็นต์การอนุมัติขอสินเชื่อได้ ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับการค้ำประกัน กันแบบง่ายๆ ก่อนเลยค่ะ การค้ำประกันคือ บุคคลที่มาค้ำประกันสินเชื่อให้กับลูกหนี้ โดยสถานะไม่ได้เป็นลูกหนี้ร่วมเหมือนกับคนกู้ร่วม สถานะจะเป็นเพียงแค่คนค้ำประกันที่เมื่อเกิดกรณีที่ลูกหนี้เบี้ยวไม่จ่ายหนี้ ธนาคารหรือสถาบันการเงินก็จะไปไล่เบี้ยเอาคืนกับคนค้ำประกัน เมื่อรู้จักการค้ำประกันแบบคร่าวๆ แล้ว มาดูกันค่ะว่าการค้ำประกันมีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง ความสัมพันธ์กับการค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันสามารถเป็นใครก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลในเครือญาติของผู้กู้ การพิจารณาของธนาคาร การค้ำประกัน ธนาคารจะไม่นำรายได้ของคนค้ำประกันมารวมคิดเพื่อพิจารณาอนุมัติ จะยังคงพิจารณาเฉพาะรายได้ของผู้กู้เท่านั้น แต่จะพิจารณาคุณสมบัติของผู้ค้ำประกันแทน โดยผู้ค้ำประกันจะต้อ […]

อ่านเพิ่มเติม
ลงทุนอสังหา
26
Jan 23
ลงทุนอสังหา อะไรดีปี 2566

    ลงทุนอสังหา อะไรดี ปี 2566 ถ้าหากจะพูดถึงรูปแบบการลงทุนที่ได้กำไรที่สูงและผลตอบแทนที่ดี และกำลังเป็นที่นิยมอยู่ในเวลานี้ ก็คงจะหนีไม่พ้นการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ แต่การลงทุนอสังหานั้นมีหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็น ที่ดิน คอนโด บ้าน ทาวน์โฮม อาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน และอื่นๆ อีกมากมาย นับวันยิ่งมีนักลงทุนทั้งมือเก่าและมือใหม่เข้ามาให้ความสนใจกันมากขึ้น นั่นเป็นเพราะการลงทุนอสังหาริมทรัพย์สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำ วันนี้เราจะพาไปแนะนำ 1.ลงทุนกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ กองทุนอสังหาริมทรัพย์ คือ กองทุนที่นำเงินจากการขายหน่วยลงทุนไป “เช่าหรือซื้ออสังหาริมทรัพย์” และ บริหารอสังหาริมทรัพย์นั้น ๆ โดยมุ่งเน้นเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสม่ำเสมอในรูปแบบค่าเช่า เป็นการลงทุนที่ช่วยลดความเสี่ยงสำหรับนักลงทุนที่พึ่งเริ่มลงทุน นักลงทุนมือใหม่ที่กลัวกับการขาดทุน เพราะการลงทุนกับกองทุนอสังหาริมทรัพย์ จะได้รับการบริหารจัดการกองทุนแบบมืออาชีพ ที่คัดเลือกว่าควรลงทุนอะไรดี  และสามารถลงทุนได้ง่าย ๆ ไม่ยุ่งยาก ใช้เงินลงทุนเพียงแค่ หลักพัน ก็สามารถเริ่มลงทุนได้ 2.ลงทุนแบบเก็งกำไร สามารถใช้เงินเพียงหลักห […]

อ่านเพิ่มเติม
วิธีคำนวนค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ
25
Jan 23
วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ

วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน ด้วยตัวเอง แบบง่ายๆ ได้รู้จักกันไปแล้วว่าการจำนอง-ขายฝาก คือการทำนิติกรรมอะไร มีเงื่อนไข มีขั้นตอน มีผลตอบแทนที่จะได้รับเท่าไหร่บ้าง แต่นอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวไปในข้างต้นนั้น ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่เราควรรู้นั่นก็คือ “ค่าใช้จ่าย” ทั้งหลาย โดยเฉพาะในส่วนของ ค่าธรรมเนียมในการทำจำนอง และ ค่าธรรมเนียม ขายฝาก ณ สำนักงานที่ดิน วิธีคำนวณค่าโอน ค่าธรรมเนียมสำหรับการจำนอง ค่าธรรมเนียมคำขอจดจำนอง แปลงละ 5 บาท ค่าจดจำนอง 1% ของวงเงินจำนอง (แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท) ค่าอากรแสตมป์ 0.05% ของวงเงินจำนอง (แต่ต้องไม่เกิน 10,000 บาท) ตัวอย่าง : วิธีการคำนวณค่าธรรมเนียม จำนองที่ดิน ยอดจำนอง 3,000,000 บาท ประเภทค่าธรรมเนียม วิธีคำนวณ มูลค่า ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท 5 บาท ค่าจดจำนอง 3,000,000 x 1% 30,000 บาท ค่าอากรแสตมป์ 3,000,000 x 0.05% 1,500 บาท รวม 31,500 บาท หมายเหตุ: ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆ เช่น ค่าพยาน, ค่ามอบอำนาจ(กรณีมอบอำนาจ) ฯลฯ ค่าธรรมเนียมสำหรับการขายฝาก 1. ค่าธรรมเนียม 2% จากราคาประเมินกรมที่ดิน 2. ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย คำนวณจากราคาประเมินกรมที่ดิน ต้อ […]

อ่านเพิ่มเติม
การครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินต้องดูแลก่อนโดนแย่งครอบครอง
17
Jan 23
การครอบครองปรปักษ์ เจ้าของที่ดินต้องดูแลก่อนโดนแย่งครอบครอง

การครอบครองปรปักษ์ คือ การแย่งกรรมสิทธิ์โดยการครอบครอง มีได้ทั้งอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ ในที่นี้ property4cash จะนำเสนอเกร็ดความรู้ในเรื่องของ การเฝ้าระวังการโดนแย่งครอบครองปรปักษ์ ในเรื่องของที่ดิน (อสังหาริมทรัพย์) เจตนารมณ์ของข้อกฎหมาย การครอบครองปรปักษ์ คือ ต้องการให้เจ้าของที่ดินใช้ประโยชน์ของที่ดินของตัวเองให้คุ้มค่า ไม่ปล่อยปละละเลยในเรื่องการทำประโยชน์ในที่ดิน และหน้าที่ของการเสียภาษี เพื่อเป็นหน่วยเล็กๆ ในการเสริมกำลังพัฒนาประเทศให้เจริญยิ่งขึ้นไป จึงต้องมีบทลงโทษเจ้าของที่ดินที่ไม่ใส่ใจที่ดินของตนเอง ปล่อยให้คนอื่นเข้ามาครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนอย่างเปิดเผย เป็นระยะเวลารวมตามที่กฎหมายกำหนด ตามหลักเกณฑ์ จนที่ดินตกไปเป็นกรรมสิทธิ์ของคนอื่น (ผู้ครอบครองตามหลักเกณฑ์ และตามระยะเวลาการครอบครองปรปักษ์ มีสิทธิ์ร้องขอต่อศาลได้) และเจ้าของที่ดินก็มีสิทธิ์ต่อสู้ในชั้นศาลเช่นกัน หลักเกณฑ์ในการได้การครอบครองปรปักษ์ มียิบย่อยมากมาย ในที่นี้จะพูดถึงประเด็นใหญ่ๆ เช่น –              ที่ดินที่จะครอบครองต้องเป็นทรัพย์ที่มีกรรมสิทธิ์ ที่ดินก็ต้องเป็นที่ดินมีโฉนดเท่านั้น ต้ […]

อ่านเพิ่มเติม
ไถ่ถอนขายฝาก
10
Jan 23
เฮ้ย! ไถ่ถอนขายฝาก ต้องเสียค่าธรรมเนียมด้วยหรอ!!!

เป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่า การทำขายฝากนั้น ต้องเสียค่าธรรมเนียมที่สำนักงานที่ดิน เสมือนว่าเป็นการซื้อขายกันปกติ แต่ผู้ขายฝากหลายๆ คนนั้นไม่รู้ และนายทุนผู้รับขายฝากหรือนายหน้าก็ไม่ได้บอกเราไว้ ทำให้เจ้าของทรัพย์ที่มาทราบทีหลัง ตกใจกับค่าใช้จ่ายที่งอกขึ้นมาแบบไม่ทันตั้งตัว ไม่ทันได้เตรียมใจมาก่อน เรามาดูกันดีกว่าว่า ค่าใช้จ่ายในการ ไถ่ถอนขายฝาก นั้น มีอะไรบ้าง..? การไถ่ถอนขายฝาก เปรียบเสมือน “การซื้อกลับ” แต่เป็นการซื้อกลับภายในระยะเวลาสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยมีค่าใช้จ่ายในการไถ่ถอนเหมือนกับการซื้อขายโดยทั่วไปตามปกติเช่นกัน ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายที่สำนักงานที่ดินอีกครั้ง ทั้งในกรณีบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล  ค่าใช้จ่ายการ ไถ่ถอนขายฝาก ค่าธรรมเนียม – แปลงละ 50 บาท ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย – คำนวณตามระยะเวลาถือครอง ตามเกณฑ์ของกรมสรรพากร นับตั้งแต่วันที่ได้ทำสัญญาขายฝากจนถึงวันที่จดทะเบียนไถ่ถอนขายฝาก อากรแสตมป์ – ร้อยละ 50 สตางค์ (0.50%) โดยคำนวณจากราคาที่จดทะเบียนขายฝาก หรือ ราคาประเมินจากกรมที่ดินในขณะนั้น แล้วแต่ว่าราคาใดมากกว่า  **หมายเหตุ การไถ่ถอนขายฝาก โดยหลักการแล้ว […]

อ่านเพิ่มเติม
9
Jan 23
รับจำนอง ต้องเสีย “ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา” หรือไม่

หากเราทำการรับจำนอง จะต้องเสียภาษีหรือไม่? และถ้าจะต้องเสีย จะต้องชำระภาษีอย่างไร? เป็นคำถามที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นมือใหม่ในวงการนี้ เรื่องภาษี เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวทุกคนมากๆ แต่บางทีก็เป็นเรื่องที่เข้าถึงได้ยากสำหรับหลายๆ คน แต่ไม่ต้องห่วงไปค่ะ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยให้กับทุกคนได้ทราบ และจะได้จัดการกับเงินได้ ที่เราได้มาจากการรับจำนองได้อย่างถูกต้องกันค่ะ จะเป็นอย่างไรไปดูกันเลยค่ะ กรณีหากรับจำนอง รายได้ของท่านคือรายได้จาก ดอกเบี้ยรับ ซึ่งมีภาระภาษีดังนี้ กรณีผู้จ่ายเงิน หักภาษี ณ ที่จ่าย ไว้อัตรา 15 % สามารถเลือกไม่นำเงินได้มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีประจำปีได้ กรณี ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย อัตรา 15% จะต้องนำมารวมเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีต้องเสียภาษีประจำปี ไม่สามารถหักรายจ่ายได้ เท่ากับว่าต้องนำรายได้ดอกเบี้ย มาหักค่าลดหย่อน และคำนวณภาษีเงินได้เลย แต่ถ้าเป็นกรณีการขาย รายได้ของท่านคือ รายได้จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งจะมีภาระภาษีดังนี้ ต้องนำรายได้จากการขายทั้งหมดในปีมารวมเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษี ต้องหักรายจ่ายตามความจำเป็นและสมควร เช่น ต้นทุนในการซื้อที่ด […]

อ่านเพิ่มเติม