จัดการสินสมรส ในรูปแบบอสังหา แบ่งอย่างไรให้ลงตัว
1
Dec 23
วิธีจัดการสินสมรสในรูปแบบอสังหา แบ่งอย่างไรให้ลงตัว

ปัญหาการหย่าร้างมีมากกว่าขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุของการหย่าร้างมาจากทั้ง 2 ฝ่าย เกิดจากถูกกดดันจากครอบครัวและความไม่เข้าใจกัน ทำให้เกิดครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมากขึ้น และสิ่งที่ตามมาหลังจากการหย่าร้างกันนั้นคือ “จัดการสินสมรส” ที่อาจทำให้เกิดความขัดแย้งต่อกันมากที่สุด ยิ่งสินสมรสนั้นเป็น อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม ที่ซื้อมาร่วมกันโดยไม่ใช่การรับมรดก ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มักมีราคาค่างวดมาก การจะทำอะไรที่เป็นการทำให้สิทธิที่มีอยู่อาจเสียไปอย่าง เช่น การขาย จะต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่าย กฎหมายจึงเปิดโอกาสให้คู่สมรสสามารถตกลงวิธีการ เงื่อนไข และข้อจำกัดเกี่ยวกับสินสมรสกันๆ ได้เห็นสมควร ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1476 กำหนดวิธี จัดการสินสมรส ไว้ เรื่อง คู่สมรสต้องจัดการสินสมรสร่วมกันได้ จัดการอสังหาริมทรัพย์ร่วมกัน ในส่วนของอสังหาริมทรัพย์ ไม่ว่าจะบ้านหรือที่ดิน จะทำการขาย แลกเปลี่ยน ขายฝากให้เช่าชื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ต้องได้รับการยินยอมร่วมกัน ให้ผู้อื่นเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี เมื่อมีการปล่อยให้เช่าในระยะเวลาเกิน 3 ปี สามีและภรรยาต้องตกลงและทำธ […]

อ่านเพิ่มเติม
24
Nov 23
ข้อควรรู้ก่อนตกลงทำสัญญาขายฝาก

หากใครต้องการใช้เงินด่วน แต่ไม่อยากนำทรัพย์สินไปขายขาด สำหรับคนที่มีที่ดินและบ้านไว้ครอบครอง “การขายฝาก” จึงเป็นทางเลือกที่ดี วิธีนี้สามารถทำได้ง่ายๆ ไม่ตรวจสอบเครดิตบูโร หรือรายการเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคาร (Statement) สามารถไถ่คืนที่ดินได้ และยังใช้ประโยชน์ในที่ดินต่อไปได้อีกด้วย “การขายฝาก” เป็นการทำนิติกรรมซื้อขายที่ดินประเภทหนึ่ง โดยกรรมสิทธิ์จะตกเป็นของผู้รับซื้อทันทีเมื่อมีการทำสัญญาเกิดขึ้น ซึ่งมีข้อตกลงกันว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ในเวลาที่ตกลงกันตามกฎหมาย เพราะฉะนั้นในการทำสัญญาทุกครั้ง จะต้องศึกษาข้อมูลให้ละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่ระบุในสัญญา ข้อควรระวังต่างๆ ต้องทำความเข้าใจให้ตรงกัน จะได้ไม่มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นภายหลังกันค่ะ ข้อควรรู้ก่อนตกลงทำสัญญาขายฝาก มีดังนี้ ผู้ขายฝากจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ให้ผู้ซื้อฝากทันทีในวันที่ทำสัญญา เมื่อขายฝากไปแล้วกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกเป็นของผู้ซื้อฝาก โดยมีข้อตกลงกันว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ทรัพย์สินนั้นคืนได้ในเวลาที่ตกลงกันตามกฎหมาย การทำสัญญาจะต้องทำต่อหน้าเจ้าพนักงานที่ดิน ณ กรมที่ดินเท่านั้น ในการทำสัญญาขายฝากที่ดินจะต้องทำเป็นหน […]

อ่านเพิ่มเติม
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?
21
Nov 23
กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน มีแบบไหนบ้างนะ?

เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับความหมาย ของ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน กันว่าคืออะไร? เพื่อที่ว่าเราจะเข้าใจบทบาทรวมถึงบริบทกันได้มากขึ้น สำหรับคนที่กำลังมีปัญหาว่าจะแบ่งสิทธิ์การถือครองร่วมในที่ดินอย่างไร? ซึ่งก็จะมีหลายรูปแบบด้วยกันค่ะ กรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน หมายถีง นิติกรรมการซื้อการขายหรือเป็นการให้ในที่ดินซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้ นั่นก็คือ เป็นการขายหรือให้ในบางส่วนโดยให้สังเกตดูตรงรายชื่อในหนังสือแสดงสิทธิ์ที่ดิน ว่าจะมีชื่อเจ้าของที่ดินร่วมมากกว่า 1 คนขึ้นไป เช่น ที่ดิน 100 ไร่ มีผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันหลายคน . การถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดิน แบบต่างๆ มีแบบไหนบ้าง ? การแบ่งที่ดินในแบบรวมๆ ผู้ร่วมจะไม่สามารถนำที่ดินผืนดังกล่าวไปขายได้จนกว่าได้รับอนุญาติจากผู้ร่วมคนอื่นๆ ลักษณะการแบ่ง โดยการแบ่งชัดเจนด้วยสัดส่วนคิดเป็น % เช่น มีบุตร 3 คน นั่นก็คือ นางสาวเอ นายบี นายซี แต่ในขณะนั้น บิดายังมีชีวิตอยู่และยังไม่ได้ทำเรื่องโอนที่ดินเป็นเรื่องเป็นราว ดังนั้น ความต้องการที่จะให้มีการถือกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินถึงเกิดขึ้น โดยมีรูปแบบง่ายๆ นั่นก็คือ สมาชิกที่ต้องการจะมีกรรมสิทธิ์มาตกลงและ คุยกันก่อนว่ารู […]

อ่านเพิ่มเติม
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?
24
Oct 23
เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน กับ เจ้าของบ้าน แตกต่างกันอย่างไร?

หลายท่านคงสงสัย? ว่าเจ้าบ้านคือใคร!! หรือบางท่านอาจจะคิดไปถึงผีบ้านผีเรือน แต่ที่จริงแล้วตามหลักกฎหมาย ว่าด้วยเรื่องการดูแลบ้าน บ้านทุกหลังต้องมี เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน เพื่อระบุว่าบุคคลที่เป็นเจ้าบ้านนั้น ผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้าน ในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน แล้วแตกต่างยังไงกับเจ้าของบ้านละ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกันค่ะก่อนอื่นเรามาดูความหมายของทั้งสองคำนี้กันก่อนเลยค่ะ เจ้าบ้าน หมายถึง ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะที่เป็นเจ้าของ ผู้เช่า และอื่นๆ โดยหากในทะเบียนบ้านไม่มีชื่อเจ้าบ้าน หรือผู้ที่ถูกแต่งตั้งเป็นเจ้าบ้าน เกิดเสียชีวิต ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านสามารถมาเป็นเจ้าบ้านแทนได้ เจ้าของบ้าน หมายถึง เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในโฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย มีสิทธิใช้สอย หวงกัน ติดตามเอาทรัพย์คืน. ใช้ยันต่อบุคคลทั่วไป มีกฎหมายรองรับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 โดยจากความหมายด้านบน เจ้าบ้านหรือเจ้าของบ้าน อาจจะเป็นคนเดียวกัน หรือ ไม่ใช่คนเดียวกันก็ได้ค่ะ หน้าที่เจ้าบ้าน VS เจ้าของบ้าน เจ้าบ้านตามทะเบียนบ้าน มีหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การทะเบียนราษฎร […]

อ่านเพิ่มเติม
การฝากขาย และ การขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร
17
Oct 23
การฝากขาย และ การขายฝาก แตกต่างกันอย่างไร

หลายๆ คนอาจจะยังสับสนหรือสงสัยกับว่า การขายฝาก และ การฝากขาย แตกต่างกันอย่างไร แม้ว่าอ่านแล้วอาจจะดูคล้ายกัน แต่สองคำนี้มีความหมายที่แตกต่างกันอย่างชัดเจน ก่อนอื่นเรามาดูความหมายของการขายฝาก กับ การฝากขายกันก่อนดีกว่าค่ะ ว่าแต่ละตัวมันมีความหมายยังไง จะได้ไม่เข้าใจกันผิดกันอีกจ้า การขายฝาก คือ สัญญาการซื้อขายรูปแบบหนึ่ง ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะตกแก่ผู้รับขายฝาก (นายทุน) ณ วันที่ทำสัญญาที่กรม ที่ดิน ภายใต้ข้อตกลงที่ว่า ผู้ขายฝากสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินคืนได้ ภายในระยะเวลาที่ระบุในสัญญา (แต่ไม่เกิน 10 ปี) หากไม่มาไถ่ถอนทรัพย์สิน กรรมสิทธิ์นั้นจะตกเป็นของผู้รับฝาก(นายทุน) ทันที ส่วนการ ฝากขายนั้น ผู้ฝากขายจะนำทรัพย์สินของตนเองไปฝากขายกับตัวแทน หรือนายหน้า เพื่อให้ทางนายหน้า ช่วยทำการตลาด โฆษณา หรือประชาสัมพันธ์ทรัพย์สิน ที่เจ้าของทรัพย์นำไปฝากขาย ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะยังเป็นของผู้ฝากขายอยู่ และจะโอนเป็นของผู้อื่นเมื่อนายหน้าได้ทำการขายทรัพย์สินนั้น ให้กับผู้ฝากขายได้แล้ว ตารางเปรียบเทียบระหว่างขายฝากและฝากขาย หัวข้อ ขายฝาก ฝากขาย ธุรกรรม การขายฝากและสามารถไถ่ถอนทรัพย์สินนั้นคืนได้ ห […]

อ่านเพิ่มเติม
คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่
30
Sep 23
คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน ขายฝาก- จำนองได้หรือไม่

หลายๆ คนอาจจะมีข้อสงสัยว่า ถ้าทำธุรกรรมขายฝาก จำนอง แล้วเกิดกรณีที่ คู่สมรสไม่มากรมที่ดิน จะสามารถทำขายฝาก จำนองได้หรือไม่ อย่างแรกเลย ถ้าทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการสมรสแล้วนั้น ไม่ว่าจะใส่ชื่อใครเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้เรียกว่าเป็นสินสมรสก่อนได้เลย กรณีคู่สมรสไม่มากรมที่ดินจะไม่สามารถทำธุรกรรมจำนอง ขายฝากได้เลย เพราะเราต้องได้รับการยินยอมจากคู่สมรสด้วย ไม่ว่าจะทำจำนอง ขายฝาก หรือว่าซื้อขายเองก็ตาม ถ้าหากทั้งคู่เลิกกันแล้ว ก็ต้องทำเรื่องหย่าให้เรียบร้อยก่อน เพราะถ้าไม่หย่าตามกฎหมายแล้ว ยังถือว่ายังเป็นคู่สมรสกันอยู่นะคะ ในกรณีถ้าคู่สมรสไม่สะดวกมา จะต้องมีหนังสือลงลายเซ็นยินยอมของคู่สมรส ยืนยันว่ายินยอมให้ทำธุรกรรมขายฝากหรือจำนอง พร้อมสำเนาบัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน และทะเบียนสมรสให้เรียบร้อย และอาจจะถ่ายวิดีโอไว้ด้วย เพื่อเป็นการยืนยันในการทำขายฝาก จำนอง ซึ่งหนังสือยินยอมคู่สมรสทางกรมที่ดินจะมีให้บริการทุกสาขาทั่วประเทศ เห็นไหมคะเพื่อนๆ เมื่อเราจดทะเบียนสมรสแล้ว เวลาที่เราอยากทำธุรกรรมต่างๆ จะต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอน ซึ่งจะต้องผ่านการยินยอมจากคู่สมรสเสมอ ไม่ว่าจะเป็น การจดจำนอง ขายฝ […]

อ่านเพิ่มเติม
23
Sep 23
เลือกตัวแทนอสังหาฯ ให้ถูกใจ เลือกอย่างไร ให้ไม่พลาด

“ความน่าเชื่อถือ” มักเป็นสิ่งแรกที่เรามองหาเมื่อต้องการจะซื้อสินค้าหรือบริการอะไรสักอย่าง ตั้งแต่เรื่องเล็ก ๆ อย่างการซื้ออาหาร ไปจนถึงการลงทุนในระดับที่สูงขึ้น เพราะมันเป็นเครื่องการันตีว่าการตัดสินใจของเรานั้นเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องและคุ้มค่ากับราคาเสียไป สำหรับการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ก็เช่นเดียวกัน เนื่องจากเป็นการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับเงินจำนวนมาก บางครั้งอาศัยความรู้อย่างเดียวอาจไม่พอ ยังต้องอาศัย “ประสบการณ์” และ “ความเชี่ยวชาญ” อีกด้วย และนั่นเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้หลายต่อหลายคน มองหาบริการจากตัวแทน ก่อนตัดสินใจลงทุนอสังหาริมทรัพย์ เพราะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มากกว่า ซึ่งตัวแทนอสังหาฯ ที่ “น่าเชื่อถือ” นั้นควรจะมีจะมีลักษณะอย่างไรบ้าง ตามมาดูกันเลยค่ะ . การตรงต่อเวลา ถือเป็นเรื่องสำคัญอย่างมาก เราคงจะประทับใจกับตัวแทนที่มาตรงเวลานัดหมาย หรือ มาก่อนเวลามากกว่า เพราะนั่นเท่ากับว่าเขาให้ความสำคัญกับเรา เราคงจะรู้สึกไม่ดีใช่ไหมล่ะคะ ถ้าสมมติว่าเราฝากเช่าห้องกับเอเจนซีหนึ่ง แต่ตัวแทนกลับมาช้า หากเหตุการณ์นี้เกิดกับผู้ที่สนใจเช่าห้องของเราคงไม่ดีแน่ นอกจากนี้ การแต่งกายที่สุภาพและ […]

อ่านเพิ่มเติม
วิธีการเอาชื่อเข้า ทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติ
5
Sep 23
วิธีการเอาชื่อเข้าทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติ

ทะเบียนบ้านนั้นเป็นเอกสารของทางราชการ ที่ระบุรายชื่อของผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้าน ทะเบียนบ้านจะบ่งบอกว่าบุคคลใดเป็นเจ้าบ้านและบุคคลใดเป็นผู้อาศัย คนไทยใช้ทะเบียนบ้านเพื่อแสดงที่อยู่อาศัย และใช้แสดงเป็นหลักฐานสำคัญในการติดต่อกับหน่วยงานต่างๆ และถ้าคนต่างชาติอยากจะมีชื่อในทะเบียนบ้านบ้างจะต้องทำอย่างไรและเตรียมเอกสารอะไรบ้าง วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนแล้วค่ะ สิ่งแรกที่ต้องรู้คือ การขอ ทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติ จะต้องเป็นทะเบียนบ้านเล่มเหลือง (ทร.13) เท่านั้น และการนำชื่อชาวต่างชาติเข้าทะเบียนบ้าน จะมี 2 กรณีหลัก ๆ 1.กรณีที่คนต่างชาติสมรสกับคนไทย และต้องการนำชื่อเข้าทะเบียนบ้าน หากคุณหรือบิดามารดาของคุณเป็นเจ้าบ้าน ให้เจ้าบ้านไปแจ้งต่อสำนักทะเบียนตามภูมิลำเนาที่บ้านตั้งอยู่ โดยกรอกคำร้องเกี่ยวกับทะเบียนราษฎร(ทร.13) ขอเพิ่มชื่อบุคคลในทะเบียนบ้าน สำหรับเอกสารที่ต้องเตรียมก็มีดังนี้ค่ะ เอกสารเจ้าของบ้าน – บัตรประชาชนพร้อมสำเนา – ทะเบียนบ้าน ทร. 14 เล่มจริง พร้อมสำเนา เอกสารสำหรับขอ ทะเบียนบ้านของชาวต่างชาติ – หนังสือเดินทาง (ตัวจริงพร้อมสำเนาที่ทำการแปลเป็นภาษาไทย) – หนังส […]

อ่านเพิ่มเติม
25
Aug 23
โฉนดที่ดินหาย! ทำยังไงดี

#โฉนดที่ดิน อาจจะเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับหลายๆ คน เพราะเมื่อได้มาเราก็จะเก็บมันไว้เพราะเป็นเอกสารสำคัญของบ้าน และไม่ใช่เอกสารที่จะพกพาติดตัว เนื่องจากมีขนาดที่ใหญ่ แต่หากวันไหนที่ต้องใช้และพบว่า โฉนดที่ดินหาย หรือเกิดชำรุดขึ้นมาล่ะ จะทำยังไง? ก่อนอื่นไม่ต้องตกใจไปนะคะ เราสามารถยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ได้ ส่วนขั้นตอนจะเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมาบอกทุกคนเองค่ะ แจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันดับแรกเลยก็คือต้องไป แจ้งความต่อเจ้าพนักงานท้องถิ่น เพื่อลงบันทึกประจำวันไว้เป็นหลักฐาน เพื่อยืนยันว่าเจ้าของที่ดินนั้นไม่ได้นำโฉนดที่ดินไปจำหน่าย #จำนอง หรือแลกเปลี่ยนเป็นของผู้อื่น ติดต่อกับสำนักงานที่ดิน เมื่อได้ใบบันทึกประจำวันมาเรียบร้อยแล้ว ให้นำเอกสารมาติดต่อที่สำนักงานที่ดิน เพื่อขอโฉนดที่ดินใหม่ โดยเอกสารที่ต้องเตรียมไปด้วยมีดังนี้ – บัตรประชาชนตัวจริงของผู้ที่ยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ – ทะเบียนบ้านตัวจริงของผู้ที่ยื่นขอโฉนดที่ดินใหม่ – ใบแจ้งความ / บันทึกประจำวัน – พยานบุคคล 2 คน พร้อมบัตรประชาชนตัวจริง ซึ่งหากเกิดปัญหาในภายหลัง พยานทั้ง 2 คนนี้ จะต้องเป็นพยานในชั้นศาลด้วย เมื่ […]

อ่านเพิ่มเติม
ถึงเวลาไถ่ถอนแต่ยังไม่พร้อม ขยายสัญญาขายฝาก ได้ไหม ?
9
Aug 23
ถึงเวลาไถ่ถอนแต่ยังไม่พร้อม จะขยายสัญญาขายฝากได้ไหม ?

อย่างที่เพื่อนๆ รู้กันว่าการ ขายฝาก คือ การนำทรัพย์หรืออสังหาไปขายให้กับผู้รับซื้อทรัพย์ โดยกรรมสิทธิ์ในสินทรัพย์นั้นจะตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที แต่ผู้ขายฝากยังสามารถซื้อทรัพย์สินของตนเองคืนได้ตามระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ในสัญญา แต่สิ่งที่พบเจอได้บ่อยครั้ง คือเมื่อพอถึงเวลาไถ่ถอนแล้วแต่ผู้ขายฝากยังไม่พร้อมที่จะนำเงินมาไถ่ถอน แล้วทีนี้เราควรจะทำอย่างไรต่อดี จะ ขยายสัญญาขายฝาก ได้ไหม ? วันนี้เราจะพาไปหาคำตอบกัน เงื่อนไข เกี่ยวกับการขายฝาก กำหนดเวลาไถ่ ห้ามต่ำกว่า 1 ปี หรือ เกิน 10 ปี ขายฝากจะกำหนดเวลาไถ่ถอนห้ามต่ำกว่า 1 ปีหรือไม่เกิน 10 ปี ทั้งนี้เพื่อป้องกันผู้ซื้อฝากกำหนดเวลาไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นระยะเวลาสั้น จนทำให้ผู้ขายฝากไม่สามารถไถ่ทรัพย์สินที่ขายฝากได้ทันกำหนดเวลาไถ่ และเพื่อป้องกันผู้ซื้อฝากกำหนดเวลาไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกิน 10 ปี เมื่อรวมดอกเบี้ย ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี ยอดเงินที่ต้องมาชำระคืนแก่ทุนเพื่อไถ่ทรัพย์สิน โดยจำนวนสินไถ่จะกำหนดไว้สูงกว่าราคาขายฝากก็ได้ แต่เมื่อคำนวณเป็นดอกเบี้ยแล้ว ต้องไม่เกิน 15% ต่อปี 3.ทรัพย์สินที่ขายฝากเจ้าของยังใช้งานได้ […]

อ่านเพิ่มเติม
คอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ ทำได้หรือไม่?
20
Jul 23
อยากซื้อคอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ ทำได้หรือไม่?

การซื้อ คอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ เป็นหนึ่งในทางออกสำหรับ เจ้าของคอนโดที่อยากจะขาย และมีคนที่อยากซื้อ แต่กู้ไม่ผ่าน แต่หลายคนก็ยังสงสัยว่าสามารถทำได้จริงหรือไม่? และอะไรที่จะรับประกันการซื้อขายครั้งนี้ วันนี้เรามีคำตอบมาให้ทุกคนได้หายสงสัยกันค่ะ การซื้อคอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของ จะเกิดขึ้นโดยตรงระหว่างเจ้าของกับผู้ซื้อ ซึ่งจะไม่ผ่านตัวกลางที่เป็นสถาบันการเงินใดๆ อย่างเช่นธนาคาร ดังนั้นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดก็คือ หากใครเป็นเจ้าของคอนโดที่ขายด้วยวิธีนี้ จะต้องทำใจว่าตนเองจะไม่ได้รับเงินก้อนเต็มจำนวนทันทีที่การตกลงซื้อขายสำเร็จ อันนี้คือความต่างข้อแรกที่เกิดขึ้นสำหรับผู้ขายหรือเจ้าของคอนโดนั่นเอง แต่หากมองในฝั่งของผู้ซื้อก็คงไม่มีความแตกต่างใด ๆ เพราะไม่ว่าจะด้วยวิธีใดผู้ซื้อก็ต้องมานั่งผ่อนจ่ายเป็นงวด ๆ อยู่ดี แต่ก็ต้องแบกรับความเสี่ยงที่เมื่อผ่อนชำระครบแล้ว เจ้าของจะไม่ยินยอมโอนกรรมสิทธิ์ให้ ดังนั้นสิ่งสำคัญของการซื้อคอนโดผ่อนตรงกับเจ้าของก็คือ “สัญญาเช่าซื้อ” ซึ่งจะเป็นเอกสารที่มีลายลักษณ์อักษรที่สามารถยืนยันและเป็นหลักฐานทางกฎหมายได้ โดยในการซื้อขายจะต้องทำสัญญาเช่าซื้อขึ้นมา เพื่อใช้เป็ […]

อ่านเพิ่มเติม
เลือกซื้อที่ดิน สร้างบ้าน ต้องเลือกอย่างไร
14
Jul 23
เลือกซื้อที่ดินสร้างบ้าน ต้องเลือกอย่างไร

เพื่อนๆทุกคนอยากมีบ้านในฝันกันอยู่แล้ว โครงการบ้านหลายๆ โครงการดูสวย น่าอยู่ แต่ก็ไม่ตรงสิ่งที่อยากได้หรือฝันไว้ จะรื้อทำใหม่ก็ทำไม่ได้  ในเมื่อบ้านโครงการไม่ตอบโจทย์ ก็เลยอยากสร้างเอง เราสามารถควบคุมคุณภาพวัสดุ การออกแบบ การก่อสร้าง และที่สำคัญคือ งบประมาณ ได้ด้วยตนเอง รวมถึงการเลือกทำเลที่ดินสร้างบ้านด้วย ก่อนจะสร้างบ้านได้นั้นต้อง เลือกซื้อที่ดิน ก่อน วันนี้เราจะพาเพื่อนๆ ไปดูว่า การเลือกซื้อที่ดินสร้างบ้านนั้นต้องเลือกอย่างไร ไปดูกันเลยครับ  เลือกซื้อที่ดิน ไว้ปลูกสร้างบ้าน ต้องเลือกอย่างไร ทำเล ทำเลคือหัวใจสิ่งที่สำคัญที่สุด หากคุณเลือกทำเลไม่ดี ชีวิตคุณก็จะลำบาก เราต้องเลือกที่ดินที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก  การเดินทางเป็นอย่างไร สิ่งแวดล้อมเหมาะสมกับชีวิตคุณในปัจจุบันและอนาคตหรือไม่ ก็คือเลือกตามการใช้ชีวิตของแต่ละครอบครัวให้ตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวันของคุณให้ได้มากที่สุด ขนาดพื้นที่ ขนาดพื้นที่ดินก็สำคัญ เราต้องนึกถึงประโยชน์ใช้สอยให้คุ้มค่า เหมาะกับ ครอบครัวของคุณเป็นลักษณะไหน มีสมาชิกกี่คน มีสมาชิกในวัยไหนบ้าง และต้องศึกษาเรื่องกฎหมายก่อนก่อสร้างให้ดี แนะนำให้เลือกรูปร่างของที่ด […]

อ่านเพิ่มเติม