ซื้อที่ดินติดจำนอง ต้องตรวจสอบหรือระวังอะไรบ้าง
5
Jan 23
ซื้อที่ดินติดจำนองต้องตรวจสอบหรือระวังอะไรบ้าง

คิดจะซื้ออสังหาฯ ที่มีมูลค่าสูง  อย่างคอนโด  บ้าน หรือที่ดิน คงจะต้องตรวจสอบกันสักหน่อย ไม่อย่างนั้นอาจมารู้ทีหลังว่า อสังหาฯที่เราซื้อนั้น “ติดจำนอง” แล้วอาจมานั่งปวดหัวทีหลัง อย่าคิดว่า อสังหาฯติดจำนองนั้นซื้อขายไม่ได้ จริงๆแล้วสามารถซื้อขายได้นะคะ ก่อนคิดจะ ซื้อที่ดินติดจำนอง ต้องตรวจสอบหรือระวังอะไรบ้าง ที่ดินติดจำนองคืออะไร? การที่ผู้จำนองนำทรัพย์สินที่มีค่านำมาประกันเพื่อกู้เงินมาใช้  โดยใช้เป็นหลักประกันคือ อสังหาริมทรัพย์ คือ ทรัพย์สินที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ เช่น คอนโด โฉนดที่ดิน บ้าน อาคารพาณิชย์ โดยการจำนอง ผู้จำนองต้องนำสินทรัพย์ไปจดทะเบียนไว้กับผู้รับจำนอง ซึ่งต้องกระทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่กรมที่ดินเท่านั้น ทั้งนี้ไม่ต้องโอนที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่ผู้รับจำนอง ที่ดินติดจำนองจะตรวจสอบได้อย่างไร เมื่อซื้อที่ดินกับคนไม่รู้จักเราจะรู้ได้ไงว่าทรัพย์นั้นที่จะซื้อติดจำนองไหม เราขอแนะนำให้เอาสำเนาโฉนดที่ดินที่จะซื้อไปเช็คกับที่ดิน สำนักงานสาขาหรือจังหวัดที่แปลงที่ดินนั้นตั้งอยู่ เพื่อขอตรวจดูหลังโฉนดที่ดิน (สารบัญทะเบียน) แปลงที่จะซื้อ ซึ่งหากมีนิติกรรมอะไรเกี่ยวกับโฉนดใบนี้ […]

อ่านเพิ่มเติม
บังคับจำนอง
3
Jan 23
การบังคับจำนอง คืออะไร ?

บังคับจำนอง ไม่ได้หมายความว่าเรามีทรัพย์สินอยู่แล้วถูกบังคับให้เอาไปจำนองแต่อย่างใด แต่หมายถึงการที่เราได้ทำสัญญาจำนองไว้เรียบร้อยแล้ว แต่ผิดสัญญา ไม่จ่ายดอกเบี้ย ไม่ชำระหนี้ตามที่ตกลงกันไว้ ทำให้ถูกฟ้องร้องต่อศาล โดยการบังคับจำนอง นั้นทำได้ 2 วิธีคือ ประเภทของ บังคับจำนอง ขายทอดตลาด คือการยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำสั่ง “ยึด” ทรัพย์สินที่จำนองไว้ขายทอดตลาด และนำเงินมาใช้หนี้แก่ผู้รับจำนอง โดยจำเป็นต้องส่งหนังสือแจ้งลูกหนี้ก่อนล่วงหน้า 1 เดือน ถึงจะสามารถฟ้องร้องได้ การบังคับจำนองขายทอดตลาดนั้น หากตัวทรัพย์สินที่จำนองไว้มูลค่าต่ำกว่าหนี้ที่มีอยู่ ลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องเสียค่าส่วนต่างแต่อย่างใด (แต่เสียที่ดิน เสียบ้านนะจ๊ะ!) และหากสามารถขายทรัพย์สินในราคาที่สูงกว่าหนี้ที่คงค้างได้ เจ้าหนี้จำเป็นต้องนำเงินส่วนที่เกินมาคืนให้แก่ลูกหนี้ไป จะเห็นได้ว่าการจำนองนั้น “เจ้าหนี้” ค่อนข้างเสียเปรียบในการทำสัญญาไม่น้อย เพราะฉะนั้น จะรับจำนองทรัพย์สินอะไร ให้ประเมินราคา ประเมินมูลค่าที่แท้จริงให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะเสียทั้งเงินและเวลาไปโดยใช่เหตุ ยึดทรัพย์สินให้เป็นของเจ้าหนี้ กรณีนี้สา […]

อ่านเพิ่มเติม
ค่าโอน
30
Dec 22
ไอ้หยา~ ค่าโอนอสังหาฯ ปีหน้า แพงขึ้น 100 เท่า!!

ถึงกับต้องร้องเสียงหลงกันว่า ไอ้หยา~ เมื่อ ค่าโอน อสังหาฯ ปีหน้า แพงขึ้นถึง 100 เท่า!! หลังมีมิติ ครม. ออกมาว่า ในปี 2566 นี้ จะมีมาตรการช่วยเหลือลดค่าโอนให้เพียง 1% เท่านั้น เทียบจากปี 2565 ที่ผ่านมาคนไทยได้รับการช่วยเหลือตรงนี้ เสียค่าโอนกันเพียงแค่ 0.01% จากปกติ 2% เท่านั้นเอง จากข่าวที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2565 เห็นชอบมอบของขวัญปีใหม่ให้แก่ประชาชน ด้วยมาตรการลดค่าธรรมเนียมจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมสำหรับที่อยู่อาศัยปี 2566 โดยมีรายละเอียดดังนี้ ลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์จาก 2% เหลือ 1%  ลดค่าจดทะเบียนการจำนองอสังหาริมทรัพย์จากเดิม 1% เหลือ 0.01%  สำหรับการซื้อขายที่อยู่อาศัย ได้แก่ บ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ และห้องชุด (คอนโด) ทั้งบ้านมือ 1 และมือ 2 เฉพาะที่มีราคาซื้อขายและราคาประเมินทุนทรัพย์ไม่เกิน 3 ล้านบาท และวงเงินจำนองไม่เกิน 3 ล้านบาท ต่อสัญญา (แหล่งที่มาข่าว https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/62863) หมายความว่า.. หากเราจะซื้อบ้านราคา 3 ล้านบาท  จากเดิมปี 2565 เราจะเสียค่าโอน 0.01% หรือ 300 บาท เพียงเท่านั้น แต่ในป […]

อ่านเพิ่มเติม
ก่อนลงทุนต้องรู้จักกับ อัตราการดูดซับ
19
Dec 22
ก่อนลงทุนต้องรู้จักกับ ‘อัตราการดูดซับ’

หลายต่อหลายครั้งเราเห็นคำว่า อัตราการดูดซับ ปรากฏบนข่าว ซึ่งบางทีก็อาจสร้างความสงสัยให้กับผู้ที่เพิ่งเริ่มศึกษาเรื่องอสังหาริมทรัพย์ ว่ามันคืออะไร วันนี้เราจะมาไขข้องสงสัยกันค่ะ อัตราการดูดซับ หรือ Absorption Rate คือ ดัชนีชี้วัด ‘ความต้องการ’ หรือ ‘อุปสงค์’ ของตลาดอสังหาริมทรัพย์ ว่าในทำเลนั้นๆ หรือ ตลาดของอสังหาฯ แต่ละประเภท เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคมากน้อยเพียงใด ซึ่งสามารถคำนวณได้โดยการนำหน่วยที่ขายได้ หารด้วยจำนวนยูนิตทั้งหมดที่โครงการมี ยิ่งค่าสูง แสดงว่ายังเป็นที่ต้องการมาก อัตราการดูดซับนี้ เป็นหนึ่งในดัชนีที่ใช้คาดการณ์ภาวะธุรกิจ (Business Expectation Index) ซึ่งโดยส่วนมากทางภาครัฐจะเป็นผู้เก็บรวบรวมข้อมูลตัวเลขเพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูล เพื่อให้เห็นถึงจุดสูงสุดและต่ำสุดของเศรษฐกิจในประเทศ และติดตามสภาวะเศรษฐกิจ แต่ในบางครั้ง ทางผู้พัฒนาอสังริมทรัพย์เองก็มีการเก็บรวมรวบข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับโครงการของตน เพื่อคำนวณออกมาเป็นอัตราการดูดซับเช่นเดียวกัน ตัวอย่างเช่น ครึ่งแรกของปี 2565 อัตราการดูดซับของที่อยู่อาศัยทุกประเภท ต่ำสุดในรอบ 5 ปี สำหรับบ้านเดี่ยวและบ้านแฝด อัตราการดูดซับอยู่ท […]

อ่านเพิ่มเติม